Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นภา
•
ติดตาม
15 ก.ย. 2021 เวลา 03:33 • การศึกษา
ไม้ด่าง ทำอย่างไร มาดูกัน ครับ !
จากกระแสไม้ด่างที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน ผมเชื่อว่า ต้องมีคนสงสัยกันบ้างแหละว่า ไม้ด่างนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้ว เราสามารถสร้างไม้ด่างขึ้นมาเองได้ไหม หรือเราควรจะเพาะพันธ์มันด้วยวิธีใด
วันนี้เราจะมาตอบคำถามเหล่านี้กันครับ
ไม้ด่าง คืออะไร
ไม้ด่าง คือ ไม้ที่มีรอยด่างสีขาว อยู่บริเวณ กิ่ง ก้าน ลำต้น หรือใบ ของต้นไม้ชนิดนั้น ๆ
รอยด่าง คือบริเวณที่มีปริมาณคอโริลน้อยกว่าปกติ หรือไม่มีเลยซึ่งสามารถเดกิดได้จากหลาย ๆ สาเหตุ
1. ขาดแสงสว่าง
ปกติแล้ว ตำแหน่งที่พืชได้รับแสงสว่างเพียงพอ พืชก็จะสามารถสร้างคลอโรฟิลล์ออกมาได้ แต่ในทางกลับกัน
ถ้าพืชไม่ได้รับแสงสว่าง ก็จะทำให้ กิ่ง ก้าน ลำต้นใบ ของพืชนั้น ไม่สามารถสร้างคลอโรฟิลล์ออกมาได้ ทำให้บริเวณนั้น ไม่มีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ มีเพียงสีขาวเท่านั้น
ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การปลูกถั่วงอกในที่พืช ที่จะทำให้ต้นของถั่วงอกนั้น มีสีขาวขึ้น
หรือการใช้กระถางครอบไปที่ต้นไม้เป็นเวลานาน จนต้นไม้ต้นนั้นกลายเป็นสีขาว
แต่ เมื่อใดก็ตามที่ต้นไม้ได้รับแสงสว่างเพียงพอ บริเวณที่มีสีขาว ก็จะถูกแทนที่ด้วยสีเขียว เนื่องจาก ต้นไม้ยังคงสามารถสร้างคลอโรฟิลล์ได้ตามเดิม
1
2. มีปริมาณของอากาศในเนื้อเยื่อมาก
1
กรณีนี้ จะเกิดขึ้นมากตามธรรมชาติ พืชด่างจากกรณีนี้ เกิดจากการหักเหของแสง จนทำให้เรามองเห็นเป็นสีเงินเทา ตามบริเวณใบ
ซึ่งตรงส่วนที่เป็นรอยด่าง จะไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นสีเขียวได้เหมือนกับกรณีแรก
ส่วนต้นไม้ที่พบนั้นอย่างเช่นต้น พลูลงยา แนบอุรา
1
3.การขาดสารอาหาร
1
ด่างแบบนี้รับรองว่าไม่ดีต่อต้นไม้แน่ครับ โดยที่การด่างแบบนี้ เกิดจการขาดสารอาหารอย่าง แมกนีเซี่ยม ฟอสฟอรัส กำมะถัน
ซึ่งถ้าเราให้สารอาหารกับพืชครบถ้วน การด่างแบบนี้ก็จะหายไป กลายเป็นใบสีเขียวเหมือนในกรณีแรกครับ
4. เกิดจากโรค
ไม่ว่า จะเป็นรอยด่าง หรือรอยไหม้ที่ดูผิดปกติไปจากเดิมนั้น บางทีก็อาจจะเกิดจากโรคของพืชก็ได้ครับ
ในพืชนั้น เราจะพบไวรัสบางชนิด ที่คอยทำลยคลอโรฟิลล์ ทำให้เกิดเป็นรอยไหม้ รอยด่างของใบ ที่จะมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่นใบหงิก แห้งขาดร่วง เป็นต้น
1
2
ถ้าเกิดเจอสถาณการแบบนี้ละก็ การใช้กรรไกรตัดแยกออกมาให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังใบอื่น ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกที่ดีไม่ใช่น้อยนะครับ
5. ด่างโดยพันธุกรรม
ต้นไม้ด่างชนิดนี้ เดิมทีนั้นเกิดจากผลกระทบจากปัจจัยภายนอก อย่างเช่น สารเคมีหรือ จากสารกัมมันตภาพรังสี
แต่ในปัจจุบัน ก็ิอาจจะเกิดจากการตัดต่อพันธุกรรมโดยฝีมือมนุษย์ก็ได้ที่ทำให้ลักษณะทางพันธุกรรมของต้นไม้ชนิดนั้น ๆ เปลี่ยนไปจากเดิม
ความด่างประเภทนี้สามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ เนื่องจากว่า เกิดการกลายพันธุ์ไปป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่ว่า การควบคุมปริมาณความด่างนั้นก็ยังเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ก็พอที่จะทำได้อยู่
จากที่กล่าวมาข้างต้น ก็เป็นประเภทความด่างของต้นไม้ที่พอจะจำแนกชนิดได้อยู่บ้างครับ
คราวนี้เราจะมีวิธีการ หรือหนทางใดบ้าง ที่จะสามารถเพาะพันธุ์ หรือขยายพันธุต้นไม้ด่างได้
โดยที่การเพาะพันธุ์ต้นไม้ด่างนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธี
1. เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
วิธีนี้จะทำให้เราได้ต้นไม้เหมือนต้นเดิมในปริมาณที่มาก แต่ก็มีข้อเสียใหญ่ๆ อยู่บ้าง
ข้อแรกคือ ต้องใช้ระยะเวลา เงินทุน และความชำนาญค่อนข้างสูง ข้อต่มาคือ ความแขงแรงของต้นไม้
เราต้องอย่าลืมว่า แต่เดิมนั้น ไม้ด่าง คือไม้ที่มีความผิดปกติอยู่ก่อนแล้ว คือมีปริมาณของคลอโรฟิลล์น้อยกว่าพืชปกติทั่วไป ทำให้ตัวของไม้ด่างนั้นอ่อนแอเป็นพิเศษและต้องการควมดูแลเป็นพิเศษ
แต่่ว่าถ้า มีความรู้ มีเงินทุน วิธีนี้ ก็เป็นอีกวิธีที่ค่อนข้างน่าสนใจครับ
2. การเพาะเมล็ด
1
วิธีนี้ ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เพราะทันใช้เวลานาน แล้วเพาะขึ้นมาจะด่างมากด่างน้อยขนาดไหนก็ไม่รู้
เป็นเหมือนกับการเสี่ยงดวงเลยละครับ
แต่ว่า ข้อดีของการเพาะเมล็ดก็คือ เราจะได้ต้นไม้ที่แข็งแรงครับ
3. การปักชำ
วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย และเป็นที่นิยมมากที่สุดในการเพาะไม้ด่างเลยละครับ ด้วยต้นทุนที่ต่ำ และเราสามารถเลือกความด่างของต้นที่เราจะเพาะได้เลย
ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่า นี่คือวิธีการเพาะไม้ด่างที่ดีที่สุดครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับข้อมูลไม้ด่างที่นำมาฝากกันวันนี้ทั้งสาเหตุของการด่าง และการเพาะพันธุ์ไม้ด่าง ผมก็คิดว่า น่าจะคลายข้อสงสัยของใครหลาย ๆ คนได้ ไม่มากก็น้อยนะครับ
ทุก ๆ คนสามารถ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับ นภา ได้ผ่านการแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกันได้ที่ด้านล่าง นี้เลยครับ ⬇️⬇️⬇️
และมากไปกว่านั้น ยังสามารถ เป็นกำลังใจ และสนับสนุน นภา ได้ด้วยการ กดว้าว เพื่อบอกกับเราว่า อ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ 😆😆
Ref :
🔹
https://www.baanlaesuan.com/88572/plant-scoop/leaf-tree
🔹
https://bkklovehoro.com/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%87-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87/how-to/
🔹
https://www.banton-mai.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/
🌸 นภา เรียบเรียง 15/09/64
2 บันทึก
3
3
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
บทความสิ่งแวดล้อม
2
3
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย