14 ก.ย. 2021 เวลา 10:50 • ประวัติศาสตร์
"ศาสนาไทย" คือ "ผี-พราหมณ์-พุทธ"
เมื่อก่อนนักวิชาการประวัติศาสตร์จะเสนอคำที่เราเคยได้ยินเป็นส่วนใหญ่จะเป็นคำว่า "พุทธ พราหมณ์ ผี" กันมาก่อน โดยเราเอาพุทธไว้แรกสุดเพราะถือว่าสำคัญที่สุด แต่ข้อเสนของท่านอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์นั้นตรงกันข้าม คือท่านให้ผีนั้นมีอำนาจครอบงำทั้งพุทธและพราหมณ์ จึงกลายมาเป็นลักษณะ "ผี พราหมณ์ พุทธ"
ศาสนาผสมในลักษณะดังกล่าว อาจารย์นิธิเรียกว่า
"ศาสนาไทย" คำอธิบายที่รวบรัดที่สุดคือศาสนาผีที่ประดับฉากหน้าด้วยพุทธและพราหมณ์ โดยเลือกส่วนที่ไม่ขัดกับผี
ผีเป็นศาสนาของบรรพชนทุกคนในโลกนี้ ผีเป็นศาสนาดั้งเดิมของโลก ก่อนที่จะมีศาสนาทั้งหลายเกิดขึ้นมา ถ้าพูดแบบคาร์ล ยุง (Carl Gustav Jung) นักจิตวิเคราะห์ชาวสวิส ท่านว่า มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะเข้าหาศาสนาโดยธรรมชาติ และในขณะเดียวกันมนุษย์มีสิ่งที่เรียกว่า
"จิตไร้สำนึกร่วม" (collective unconscious)
คือ สิ่งที่เราซ่อนเร้นไว้ในจิตใจเรา ซึ่งสั่งสมมาตลอ
ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
ความเชื่อผีนี้คือส่วนหนึ่งของจิตไร้สำนึกร่วมดังกล่าวการศึกษาทางโบราณคดีได้ช่วยให้เราเห็นความสอดคล้องของวัฒนธรรมและสัญลักษณ์ที่ใช้ตรงกันอย่างน่าแปลกใจแม้จะเป็นวัฒนธรรมที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันก็ตาม เช่น มโนทัศน์เกี่ยวกับสี และรูปทรงเรขาคณิตที่มักใช้ในศาสนาโบราณทั่วโลก
ในอุษาคเนย์ แม้แต่ชนชั้นนำยังนับถือศาสนาผสมอย่างเปิดเผย แม้จะมีบางยุคบางสมัยก็อาจเน้นศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษ (ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางการเมืองหรือเหตุผลอื่นก็ตาม)
หนังสือศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอมก็มีข้อมูลว่า
กษัตริย์เขมรโบราณนับถือศาสนาผสม คือ ไศวนิกาย
ส่วนในสมัยอยุธยา มีจารึกที่ฐานพระอิศวรกำแพงเพชร
สร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง
อาจารย์ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
เขียนบทความไว้ ผมขอยกข้อความจากจารึกมาว่า
 
"และช่วยเลิกพระศาสนาพุทธศาสตร์และไสยศาสตร์และ
พระเทพกรรมมิให้หม่นให้หมอง ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน"
คือให้ทำนุบำรุงทั้งสามศาสนา คือ พุทธ พราหมณ์
(ไสยศาสน์) และศาสนาผี (พระเทพกรรม)
โดยส่วนตัวผู้เขียนจะให้คำจำกัดความเกี่ยวกับ "ศาสนาไทย"
และรากหง้าของศาสนาผีที่ส่งผลและมีอิทธิต่อศาลอื่นๆที่เข้ามาในพื้นที่อุษาคเนย์ โดยรวบรวมทำความเข้าใจจากข้อมูลทางวิชาการและบทความของท่านอ.สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่ได้อธิบายไว้พอคราวๆได้ดังนี้
ชนพื้นเมืองดั่งเดิมนั้นจะนับถือศาสนาผี โดยมีผีบรรพบุรุษ
เป็นรากฐาน และความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติเช่น ฝนตก
ฟ้าร้อง การกำเนิด การตาย และเชื่อว่าถ้าให้ความเคารพ
ต่อสิ่งเหล่านั้นก็จะทำให้ใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข โดย
มีหลักฐานปรากฎเก่าสุดคือภาพเขียนหน้าผาอายุ 4,000ปี
ที่วัดเขาจันทร์งาม จ.นครราชสีมา เป็นภาพเขียนโบราณ
ภายในภาพประกอบด้วย ภาพที่ลักษณะคล้ายมนุษย์
ในอริยาบทหลายท่าและภาพสุนัข
ข้อมูลตามภาพจากคำอธิบายของ
อ.สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่อธิบายไว้ใน รายการ
ทอดน่องฯตอน "โคราชเก่า" สูงเนิน เมืองราด พ่อขุนผาเมือง
ต้นประวัติสาตร์อยุธยา-สุโขทัย ออกอากาศทางช่อง ยูทูป
ในช่อง มิติชนออนทีวี วันที่ 26 พย.
ได้อธิบายภาพเขียนไว้ดังนี้
"ภาพเขียนจากเพิงผาเขาจันทร์งาม เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ทำพิธีกรรมของชุมชน ภาพเขียนเหล่านี้สันนิษฐานว่าเป็นภาพเขียนที่วาดเลียนแบบการเล่นเงาของมนุษย์โบราณซึ่งเป็นความเชื่อในศาสนาผี และภาพเขียนดังกว่าสื่อถึง
"ผีบรรพชน" ซึ่งเป็นระบบความเชื่อเรื่อง "ขวัญ" ในศาสนาผีและวิญญาณ ส่วนภาพสุนัขภายในภาพเป็นลักษณะ สนัขตัวผู้ และด้านล่างสนัขจะเป็นภาพคนสองคนหันหน้าเข้าหากันเป็นลักษณะผู้ชายในฝั่งซ้ายและลักษณะผู้หญิงทางฝั่งขวา เป็นลักษณะกำลังปั้นเมฆ ซึ่งสื่อถึงการกำเนิด เป็นลักษณะพิธีขอฝนอย่างนึง ส่วนคำอธิบายเกี่ยวกับสุนัขภายในภาพ เป็นสัญลักษณ์ของสัตว์ศักดิ์สิทธิ์
ของผู้นำทางผีขวัญขึ้นฟ้าและมีความเชื่อว่า เมื่อนำทางผีขวัญไปรวมกับ ผีแถน(ผีแถนหมายถึงผีบรรพชน) ในตอนกลับสุนัขจากคาบพืชพันธ์ต่างๆกลับลงมาให้มนุษย์ เค้าเรียกว่า "หมาเก้าหาง" มีความเชื่ออยู่ในชุมชนแถบ กวางสีของจีน ส่วนคำอธิบายอีกกลุ่มเชื่อว่า หมาเป็นบรรพชนของมนุษย์ ความเชื่อนี้อยู่ในแถบทางใต้ของจีน"
แม้ปัจจุบันนี้วัฒนธรรมไทยก็ยังคงเป็นในลักษณะของ ศาสนาไทย แบบ "ผี-พราหมณ์-พุทธ"ดูจากที่พบเห็นในปัจจุบัน แม้แต่ภายในวัดต่างๆเราก็ยังเห็น ทั้งศาลผี ศาลแม่ตานี ศาลผีปู่ ย่า หรือในบางวัดยังมีรูปเคารพในศาสนาพราณ์เช่นรูปปั้นพระพิฆเนศ รูปปั้นพระพรหม ในบางวัดก็เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างนึงของคนไทยในศาสนาพุทธหรือแม้แต่ศาสนาอื่นๆเองก็มีปรากฎคนศาสนาอื่นๆแต่แขวนหรือพกเครื่องรางก็มี เครื่องรางนั้นถือว่าเป็นสัญลักษณ์นึงในศาสนาผีตามความเชื่อของชุมชน
บางอย่างแสดงออกถึงการแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ เช่น การสักลวดลายเลียนแบบสัตว์ เช่นทำผิวหนังตัวเองโดยการใช้ โลหะกรีดหรือการสัก เป็นลายคล้ายหนังสัตว์อย่างผิวจระเข้หรือผิวกบ เป็นต้น พัฒนาการความเชื่อเหล่านี้ถูกพัฒนามาเป็นลำดับจนมาถึงการสักยันต์อักขระต่างๆตามร่างกาย เพราะเชื่อว่าสามารถปกป้องคุ้มกันตนเองได้
การพัฒนาการทางความเชื่อเกี่ยวกับ"ผี พราหมณ์ พุทธ" ถ้าเราศึกษาจากข้อมูลต่างๆเราจะพบว่า ศาสนาผีมีอิทธิพลใน
ยุคเริ่มต้นของทุกชนชาติในโลกนี้แต่ถ้าพูดถึงการพัฒนาการนับถือ บูชา ในภูมิภาคนี้ศาสนาผี ถือเป็น ศาสนาในยุคเริ่มต้นเช่นกันเมื่อมีการพัฒนาจนสร้างบ้านแปลงเมืองก็เริ่มรับ
อิทธิพลจากศาสนาอื่นๆที่เข้ามาพร้อมกับคนนอกพื้นที่ที่เข้ามาเพื่อทำการแลกเปลี่ยนและค้าขายสินค้า โดยจุดเริ่มต้นส่วนใหญ่มาจากราชสำนัก(ชนชั้นปกครอง)และขยายอิทธิพลทางความเชื่อลงสู่ชุมชน โดยไม่ทิ้งศาสนาดั่งเดิมโดยเลือกรับระบบทางความเชื่อของศาสนาที่เข้ามาโดยไม่ขัดกับระบบความเชื่อของศาสนาเดิมและปรับปรุงระบบทางเชื่อของศาสนาเดิมที่ล้าหลังให้ทันสมัยตามอิทธิพลของศาสนาที่เข้ามาจึงเป็นเอกลักษณ์อย่างนึงของคนไทยที่ไม่
เหมือนที่ใดในโลก
เครดิตข้อมูล
บทความคัดย่อ
ผี-พราหมณ์-พุทธ มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 23 - 29 กรกฎาคม 2564
ผู้เขียน คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
ทอดน่องฯตอน "โคราชเก่า" สูงเนิน เมืองราด พ่อขุนผาเมือง
ต้นประวัติสาตร์อยุธยา-สุโขทัย ออกอากาศทางช่อง ยูทูป
ในช่อง มิติชนออนทีวี วันที่ 26 พย.
โฆษณา