15 ก.ย. 2021 เวลา 02:59 • ข่าว
ความท้าทายครั้งใหม่ ซีพี (CP) กับ วงการคมนาคมไทย
สู่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
สำหรับความท้าทายใหม่ของซีพีในครั้งนี้ สืบเนื่องจากที่ชนะประมูลโครงการคมนาคมระดับประเทศ คือ รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินสายตะวันออก ในโครงการนี้นอกจากจะต้องก่อสร้าง บริหาร ให้บริการรถไฟฟ้าความเร็วสูงแล้ว ก็ต้องเข้าบริหาร Airport Real Link (รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์) รถไฟฟ้าสายพญาไทสู่ปลายทางสุวรรณภูมิด้วย ได้ข่าวว่าจะได้รับการปรับเปลี่ยนใหม่ด้วยเช่นกัน
และในวันที่ 25.ต.ค. 64 นี้ จากแหล่งข่าว ซีพีจะเข้าไปบริหารจัดการโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) ตามสัญญาการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ที่ได้มีการลงนามสัญญาไป 25 ต.ค. 2562 ด้วยการชนะประมูลมูลค่าสูงสุดถึงประมาณสามแสนล้านบาท
รีแบรนด์ แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL)
ข้อมูลเบื้องต้นของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงค์ ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ถือว่าเป็นภาพความคืบหน้าส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มหาโปรเจกต์ของประเทศที่ชัดเจนมากขึ้น
ร.ฟ.ท. ยังได้เตรียมการส่งมอบพื้นที่ในช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. ประมาณ 5,521 ไร่ ภายในในเดือน ก.ย. 2564 นี้ (ยังไม่มีระบุวันที่ที่แน่ชัด) เพื่อเร่งเดินเครื่องการก่อสร้างซึ่งตามแผนจะเปิดให้บริการ สำหรับรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
1. แนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ. สมุทรปราการ จ. ฉะเชิงเทรา จ. ชลบุรี และ จ. ระยอง
2. รวมระยะทางทั้งหมด 220 กม.
3. รถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 160-250 กิโลเมตร/ชั่วโมง
4. ประกอบไปด้วย 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา
5. เงินลงทุนทั้งหมด 224,544.36 ล้านบาท
6. ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี และเวลาให้บริการ 45 ปี รวม 50 ปี
7. เมื่อครบกำหนดแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐบาล
8. คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2569
การขับเคลื่อนโครงนี้ฯ ศุภชัยลูกชายเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ในฐานะประธานกรรมการ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เคยให้สัมภาษณ์ว่า ได้เตรียมงบไว้ประมาณ 1,700 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงในเรื่องระบบและความสะดวกสบายต่าง ๆ ใน 8 สถานี ได้แก่ พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ
และ ซีพีก็ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เป็น “บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด” อย่างเป็นทางการ ภายใต้แนวคิด “รีอิเมจินิ่ง ฮอไรซอน (Reimagining Horizons)” เปิดขอบฟ้าใหม่แห่งโอกาส สร้างประสบการณ์การเดินทางที่เหนือกว่าให้แก่ผู้โดยสาร กลุ่มซีพีและพันธมิตรได้ลงนามในสัญญาการพัฒนาโครงการนี้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา ในระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่า 224,544 ล้านบาท
4 ความท้าทายของรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สายตะวันออก
นับว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มาก และมีความสำคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก ร่วมถึงมีความซับซ้อนทั้งด้านการเงิน กฎหมาย และเทคโนโลยี ที่จะสร้างความท้าทาย ความสามารถของศุภชัย เจียรวนนท์ เป็นอย่างมาก ที่จะต้องทุ่มพลังกาย พลังใจโครงการนี้ ถือเป็นมาสเตอร์พีซ ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ กับความท้าทายใหม่ "รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สายตะวันออก" โอกาสประเทศไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ กับพื้นที่ อีอีซี ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที คงจะเริ่มใกล้จะเป็นความจริงที่มันจะเกิดขึ้นในประเทศไทยกับอนาคตข้างหน้าเร็วๆ นี้
โฆษณา