‘ความท้าทายทางเทคโนโลยี’ ในประเด็นนี้จะมีอยู่สองหัวข้อที่น่าสนใจค่ะ เรื่องเเรกจะเป็นการพูดถึงหน้าตาของตลาดเเรงงานในอนาคตที่จะมี AI มาทำงานเเทนมนุษย์ เเละเรื่องที่สองจะเกี่ยวกับ Big Data ทั้งในเเง่ว่ามันจะสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้อย่างไรบ้างเเละใครกันเเน่ที่จะได้ประโยชน์จาก Big Data มากที่สุด โดยในวันนี้เราจะมายกตัวอย่างประเด็นเรื่อง AI ให้ทุกคนฟังกันค่ะ
ในปัจจุบันเริ่มมีการพัฒนา AI มาทำงานเเทนคนเเล้วในหลายอุตสาหกรรม เช่น หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร เเละรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งข้อได้เปรียบของการทำงานด้วย AI คือมันทำงานโดยเชื่อมต่อเป็นระบบเดียวกัน ทำให้ในรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติมีโอกาสที่รถจะชนกันได้น้อยกว่า อีกทั้งเรายังสามารถอัปเดตข้อมูลที่มีการเปลี่ยนเเปลงไปตลอดเวลาอย่างกฎจราจรไปยังรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติทุกคันได้อย่างรวดเร็ว เเละถ้ารถทุกคันบนท้องถนนเป็นรถยนต์อัตโนมัติเราก็จะไม่ต้องกังวลกับปัญหาเมาเเล้วขับอีกต่อไป
เเต่การใช้รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติก็ยังมีประเด็นเรื่องจริยธรรมที่กำลังถกเถียงกันอย่างเช่น เราควรป้อนข้อมูลให้ AI ตัดสินใจอย่างไรหากพบว่า ‘รถกำลังจะขับชนคนบนถนน เเต่ถ้าเลือกหักเลี้ยวไปเลนตรงข้ามก็จะชนกับรถบรรทุกเเล้วมีโอกาสที่คนบนรถจะเสียชีวิต’ เราว่าคำถามนี้น่าสนใจมากเลยค่ะ เพราะสุดท้ายเเล้วเราว่าคงไม่มีใครที่จะเลือกซื้อรถที่ถูกตั้งให้เลือกทางเลือกที่เสี่ยงต่อเจ้าของรถเเน่นอน
หลายคนคงนึกไม่ถึงว่างานที่ต้องเข้าใจความรู้สึกของมนุษย์มากๆอย่างงานด้านดนตรี AI ก็สามารถทำได้เหมือนกัน เนื่องจากความรู้สึกชอบในเพลงของมนุษย์เป็นกระบวนการชีวเคมีในร่างกายของเรา ถ้าเราทุกคนให้ AI จับข้อมูลไบโอเมทริกของเราขณะฟังเพลง มันก็จะสามารถคำนวนได้ว่าทำนองเเบบไหนที่จะกระตุ้นความรู้สึกของเราได้ดีที่สุด ไม่เเน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นนักเเต่งเพลงเป็น AI ก็ได้นะคะ
พออ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงนึกภาพออกเเล้วว่าในอนาคต AI น่าจะทำงานเเทนมนุษย์ได้มากขนาดไหน ผู้เขียนเลยมองว่าในอนาคตการทำงานอาชีพเดียวตลอดชีวิตจะหายไป เเรงงานที่ทำงานในอาชีพที่ AI ทำงานเเทนต้องหาทักษะใหม่เเล้วย้ายไปทำงานอื่นเเทน ทำให้มีคำถามต่อมาว่า ‘ระบบการศึกษาเเบบเดิมยังใช้ได้อยู่ไหม?’ เพราะถึงเเม้ว่าเราจะจบการศึกษาในสาขาทางเทคนิคมากๆอย่างการเเปลภาษาเเละการเขียนโปรเเกรม ก็ยังไม่สามารถรับรองได้เลยว่าในอนาคตเราจะไม่ตกงาน