Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
LifeEnricher Official
•
ติดตาม
15 ก.ย. 2021 เวลา 11:20 • ธุรกิจ
Coaching คืออะไร
“Coaching” คำนี้คงจะเป็นคนที่หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินผ่านๆ กันมาไม่มากก็น้อย บางคนอาจจะเคยเห็นในบริษัทที่พนักงานบางคนถูก “โค้ช” หรืออาจจะมีประสบการณ์เคยถูก “โค้ช” มาแล้ว บางคนอาจจะเห็นใน Social media ในรูปแบบของ “Life coach” หรือบางคนอาจจะคุ้นเคยกับคำๆ นี้ในรูปแบบของ “โค้ชกีฬา” มากกว่า
ศาสตร์ต่างๆ ในการพัฒนาตัวเอง หรือพัฒนาบุคคล ถูกคิดค้นขึ้นมาด้วยจุดประสงค์เดียวกันคือ “เพื่อสนับสนุนในการเรียนรู้และพัฒนา” แน่นอนว่าในความหลากหลายย่อมต้องมีความแตกต่าง และในความแตกต่างเหล่านั้นมีจุดเด่นที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอด เพื่อพัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการเรียนรู้ที่ต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้วิธีการถ่ายทอดให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ต้องการ เนื้องาน และบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล จะทำให้การเรียนรู้ หรือการพัฒนาเป็นไปได้ราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Training คือ การถ่ายทอดผ่านการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญสู่ผู้เรียน โดยใช้ความรู้ และประสบการณ์ในพื้นที่นั้นๆ ที่สูงกว่าผู้เรียน ระบบการสอนจะเป็นเหมือนการเรียนในห้องเรียน ที่ “ผู้สอนรู้คำตอบที่ถูกต้องที่สุด” ดังนั้นการ Training จะเหมาะกับการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ที่ผู้เรียนสนใจ และไม่เคยมีความรู้หรือประสบการณ์ในด้านนั้นๆ มาก่อน เช่น คอร์สการเรียนต่างๆ การสัมมนาเพื่ออบรม ฯลฯ
Mentoring คือ การถ่ายทอดโดยที่มีผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ารับหน้าที่ดูแล โดย Mentor จะอธิบาย ทำให้ดู และชี้ให้เห็นในมุมมองต่างๆ ว่าอนาคตมีอะไรบ้าง ถ้าให้เปรียบเทียบง่ายๆ Mentoring เหมือนการจูงมือเดิน ไปในทางที่ Mentor เห็นว่าเป็นเส้นทางที่เหมาะสมและถูกต้องในการพัฒนาหรือเรียนรู้ เพื่อเป้าหมายที่ต้องการ ดังนั้นการถ่ายทอดในรูปแบบนี้จะเด่นในเรื่องความรวดเร็วในการเรียนรู้ จากเส้นทางที่ Mentor วางไว้ให้ จึงทำให้เหมาะสมกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน หรือเพื่อทำให้คุ้นเคย และปรับตัวให้เข้ากับระบบต่างๆในองค์กร เช่น พนักงานรุ่นพี่ ที่กำลังสอนงานพนักงานทดลองงานให้เข้าใจวิธีการทำงานต่างๆ แบบ Step by Step “น้องต้องดูที่ A ก่อน แล้วมาจัดการตรง B ต่อจากนั้นเราก็จะได้ C มาเพื่อใช้ในการสรุป D”
Consulting คือ การให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นของปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ชี้จุดบกพร่องที่ควรจะต้องแก้ไขและให้คำปรึกษา จุดเด่นของ Consulting จะเป็นเหมือนที่ปรึกษา มากกว่าคนที่ถ่ายทอดโดยตรงเหมือน 2 ประเภทที่ผ่านมา เมื่อใช้คำว่า “ปรึกษา” นั่นหมายความว่าผู้ที่อยากจะได้คำปรึกษา อยู่ในกระบวนการทำและพบปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ได้ด้วยตัวเอง เปรียบคือ Consulting จะไม่ใช่การสอนนับ 1 – 100 ทีละตัวเหมือน Training แต่จะเป็นการชี้ให้เห็นว่า “คุณนับเลข 30 ตกไปหนึ่งเลขนะ”
เช่น ที่ปรึกษาด้านสุขภาพ ที่จะสอบถาม Lifestyle และชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาแต่ละอย่าง “อาการปวดหลังนี้เกิดขึ้นจากท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง และคุณทำงานวันละ 8 ชม.ด้วยท่านั่งแบบนี้ ดังนั้นลองปรับเปลี่ยนด้วยการปรับเก้าอี้ให้รับกับสรีระ ปรับความสูงโต๊ะให้พอเหมาะ แล้วก็หาเวลายืดเหยียดกล้ามเนื้อเป็นพักระหว่างทำงานจะช่วยให้อาการนี้ดีขึ้น”
Counselling คือ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากอดีตเป็นหลัก Counselling จะดูคล้ายคลึงกับการบำบัด เพราะ Counselling โฟกัสไปที่อดีตที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่างๆ กำแพงที่เกิดชึ้นทางเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลให้ขวางกั้นการพัฒนาในปัจจุบัน หรือเป็นสาเหตุให้ไม่กล้าลงมือทำอะไรบางอย่าง
Coaching คือ การใช้คำถาม เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่เข้ารับการโค้ช ค้นหาวิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ตัดสินใจว่าตอนนี้จะเริ่มลงมือทำอะไรเพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นโค้ชจะมีความเชื่อว่า ผู้ที่เข้ารับการโค้ชทุกคน มีศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใน มีวิธีการเลือกเส้นทางเพื่อเป้าหมายของตัวเอง ในแบบที่ตัวเองตัดสินใจ มีวิธีในการแก้ปัญหาแต่ละอย่างในแบบของตัวเอง Coaching จะเปรียบเสมือนการสอนให้ตกปลามากกว่าหาปลามาให้กิน ดังนั้น Coaching จะเป็นหนึ่งศาสตร์ที่ทำให้ผู้ที่เข้ารับการโค้ช เดินไปข้างหน้าด้วยตัวเอง และทำให้พวกเขามีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เพราะคำตอบไม่ได้มาจากโค้ช แต่มาจากตัวของผู้ที่เข้ารับการโค้ช
หน้าที่ของโค้ช
จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างที่สุดของการโค้ช คือ ในขณะที่วิธีการอื่นที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางใช้วิธีการบอกแนวทาง การชี้ปัญหา หรือการทำให้ดู เพื่อให้บรรลุซึ่งเป้าหมาย แต่การโค้ชจะใช้คำถามเพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการโค้ชหาคำตอบด้วยตัวเอง โดยที่โค้ชจะไม่ให้คำแนะนำ นั่นทำให้สามารถใช้ทักษะการโค้ชกับผู้ที่มีความสามารถมากกว่าโค้ชได้ หรือใช้ทักษะการโค้ชในเรื่องที่โค้ชไม่มีประสบการณ์มาก่อนได้
Questioning
“#การตั้งคำถาม” คือส่วนสำคัญของ Coaching เพราะคำถามเป็นสาเหตุให้ค้นหาคำตอบ และแต่ละคนย่อมมีคำตอบต่อทุกๆ อย่างในรูปแบบของตัวเอง จุดสำคัญของคำถามที่ใช้คือ “ด้วยรูปแบบเฉพาะตัวของแต่ละคน” คำถามที่โค้ชใช้ จะเป็นคำถามปลายเปิดที่ทรงพลังเพื่อให้ผู้ที่เข้ารับการโค้ชหาคำตอบด้วยตัวเอง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะสามารถตั้งคำถามปลายเปิดได้ ตัวโค้ชจะต้องมีความเชื่อว่าแต่ละคน มีศักยภาพมากพอที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตัวเขาเองตั้งไว้ได้จริงๆ เพราะถ้าโค้ชไม่เชื่อในตัวผู้ที่เข้ารับการโค้ช สิง่ที่เกิดขึ้นคือโค้ชจะแสดงออกว่าโค้ชกำลังตัดสินบุคคลเหล่านั้นอยู่ และจะไม่เกิดการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ทำให้ไม่เกิดการค้นหาคำตอบของผู้เข้ารับการโค้ช หรือไม่กล้ายอมรับคำตอบที่ตัวเองคิดขึ้นมาได้
Listening
เมื่อวิธีที่โค้ชใช้คือการตั้งคำถาม การฟังจะเป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลย เพราะในเมื่อคำถามนั้นเป็นคำถามปลายเปิด คำตอบก็ย่อมจะกว้างมากเช่นกัน อย่างที่อธิบายไปข้างต้นว่า โค้ชจะไม่ตั้งความคาดหวังว่าคำตอบควรจะออกมาเป็นอย่างไร ดังนั้นการตั้งสติและใช้ทักษะการฟังในระดับลึก โดยโฟกัสที่คำตอบของผู้ที่ถูกโค้ช จึงเป็นเรื่องสำคัญที่โค้ชมืออาชีพจำเป็นจะต้องฝึกฝนอย่างเข้มข้น
General Context : คือการฟังโดยที่รับข้อมูลตามที่ผู้พูดสื่อสารตรงๆ ตามที่พูด โดยที่ไม่มีการตัดสิน หรือตีความใดๆ
Teller’s Feelings : คือการฟังที่สามารถรับรู้ถึงอารมณ์ที่ผู้พูดสื่อออกมาได้ เมื่อผู้พูดสื่อสารออกมา เขามีอารมณ์อะไรแฝงอยู่ในคำพูดเหล่านั้น “เขากังวล” “เขามั่นใจ” “เขากลัว” หรือ”เขากำลังตื่นเต้น”
Intention : คือการฟังที่รับรู้ได้ถึงเจตนาที่แอบแฝงอยู่ในคำพูดต่างๆ ของผู้พูด เมื่อมีการสื่อสารออกมา การสื่อสารนี้มีเจตนาอะไรอยู่ในนั้น “เขาตั้งใจประกาศตัวเองออกมาว่าเขาจะเริ่มทำแบบนี้ เขาทำเพื่อใคร”
Reflecting & Empowering
เมื่อโค้ชมืออาชีพได้รับสารที่ผู้ที่ถูกโค้ชสื่อออกมาแล้ว หน้าที่ต่อไปของโค้ชคือการ “สะท้อน ( Reflect )” ให้ผู้พูดเห็นในมุมมองที่ตัวเขาเองอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน เหมือนคำพูดที่ว่า “เมื่อคุณอยู่ในขวดแก้ว คุณจะไม่สามารถเป็นฉลากที่แปะอยู่ด้านนอกได้เลย” มุมมองของบุคคลภายนอกนั้นแตกต่าง และมีผลเสมอ เมื่อโค้ชมืออาชีพที่ฝึกฝนการรับฟัง การสังเกต และการเก็บรายละเอียดอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นคำพูดที่ใช้ ภาษากายที่สื่อ เจตนาของคำตอบ หรือความเชื่อที่ผู้พูดมี ฯลฯ จะสามารถสะท้อนมุมต่างๆ ที่ผู้พูดเป็น แต่อาจจะไม่เคยเห็น หรือไม่เคยมีคนชี้ให้เห็นมาก่อน
การสะท้อนที่ดี จะไม่ใช่การชมแบบไร้แก่นสาร ไม่ใช่การพูดบิดเบือนเพื่อให้รู้สึกดี แต่เป็นการนำ “ความจริง” ที่ผู้ที่ถูกโค้ชแสดงออกมา และสื่อสารอย่างมีคุณภาพกลับไปหาผู้ที่ถูกโค้ช หน้าที่”กระจกสะท้อน” นี้เป็นหนึ่งองค์ประกอบที่ทำให้ผู้อื่นมองเห็น “จุดบอด ( Blindspot ) ของตัวเอง และสามารถพัฒนาตัวเองต่อไปได้
สุดท้ายคือการ “ให้กำลังใจ ( Empower ) เหมือนกับการสะท้อนคือโค้ชจะไม่ชมเรื่องที่ไม่เป็นจริง อธิบายกันแบบตรงตัวคือเราจะไม่ชมแบบหลอกลวง การให้กำลังใจ ไม่จำเป็นจะต้องรอให้เป้าหมายสำเร็จจึงจะเอ่ยคำชมออกมา เพียงแค่การกระทำที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในเป้าหมาย ก็เป็นสิ่งที่สามารถชมเชยได้ หรือพัฒนาการที่โค้ชสามารถสังเกตได้ ก็สามารถนำมา Empower ได้ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใดก็ตาม
สิ่งที่ผู้ที่ถูกโค้ช ( Coachee ) จะได้รับ
หลังจากที่เข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของโค้ชแล้ว คิดว่าผู้อ่านทุกท่านคงจะเข้าใจตรงกันหนึ่งอย่างแน่นอนคือ เมื่อถูกโค้ช จะไม่ถูกบอก หรือให้คำแนะนำอะไรทั้งสิ้น คำตอบของปัญหาทุกอย่าง การเดินทางทุกก้าวเพื่อเป้าหมาย ทั้งหมดล้วนมาจากตัวของคุณเองทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้าคุณเป็นคนที่มีเป้าหมายชัดเจน และต้องการมันมากพอ การโค้ชจะเป็นศาสตร์ที่ช่วยให้คุณปลดล็อกศักยภาพในตัวเอง มองเห็นตัวตนของตัวคุณเองที่ไม่เคยเห็นมาก่อน และมั่นใจกับการก้าวต่อไป เพื่อเป้าหมายที่ต้องการ
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย