17 ก.ย. 2021 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา Nestlé บริษัทอาหารและเครื่องดื่ม ใหญ่สุดในโลก
3
Nestlé นับเป็นหนึ่งในเครือธุรกิจ ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่เรารู้จักมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นเนสกาแฟ คอฟฟีเมต ไมโล ไปจนถึงซอสปรุงรสแม็กกี้
4
แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Nestlé เติบโตมาจากการรวมตัวกันของ 2 บริษัท
ที่มีจุดเริ่มต้นเหมือนกัน นั่นก็คือ “นมวัว” และ “ประเทศสวิตเซอร์แลนด์”
7
ปัจจุบัน Nestlé ดำเนินธุรกิจมากว่า 150 ปี มีมูลค่า 11 ล้านล้านบาท
ซึ่งนับเป็นบริษัทใหญ่สุดในสวิตเซอร์แลนด์และใหญ่เป็นอันดับที่ 24 ของโลก
2
แล้วจุดเริ่มต้นของ Nestlé เป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
บริษัทแรกที่เป็นจุดเริ่มต้นนั้น เกิดจาก Charles และ George Page สองพี่น้องชาวอเมริกัน
3
พวกเขาต้องการสร้างโรงงานผลิตนมข้นหวานซึ่งเป็นสินค้าขายดีในประเทศสหรัฐอเมริกาและวางแผนที่จะส่งไปวางจำหน่ายยังประเทศอังกฤษเพราะเป็นตลาดใหม่สำหรับนมข้นหวาน
ทั้งสองจึงเลือกตั้งโรงงานที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพราะเป็นแหล่งผลิตนมวัวคุณภาพสูง และให้ผลผลิตปริมาณมาก
2
โดยทั้งคู่ก็ได้ก่อตั้งบริษัท Anglo-Swiss Condensed Milk ขึ้นในปี 1866 และได้วางจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมข้นหวานไปทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา
1
ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง Henri Nestlé ผู้อพยพชาวเยอรมันซึ่งมีอาชีพเป็นผู้ช่วยเภสัชกร มีความคิดที่จะแก้ไขปัญหาอัตราการเสียชีวิตของเด็กทารกในยุโรป ที่ไม่สามารถดื่มนมแม่ได้
1
เขาจึงผลิตอาหารสำหรับทารกที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วยการผสมนมและธัญพืช ภายใต้ชื่อ Farine Lactée
3
หลังจากวางจำหน่ายได้เพียง 8 ปี ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กของ Henri Nestlé ก็วางจำหน่ายไปทั่วยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ต่อมาในปี 1877 Charles และ George Page ได้เห็นโอกาสในตลาดอาหารสำหรับเด็ก ทำให้ทั้งคู่ได้ผลิตอาหารสำหรับเด็ก ซึ่งสำหรับ Henri Nestlé แล้วเรื่องนี้ถือเป็นการประกาศสงครามทางการค้าระหว่างกัน
1
ทำให้หลังจากนั้นไม่นาน Henri Nestlé ได้ผลิตนมข้นหวานเป็นของตัวเองเช่นกันเพื่อโต้ตอบ Charles และ George Page ที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดอาหารเด็ก
1
ด้วยความที่ไม่มีใครยอมใคร ทำให้การแข่งขันดังกล่าวกินเวลายาวนานเกือบ 30 ปี
และถึงแม้ทั้ง 2 บริษัทจะสามารถเติบโตต่อไปได้ แต่จากการแข่งขันระหว่างกันก็ส่งผลกระทบต่อกำไรของทั้งคู่อย่างมาก เพราะต้องทำราคาและโปรโมชันแข่งกันอยู่ตลอดเวลา
3
จนกระทั่งในปี 1905 เมื่อผู้ก่อตั้งบริษัททั้ง 3 คนได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว
กรรมการของทั้ง 2 บริษัทจึงตัดสินใจควบรวมกิจการกันเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการบุกตลาดโลกและไม่ต้องมาเสียเวลากับการแข่งขันกันเอง
5
หลังจากควบรวมกิจการกันได้ไม่นาน ภายใต้ชื่อ Nestlé and Anglo-Swiss Condensed Milk หรือ Nestlé
ก็สามารถวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตัวเองไปยังทุกทวีปทั่วโลก
3
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในปี 1914 ก็ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากนมของ Nestlé กลายเป็นที่ต้องการอย่างมากในช่วงสงคราม โดยเฉพาะนมข้นหวานเพราะสามารถเก็บไว้ได้นานและใช้บริโภคได้หลากหลายรูปแบบ
แต่ภาวะสงครามที่กินระยะเวลานานก็ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบอย่างหนัก ส่งผลให้โรงงานของบริษัททั้ง 20 แห่งต้องหยุดการผลิตลง
1
เรื่องดังกล่าวทำให้ Nestlé ต้องปรับกลยุทธ์เพื่อให้กิจการยังดำเนินต่อไปได้แม้ในช่วงวิกฤติ
Nestlé จึงได้ขยายการผลิตด้วยการไปตั้งโรงงานที่สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของ Nestlé
 
กำลังการผลิตของ Nestlé เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดย Nestlé มีจำนวนโรงงานเพิ่มขึ้นจาก 20 โรงงานในปี 1914 เป็น 80 โรงงานในปี 1921 และในช่วงนี้เองที่ Nestlé ได้ขยายโรงงานไปยังเอเชียและลาตินอเมริกา
6
Cr.nestle
และด้วยการขยายฐานการผลิตจำนวนมาก ทำให้ Nestlé สามารถรอดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หรือ Great Depression ได้ในปี 1930 เพราะมีฐานลูกค้าและโรงงานกระจายอยู่ทั่วโลก
3
และจากการที่มีฐานการผลิตอยู่ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศบราซิล
เป็นที่มา ที่ทำให้บริษัทได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นความสำเร็จครั้งใหญ่ นั่นก็คือ “Nescafé”
จริง ๆ แล้ว Nescafé เกิดขึ้นจากการที่รัฐบาลบราซิล ได้ขอให้ Nestlé ช่วยแก้ปัญหาผลผลิตเมล็ดกาแฟล้นตลาด โดยในตอนแรกไอเดียของรัฐบาลคือการทำกาแฟอัดก้อน แล้วให้ Nestlé เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย
2
แต่ Nestlé เลือกที่จะผลิตเป็นผงกาแฟที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งในอีกแง่หนึ่งก็ถือเป็นการทำในสิ่งที่เชี่ยวชาญ เพราะ Nestlé มีประสบการณ์จากการผลิตเครื่องดื่มชนิดผงอยู่ก่อนแล้ว อย่างเช่น นมผงสำหรับเด็ก หรือเครื่องดื่มไมโล
Nescafé ออกวางจำหน่ายไม่นานก็เป็นที่นิยมและขายดีอย่างมาก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Nescafé ใช้เวลาเพียงปีเดียว ก็กลายเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟที่ขายดีที่สุดในประเทศ
1
แต่ในเวลาต่อมา สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เกิดขึ้น
ซึ่งสำหรับบริษัท Nestlé ก็เรียกได้ว่าแทบจะเป็นการฉายหนังซ้ำ
โดยในช่วงเริ่มแรกของสงคราม สินค้าจาก Nestlé ได้กลายเป็นที่ต้องการอย่างมาก
 
แต่เนื่องจากผลกระทบของสงครามที่เกิดขึ้นไปทั่วโลกมีความรุนแรงและกินระยะเวลายาวนานกว่าที่คิด
3
ทำให้ถึงแม้จะมีการขยายโรงงานผลิตไปยังประเทศต่าง ๆ โรงงานหลายแห่งของ Nestlé ก็ยังคงประสบปัญหาในการผลิต ทั้งการขาดแคลนวัตถุดิบ การขาดแคลนแรงงาน จนสุดท้ายโรงงานจำนวนมากต้องปิดตัวลง
1
แต่ด้วยฐานการผลิตที่สหรัฐอเมริกา ไม่ได้รับผลกระทบจากสงคราม และเนื่องจากสินค้ายอดนิยมอย่าง Nescafé กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกองทัพ ทำให้ Nestlé ได้รับสัญญามูลค่ามหาศาลจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
ทำให้ผลประกอบการของ Nestlé ในช่วงนั้นกลับกลายเป็นได้กำไรจำนวนมาก ในขณะที่บริษัทอื่น ๆ ได้รับผลกระทบ
1
จุดนี้เองที่ทำให้ Nestlé ตัดสินใจปรับกลยุทธ์การขยายกิจการจากเดิมที่มุ่งเน้นการตั้งโรงงานใหม่และเพิ่มกำลังการผลิต เป็นการไล่ซื้อกิจการอื่น ๆ แทน
2
โดยเมื่อสงครามสิ้นสุดลง Nestlé ได้เริ่มการไล่ซื้อบริษัทเล็ก ๆ ในยุโรปที่ได้รับผลกระทบจากช่วงสงคราม และการไล่ซื้อกิจการตั้งแต่จบสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทำให้ Nestlé ได้แบรนด์สินค้าชื่อดังรวมถึงองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากหลากหลายแบรนด์เข้ามาเป็นของบริษัท
1
อย่างเช่น
1
- Maggi ผู้ผลิตเครื่องปรุงรสอาหาร
- Friskies อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง
- KitKat ช็อกโกแลตแบบแท่งที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
4
นอกจากการซื้อกิจการแล้ว Nestlé ก็ยังออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาสู่ท้องตลาดอยู่เสมอ
อย่างเช่น ชาผงพร้อมดื่ม Nestea และช็อกโกแลตชนิดผงพร้อมดื่ม Nesquik
ซึ่งต่างก็ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วไม่ต่างจาก Nescafé
3
สำหรับในประเทศไทยเอง Nestlé ก็ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจ ตั้งแต่ปี 1893 หรือในปี พ.ศ. 2436 โดยเริ่มต้นจากผลิตภัณฑ์นมข้นหวานบรรจุกระป๋องที่มาจากฝั่งของสองพี่น้อง Charles และ George Page โดยใช้ชื่อไทยว่านมข้นหวานตรา “แหม่มทูนหัว” และตั้งโรงงานผลิตในไทยแห่งแรกในปี 1967 หรือในปี พ.ศ. 2510
1
ปัจจุบัน Nestlé ก็ขยายกิจการจนมีแบรนด์สินค้า กว่า 2,000 แบรนด์
วางจำหน่ายใน 190 ประเทศทั่วโลก และมีมูลค่าบริษัทกว่า 11 ล้านล้านบาท
3
ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อเหมือนกันว่าจากวันแรก ที่บริษัทของ Charles และ George Page กับ Henri Nestlé เป็นคู่แข่งขัน จะถูกควบรวมกันจนกลายมาเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ดำเนินธุรกิจมายาวนานเป็นร้อยปี
1
จนปัจจุบัน Nestlé ได้กลายมาเป็นบริษัทที่ใหญ่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ และใหญ่สุดในบริษัทอาหารและเครื่องดื่มของโลกเลยทีเดียว..
2
โฆษณา