Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wasabi
•
ติดตาม
14 ก.ย. 2021 เวลา 08:31 • สุขภาพ
โรคกินไม่หยุด Binge eating disorder (BED)
คือ การผิดปกติของการรับประทานอาหารที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค ๆ หนึ่ง ประมาณ 2 เปอร์เซนต์ของประชากรโลกป่วยเป็นโรคนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกินไม่หยุด
- สาเหตุทางพันธุกรรม
ผู้ป่วยโรคนี้อาจมีการตอบสนองต่อโดพามีนที่ไว โดพามีนคือสารเคมีในสมองที่หลั่งเมื่อรู้สึกได้รับรางวัลหรือมีความสุข มีหลักฐานชี้ชัดว่าความผิดปกตินี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
- เพศ
โรคกินไม่หยุดพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
- ความเปลี่ยนแปลงในสมอง
มีสัญญานต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงในสมองที่ส่งผลให้เกิดการตอบสนองต่ออาหารสูงขึ้นและการควบคุมตัวเองต่ำลง
- ขนาดของร่างกาย
- รูปลักษณ์
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้มีมุมมองที่ลบ ๆ ต่อรูปร่างของตัวเอง และความวิตกกังวลที่มากไปต่อรูปร่างส่งผลให้เกิดความผิดปกติ
- กินมากเกินไป
- ความบอบช้ำทางจิตใจ เครียดต่าง ๆ ในชีวิต
2
- ปัญหาทางจิตเวชอื่น ๆ
เกือบ 80 เปอร์เซนต์ของผู้ที่เป็นโรคนี้มีความผิดปกติทางจิตเวช อย่างเช่น โรคกลัวสิ่งต่าง ๆ โรคซึมเศร้า ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง หรือ ปัญหาจากการใช้สารเสพติด
ในปัจจุบันยังไม่ทราบเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ แต่คาดว่าอาจเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย โดยโรคนี้สามารถเกิดได้กับคนทุกช่วงวัย ซึ่งช่วงอายุที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ช่วงวัยรุ่นตอนปลายหรือช่วงอายุ 20 ตอนต้น
อาการของ ฺBinge Eating Disorder
อาการและสัญญาณของโรค BED อาจสังเกตได้จากพฤติกรรมการรับประทานและภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
- พฤติกรรมการรับประทาน
ผู้ที่เป็นโรคนี้มักรับประทานอาหารในปริมาณมากกว่าปกติ และไม่สามารถควบคุมตนเองให้หยุดรับประทานได้แม้จะอิ่มแล้วหรือไม่รู้สึกหิวก็ตาม แต่จะหยุดก็ต่อเมื่อรู้สึกอิ่มจนไม่สบายตัวหรือไม่สามารถรับประทานอาหารต่อไปได้ อีกทั้งยังสามารถรับประทานอาหารปริมาณมาก ๆ อย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นาน นอกจากนี้ ข้อสังเกตอีกอย่าง คือ ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมที่จะลดความอ้วน ออกกำลังกายอย่างหนัก ใช้ยาระบาย หรือล้วงคออ้วก ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มักเป็นอาการของโรคคลั่งผอม (Anorexia) และโรคล้วงคอ (Bulimia) รวมไปถึงผู้ป่วยอาจจะมีพฤติกรรมที่กักตุนอาหารไว้ในที่ต่าง ๆ ใกล้ตัว
- ความถี่ของอาการ
ความถี่ของอาการกินไม่หยุดอาจเป็นตัวที่ช่วยบ่งชี้ความรุนแรงของโรค โดยผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจมีอาการตั้งแต่ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์ บางรายที่อาการรุนแรงอาจพบพฤติกรรมดังกล่าวประมาณ 14 ครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม หากมีพฤติกรรมดังกล่าวเพียง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่เป็นอย่างต่อเนื่องกัน 3 เดือน แพทย์ก็อาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคกินไม่หยุดเช่นกัน
- ความผิดปกติทางอารมณ์
นอกเหนือจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ปกติ ผู้ป่วยมักจะมีความผิดปกติทางอารมณ์เกิดขึ้นร่วมด้วย โดยผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะรับประทานอาหารคนเดียว เพราะรู้สึกอับอายเวลารับประทานอาหารปริมาณมากต่อหน้าบุคคลอื่น และภายหลังจากรับประทานไปแล้วมักรู้สึกผิด เศร้า โกรธ ละอายใจ รังเกียจ หรือโทษตนเองที่รับประทานมากเกินไป
ทั้งนี้ การรับประทานอาหารปริมาณมากกว่ามื้อปกติที่เคยรับประทานเป็นครั้งคราวนั้นยังถือเป็นเรื่องปกติ เช่น การรับประทานอาหารในงานเลี้ยงสังสรรค์หรือรับประทานอาหารบุฟเฟ่ต์ จึงไม่ควรวิตกกังวลจนเกินไป หากมีความกังวลหรือพบสัญญาณของโรคก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินอาการได้ เพราะโรคนี้อาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังหรือภาวะร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
รักษา
- การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม
การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดในแง่ลบ ความรู้สึก และพฤติกรรมที่เชื่อมโยงกับการกิน รูปร่าง และน้ำหนัก
1
- จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล นั้นมาจากความคิดที่ว่าการกินไม่หยุดคือวิธีการแก้ปัญหาสำหรับปัญหาส่วนตัวต่าง ๆ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ความเศร้าโศก ปัญหาความสัมพันธ์ ความเปลี่ยนแปลงสำคัญในชีวิต หรือปัญหาทางสังคมที่ซ่อนอยู่
- พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี
พฤติกรรมบำบัดแบบวิภาษวิธี ให้มุมมองของการกินไม่หยุดว่าเป็นการตอบสนองต่อประสบการณ์ไม่ดีต่าง ๆ ที่คน ๆ นึงไม่สามารถที่จะจัดการกับมันได้
- การบำบัดด้วยการลดน้ำหนัก
การบำบัดด้วยการลดน้ำหนักมีเป้าหมายที่จะช่วยให้ผู้ป่วยลดน้ำหนักลง ซึ่งอาจทำให้กินน้อยลง และช่วยให้มีความมั่นใจเกี่ยวกับรูปร่างมากขึ้น
- การรักษาด้วยยา
ยาที่สามารถรักษาได้ เช่น ยาต้านซึมเศร้า กลุ่มยากันชัก เช่น โทพิราเมท และยาที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น เช่น lisdexamfetamine
#สาระจี๊ดจี๊ด
แผนการรักษาโรคนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค และเป้าหมายของผู้ป่วยแต่ละคน
#สาระจี๊ดจี๊ด
ถึงแม้ว่าการรักษาด้วยยานี้ดูเหมือนจะได้ผล แต่การศึกษาส่วนใหญ่ยังเป็นแค่ผลในระยะสั้น ๆ ยังคงต้องมีข้อมูลที่มากขึ้นอีกเกี่ยวกับผลในระยะยาว และการใช้ยาบางตัวอาจมีผลข้างเคียง
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา
https://bupa.co.th/binge-eating-disorder-0594
https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Review%20of%20the%20drug%20treatment%20of%20binge%20eating%20disorder.pdf
https://www.pobpad.com/binge-eating-disorder
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง
6 บันทึก
20
5
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
สุขภาพ โรคภัย การแพทย์
6
20
5
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย