Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Beforemoon
•
ติดตาม
15 ก.ย. 2021 เวลา 11:30 • ประวัติศาสตร์
โรมูฉะ ∙ เชลยศึกรถไฟสายมรณะกับชะตากรรมอันทรหด
รถไฟสายมรณะหรือทางรถไฟสายกาญจนบุรีที่หลายท่านคุ้นหูและเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าการถือกำเนิดของทางรถไฟสายนี้แลกมาด้วย "ความตาย" เรื่องราวการดำรงชีวิตของเหล่าเชลยศึกจะเป็นอย่างไร บทความนี้จะขอทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวความทรหดโดยสังเขปสู่ผู้อ่านในย่อหน้าต่อไป
"โรมูฉะ" มีความหมายในภาษาไทยว่า"แรงงาน" เป็นชื่อเรียกเชลยของทหารชาวญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ญี่ปุ่นได้ใช้ไทยเป็นทางผ่านสำหรับโจมตีประเทศพม่าและอินเดีย โดยในการศึกครั้งนี้ญี่ปุ่นเลือกเดินทัพและขนสุ่งเสบียงทางบกซึ่งจะต้องสร้างทางรถไฟอันมีจุดเริ่มต้นที่กาญจนบุรีและปลายทางที่ประเทศพม่ารวมระยะทางทั้งสิ้น415กิโลเมตรในเวลาเพียง1ปีเท่านั้น ระยะทางยาวเหยียดเช่นนี้จำเป็นต้องใช้แรงงานจำนวนมหาศาลในการสร้างทางรถไฟซึ่งมีแรงงานจากประเทศต่างๆราว14ประเทศนับจำนวนเป็นแสนคนถูกเกณฑ์มาโดยทหารญี่ปุ่น เช่น เชลยฝ่ายสัมพันธมิตร ลาว เวียดนาม พม่า และรวมถึงประเทศไทยด้วย
ปัจจัยการดำรงชีวิตทั้งหลายไม่มีอยู่ในค่ายแห่งนี้ แม้แต่อาหารก็เป็นแค่เศษข้าวที่ประทังชีวิตให้พ้นไปอีกวันเท่านั้น กรรมกรและเชลยต้องทำงานหนักทั้งวันทั้งคืนอย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อให้ทางรถไฟเสร็จทันเวลา โดยต้องผ่านเส้นทางสุดทรหดทั้ง ป่าทึบ ภูเขา หุบเหว หน้าผา แม่น้ำ การดำรงชีวิตในฐานะเชลยที่ถูกนำตัวมาโดยไม่มีอะไรติดมือมาด้วยทำให้ทุกอย่างลำบากมากยิ่งขึ้นไปอีก ไม่มีเสื้อผ้า ไม่มีหมอน ไม่มีผ้าห่ม ไม่มีรองเท้า หากเกิดบาดแผลขึ้นมาก็แน่นอนว่าไม่มียารักษา ซ้ำร้ายหากเป็นบาดแผลใหญ่ลุกลาม อาการที่ตามมาคือเนื้อเน่า ติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตในที่สุด
กาลเวลาล่วงเลยไป ร่างกายพวกเขาเริ่มซูบผอม แต่งานที่ต้องทำกลับหนักขึ้นทุกวัน และเมื่อสร้างมาได้ถึงจุดหนึ่งก็ได้พบกับภาระอันใหญ่หลวง เส้นทางรถไฟจำเป็นต้องตัดผ่านภูเขาหินขนาดใหญ่อย่างเลี่ยงไม่ได้ ณ ตอนนั้นที่ไร้เครื่องมือเทคโนโลยี พวกเขาจะทำอย่างไรได้ล่ะในเมื่อในมือมีแค่พลั่ว นั่นแหละ เหล่าเชลยและกรรมกรต้องใช้พลั่วในการตัดผ่านภูเขาลูกนั้นไปให้ได้ แน่นอนว่ามันสำเร็จแต่ก็ต้องแลกกับบาดแผลและความเจ็บปวดนับไม่ถ้วน "ช่องเขาขาด" จึงเป็นอีกหนึ่งหลักฐานที่ประจักษ์ถึงความทุกข์ทรมานของพวกเขา
อีกหนึ่งเหตุแห่งความสูญเสียเป็นภัยเงียบที่โจมตีอย่างไม่เลือกฝ่าย ไม่ใช่โจร ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นโรคระบาด เกิดการระบาดของอหิวาตกโรคบริเวณชายแดนไทย-พม่า ทำให้เชลยเสียชีวิตราว5000คน ไม่รวมกรรมกรและทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้เช่นกัน สาเหตุการระบาดรุนแรงมาจากร่างกายที่ขาดภูมิคุ้มกัน อาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคเจือปน และที่สำคัญคือไม่มียารักษา
ในที่สุดทางรถไฟสายนี้ก็สร้างเสร็จภายใน1ปี แต่การศึกยังไม่จบ สงครามยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดญี่ปุ่นประกาศยอมเป็นฝ่ายแพ้สงคราม นั่นคืออิสระของเชลยศึกผู้รอดชีวิต แม้ว่าบางคนจะรอดชีวิตไปด้วยร่างกายที่ไม่สมประกอบ แต่สิ่งที่มีคือรอยยิ้มแห่งอิสระ แต่เรื่องที่น่าเศร้าคือผู้ที่ไม่มีโอกาสได้สัมผัสกับอิสระนั้น ผู้ที่ต้องมาจบชีวิตด้วยความทุกข์ทรมาน ผู้ที่ต้องหมดลมหายใจอย่างโดดเดี่ยวแบบที่ไม่มีครอบครัวอยู่เคียงข้าง นั่นเป็นเรื่องที่น่าเศร้าจับใจ
บทความนี้ได้กล่าวเพียงประวัติคร่าวๆของทางรถไฟสายมรณะและชีวิตของเหล่าโรมูฉะ แต่เบื้องลึกของประวัติศาสตร์นี้ยังมีความเจ็บปวดที่ถูกบันทุกไว้อีกมาก ทุกอย่างที่เกิดขึ้นทำให้เห็นว่าสงครามและความแตกแยกคือสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้นแม้แต่ครั้งเดียว เพราะมันนำพามาซึ่งความสูญเสียมหาศาล
จงมองว่าทุกชีวิตรอบตัวคุณคือสหาย และจงปฏิบัติต่อสหายดั่งสหาย อย่าปฏิบัติต่อสหายดั่งศัตรู แล้วคำว่าสงครามจะไม่มีวันเกิดขึ้น
1 บันทึก
5
1
1
1
5
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย