17 ก.ย. 2021 เวลา 05:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Dow Theory ทฤษฎีดาว สายเทคนิคคอลต้องรู้
Dow Theory (ทฤษฎีดาว)
หากคุณกำลังสนใจและอยากจะเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดการเงินหรือตลาดหุ้น สิ่งหนึ่งที่คุณต้องเรียนรู้และให้ความสนใจเป็นพิเศษก็คือ Dow Theory ทฤษฎีดาว เป็นทฤษฎีต้นแบบในการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค Technical กราฟราคาหุ้น ตลาดทองคำ ค่าเงิน ฯลฯ ซึ่งเป็นทฤษฎีที่มีมากว่า 100ปีแล้ว โดยการนำตัวเลขดัชนีมาเขียนเป็นกราฟ ให้เห็นรูปแบบที่แสดงความสัมพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา (Price Pattern) เพื่อที่จะสามารถคาดคะเนแนวโน้มได้ และยังเป็นต้นแบบในการต่อ ยอดพัฒนามาเป็นการนับคลื่นใน Elliott wave อีกด้วย
1
ผู้ที่คิดค้น ทฤษฎีดาวนี้ มีชื่อว่า Charles Henry Dow เป็นนักข่าวสายตลาดหุ้นที่มักจะเขียนบทความเกี่ยวกับวิธีการมองแนวโน้มของตลาดไว้ในหนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal (WSJ) ต่อมาภายหลังมีผู้สนใจแนวคิดดังกล่าว และได้รวบรวมไว้เป็นหลักทฤษฎี โดยมีหลักการสำคัญในการใช้ Technical เอาไว้ 6 ข้อ
ทฤษฎี Dow แบ่งออกเป็น 6 หลักการสำคัญ คือ
1. ตลาดมีการเคลื่อนไหวหลักๆ อยู่ 3 รูปแบบ (The market has three movements) คือ
- แนวโน้มโหญ่ (Primary trend) = 1-3 ปี หรือมากกว่า
- แนวโน้มกลาง(The medium swing or Intermediate trend) = 3 สัปดาห์ – 3 เดือน หรือมากกว่า
- แนวโน้มย่อย (The short swing or Minor trend) = รายวัน – เดือน หรือมากกว่า
2. ตลาดหุ้นมีอยู่ 2 สภาวะ คือ ขาขึ้น Bull Market และขาลง Bear Market โดยจะแบ่ง Trend ออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ คือ
- ช่วงสะสมหุ้น (The accumulation phase) ช่วงนี้คนจะซื้อน้อยเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของขาขึ้น
1
- ช่วงมหาชนมีส่วนร่วม (The public participation phase) เป็นระยะกักตุนเนื่องจากเริ่มเห็นว่าหุ้นเริ่มขึ้น
- ช่วงแจกจ่ายหรือปล่อยของ (The distribution phase) เป็นช่วงที่ราคาสูงมากเกินไปและผู้คนเกิดความกลัวจึงเริ่มเทขาย
3. ราคาสะท้อนทุกอย่างในตลาดอยู่แล้ว (The prices reflect the market already) ดูได้จากราคาในตลาด
4. ทุกอย่างต้องมีความสอดคล้องกัน (Market Indexes Must Confirm Each Other) เช่นSET Index ในตลาดหุ้น เป็นขาขึ้น และอุตสาหกรรมค้าปลีกเป็นขาขึ้น ฉะนั้น หุ้น CPALL ที่อยู่ในอุตสาหกรรมค้าปลีกก็ต้องเป็นขาขึ้นด้วยเช่นกัน
5. ถ้าตลาดจะมีเทรนด์ ต้องมีปริมาณยืนยัน (Volume Must Confirm The Trend) หมายถึง ถ้าหุ้นตัวไหนมีเทรนเป็นขาขึ้น ปริมาณการซื้อขายต้องมากขึ้นตามเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากราคาไม่สอดคล้องกัน เป็นไปได้ว่าเทรนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ปริมาณการซื้อขายลดลง แต่แนวโน้มเป็นขาขึ้น อาจจะเป็นการบ่งบอกว่า ราคาจะเด้งขึ้นสั้นๆแล้วลงต่อเพื่อเปลี่ยนเทรน
6. ราคาจะเป็นเทรนไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีสัญญาณของการเปลี่ยนเทรน (Trends exist until definitive signals prove that they have ended) เช่น ราคามีการวิ่งเป็นเทรนขาขึ้นมาตลอด แต่กลับมีแรงเทขายติดต่อกัน 2 วัน และราคาหุ้นนั้นไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ New High แต่กลับทำจุดแนวต่ำสุดใหม่ New Low แบบนี้เรียกว่าเปลี่ยนเทรนเนื่องจากเทรนเดิม จบแล้วเปลี่ยนไปเป็นเทรนขาลง
สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎 ใน Blockdit ของเรา
โฆษณา