18 ก.ย. 2021 เวลา 02:19 • ประวัติศาสตร์
EP35 : พระสมเด็จบางขุนพรหม รุ่นมหาจักรพรรดิ จัดสร้างปี 2544
ในปีนั้น พ.ศ 2544 หลวงตาบำรุง จิตตสํวโร ซึ่งบวชจำพรรษาอยู่ที่วัดใหม่อมตรสเป็นเวลานานกว่า 30 ปี หลวงตามีความตั้งใจที่จะทำในปั้นปลายชีวิต คือการได้สร้างพระอุโบสถฝากไว้ในบวรพระพุทธศาสนา และหลวงตามีความเคารพเลื่อมใสปฎิปทา ตลอดจนเกียรติประวัติคุณงามความดีของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) จึงได้เก็บรวบรวมชิ้นส่วนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จกรุบางขุนพรหมซึ่งเก็บรวบรวมได้มากอยู่ จึงนำมาจัดสร้างพระพิมพ์สมเด็จขึ้นใหม่ รุ่นมหาจักรพรรดิ เพื่อให้สาธุชนได้มีของดีเก็บไว้ติดตัวและสืบทอดพระพุทธศาสนา
วัตถุประสงค์การจัดสร้าง
1. เพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างพระอุโบสถ วัดใหม่โพธิ์งาม ต.ศรีภิรมณ์ อ.พรหมพราม จ.พิษณุโลก
2. เพื่อการสืบทอดพระพุทธศาสนา และเผยแผ่บารมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี วัดระฆังโฆษิตาราม
มวลสารในการจัดสร้าง
มวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นส่วนผสมหลักและเป็นส่วนใหญ่ของสมเด็จบางขุนพรหม รุ่นมหาจักรพรรดิ มีดังนี้
1. ชิ้นส่วนพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม
- ในราวปี 2535 ทางวัดใหม่อมตรสได้ทำการขุนเจาะเสาเข็มบริเวณใกล้กับพระเจดีย์องค์เก่าที่บรรจุพระสมเด็จไว้ เพื่อทำการสร้างวิหารสมเด็จโต ทำให้พบชิ้นส่วนพระสมเด็จที่แตกหักชำรุดเป็นจำนวนมากปนมากับดินที่จุดเจาะได้ออกมา
- ชิ้นส่วนพระสมเด็จอีกจำนวนหนึ่งได้รับมาจากคณะกรรมการของวัดใหม่อมตรสในคราวเปิดกรุ เมื่อ ปี พ.ศ. 2500
2. ชิ้นส่วนพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม ปี 2509 , 2517 , 2531 และ 2539
3. ชิ้นส่วนพระสมเด็จของหลวงปู่ลำภู วัดใหม่อมตรส
4. ชิ้นส่วนพระสมเด็จหลวงตาพัน ปี 2502
5. ผงพุทธคุณและผงใบลานของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
6. มวลสารศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องวัดต่างๆที่แตกชำรุดเป็นจำนวนมาก ฯลฯ
พิธีพุทธาภิเษก
ครั้งที่1 วันที่ 30 มกราคม 2542 วัดไก่จ้น จ.อยุธยา
ครั้งที่2 วันที่ 2 ธันวาคม 2542 วัดนก จ.กรุงเทพฯ
ครั้งที่3 วันที่ 30 ธันวาคม 2542 วัดสุทัศน์ จ.กรุงเทพฯ
ครั้งที่4 วันที่ 29-31 มกราคม 2543 วัดปราสาทบุญญาวาส จ.กรุงเทพฯ
ครั้งที่5 วันที่ 28 กันยายน 2543 วัดอินทรวิหาร จ.กรุงเทพฯ
ครั้งที่6 วันที่ 28 ธันวาคม 2543 วัดใหม่อมตรส จ.กรุงเทพฯ
ครั้งที่7 พิธีมหาจักรพรรดิพุทธาภิเษก ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุมหาวิหาร จ.พิษณุโลก
(โดยได้รับความอนุเคราะห์จากคณะกรรมการจัดสร้างพระกริ่งนเรศวร เพ็ชรกลับ ในการเข้าร่วมพุทธาภิเษก)
พิมพ์ในการจัดสร้าง
พระสมเด็จบางขุนพรหม รุ่นมหาจักรพรรดิ เป็นแบบพิมพ์ใหญ่ทะลุซุ้ม ใช้กรรมวิธีการสร้างพระแบบโบราณ โดยกดพิมพ์และตัดขอบพระด้วยมือทุกองค์
หลวงตามีความรู้เรื่องการสร้างพระเนื้อผงเป็นอย่างดี เพราะเป็นผู้มีส่วนร่วมในการสร้างพระสมเด็จบางขุนพรหม ปี 17 , 31 , 39 และ 43 และเป็นผู้สร้างพระหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี รุ่นปี 2518 จำนวน 4 พิมพ์ คือ พระปิดตามหาเสน่ห์ , พระสมเด็จพิมพ์ปรกโพธิ์ , พระพิมพ์สามเหลี่ยมขาโต๊ะ และพระผงจันทร์ลอย
จำนวนการจัดสร้าง
1. พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ มหาจักรพรรดิ พิมพ์ใหญ่ทะลุซุ้ม จำนวน 600 องค์
(ด้านหน้าโรยผงเก่าสมเด็จ ด้านหลังฝังผงเก่าสมเด็จ 9 เม็ด)
2. พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ มหาจักรพรรดิ พิมพ์ใหญ่ทะลุซุ้ม จำนวน 4,000 องค์
(ด้านหลังฝังผงเก่าสมเด็จ 9 เม็ด)
3. พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ มหาจักรพรรดิ พิมพ์ใหญ่ทะลุซุ้ม จำนวน 3,000 องค์
(ด้านหลังฝังผงเก่าสมเด็จ 5 เม็ด)
4. พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ มหาจักรพรรดิ พิมพ์ใหญ่ทะลุซุ้ม จำนวน 3,000 องค์
(ด้านหลังฝังผงเก่าสมเด็จ 1 เม็ด)
นิติกรรมประกาศ
• ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาจากเพื่อนสหธรรมิก ในโครงการเมื่อปี 2544
• ขอขอบคุณข้อมูลจากเพื่อนสหธรรมิกที่ได้เผยแผ่แลกเปลี่ยนให้ได้รับทราบ
• ขอขอบคุณของเจ้าของวัตถุมงคลองค์จริง ที่ให้นำมาบันทึกภาพเพื่อเผยแพร่ความรู้
• ขอขอบคุณผู้อ่านและผู้ติดตามทุกท่านครับ บุญรักษาคุ้มครองทุกท่านครับ
โฆษณา