19 ก.ย. 2021 เวลา 14:10 • อสังหาริมทรัพย์
กว่าจะเป็น “แลนด์ลอร์ด” กลางใจเมือง” ย่านปทุมวัน "จุฬาฯ"ได้ที่ดินมาจากไหน
จุฬาฯ“แลนด์ลอร์ด” ใหญ่ กลางใจเมือง ย่านปทุมวัน ได้ที่ดินมาจากไหน มีหลายคนตั้งคำถาม เพื่อหาคำตอบ ว่าเป็นสถาบันศึกษาที่ร่ำรวยจากการเป็นดีเวลอปเปอร์ ทั้งโซนสยามแสควร์ -โซนสวนหลวงสามย่าน
1
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลายเป็นแลนด์ลอร์ด ใหญ่ จากการมีที่ดินในมือกลางใจเมืองย่านปทุมวันมากถึง 1,153ไร่ สร้างความมั่งคั่งร่ำรวยมหาศาลให้กับสถาบันการศึกษาแห่งนี้ จุฬาฯแบ่ง ที่ดินบริหารจัดการออกเป็น3ส่วน ได้แก่1.เขตการศึกษา 595ไร่ 2.ส่วนหน่วยงานราชการเช่า 184ไร่ และ3.เขตพาณิชย์ 374ไร่ ซึ่งเขตพาณิชย์จะรวมโซนสยามสแควร์และโซนสวนหลวง-สามย่าน
ที่ดินทำเลทองจุฬาฯสร้างความฮือฮาอีกครั้งเมื่อ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ PMCU ประกาศให้บริษัทเซ็นทรัลพัฒนาจำกัด(มหาชน)หรือ CPN เป็น ผู้ชนะประมูลที่ดินบล็อกA สยามสแควร์ แปลงโรงหนังสกาลา เนื้อที่7ไร่เศษและตึกแถวเก่า 79คูหา ที่หมดอายุสัญญา เดือนธันวาคม2563 ซึ่งมีทั้งสถาบันเสริมความงาม ธนาคาร ร้านอาหาร ร้านขายอาหารเสริมฯลฯที่ต้องพลิกโฉม เป็นศูนย์การค้าขนาดย่อม หรือคอมมูนิตี้มอลล์และช็อปปิ้งสตรีทระดับโลก ในปี2566
2
ขณะเดียวกันฝั่งสวนหลวง-สามย่าน มีความเคลื่อนไหวเปิดเอกชนร่วมลงทุน บล็อก34ที่ดินติดอุทยาน100ปีบริเวณถนนบรรทัดทองเนื้อที่ 12ไร่เศษ ให้เป็นเมืองการแพทย์ครบวงจร และมีอีกหลายแปลงจะนำออกพัฒนาเชิงพาณิชย์ เนื่องจากโซนสวนหลวง-สามย่านเป็นแปลงที่ดินขนาดใหญ่291ไร่ มีเป้าหมายยกระดับเป็นเมืองอัฉริยะเต็มโครงการภายในปี2580เชื่อมโยงโซนช้อปปิ้งสยามสแควร์
สำหรับที่มาของที่ดินจุฬา ฯ ได้มาอย่างไร ยังคงเป็นที่ถกเถียง ว่าได้รับประราชทานฯหรือ ได้มาหรือเพราะคณะราษฏร์กันแน่
จากการอธิบายของ ดร.โสภณ พรโชคชัยประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทยบจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ที่แม้จะ เป็นลูกแม่โดม สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่มีความคุ้นเป็นอย่างดีในฐานะผู้เชียวชาญเรื่องที่ดิน เพราะหลังสำเร็จการศึกษาก็ได้เข้าทำงานในรั้วจามจุรี ที่สถาบันวิจัยสังคม ในฐานะเจ้าหน้าที่โครงการอาสาสมัครเพื่อสังคม ตั้งแต่กลางปี 2523 - ต้นปี 2525 จึงผูกพันกับจุฬาฯนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
1
ดร.โสภณยอมรับว่า มีคนบอกว่าที่ดินจุฬาฯ มาจากคณะราษฎร บ้างก็ว่าเป็นที่ดินพระราชทาน ความจริงเป็นอย่างไร กันแน่ เรื่องนี้กลายเป็นข้อถกเถียงกันอย่างมาก และในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านที่ดินมีหลักฐานมาแสดง
พร้อมเริ่มเล่าเรื่องราวให้ฟังว่า เมื่อปี 2550ได้รู้จัก กับรศ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เสียชีวิตแล้วเมื่อปี2560) พูดถึงเรื่องที่ดินจุฬาฯ คุณูปการที่สำคัญที่สุดของคณะราษฎรและ จอมพล ป.พิบูลสงคราม (พันเอกหลวงพิบูลสงคราม) ผู้เป็นอธิการบดีจุฬาฯ รวม9 ปี ได้ตราพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โดยโอนที่ดิน 3 แปลง รวมเนื้อที่ 1,196 ไร่ 32 ตารางวา (ยังไม่หักที่ดินทำถนน) ที่บอกว่าที่ดินของจุฬาฯ เป็นที่พระราชทานนั้น ในความเป็นจริง แต่เดิมนั้นจุฬาฯ เช่าที่ดินจากในหลวง เช่น ตามโฉนดที่ดินของจุฬาฯ ระบุว่า เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2478 ในหลวง รัชกาลที่ 8 “ให้เช่า 30 ปี” แก่จุฬาฯ ไม่ใช่การพระราชทานให้โดยตรง ถ้าไม่ได้คณะราษฎรโดยจอมพล ป. ไม่เช่นนั้นแล้วทุกวันนี้จุฬาฯ อาจยังต่อทะเบียนเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทุก 30 ปีเช่นหน่วยงานอื่น
2
ภายหลังการจัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระองค์และทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์หลังการปฏิวัติ 2475 นั้น กระทรวงการคลัง (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์-ของสถาบันไม่ใช่ส่วนพระองค์) เป็นผู้ถือครองที่ดิน และในวันที่ 12 ธันวาคม 2483 กระทรวงการคลังฯ ก็ “ให้” ที่ดินแปลงนี้แก่จุฬาฯปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 1,153 ไร่ (หลังจากหักแบ่งเป็นถนน) โดยแบ่งออกเป็น พื้นที่เขตการศึกษา 595 ไร่ พื้นที่ส่วนราชการเช่าใช้ 184 ไร่ และพื้นที่เขตพาณิชย์ 374 ไร่
3
แต่เดิมรัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานเงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าจำนวน9แสนกว่าบาท ให้ใช้เพื่อสร้างอาคารเรียนและเป็นตึกบัญชาการทรงวางศิลาพระฤกษ์ในการสร้างอาคารเมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 โดยให้สร้างอาคารเรียนในบริเวณหนึ่งบนที่ดินที่ไม่มีโฉนดแต่อยู่ในการครอบครองของรัชกาลที่ 5 มาก่อนแล้ว โดยรัชกาลที่ 5 ทรงให้ใช้ที่ดินนี้เก็บผลประโยชน์เพื่อบาทบริจาริกา (ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์: ราชบัณฑิตยสถาน)
6
ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม 2459 พระองค์ก็ได้ทรงออกโฉนดที่ดินให้กับพระองค์เองเป็นโฉนดที่ดินฉบับที่ 2057 2058 และ 2059 โดยไม่ได้ยกให้จุฬาฯ ดังที่เข้าใจ ที่ดินทั้ง 3 โฉนดนี้ มีผู้เช่าครอบครองอยู่แล้ว ดังจะเห็นได้จากแผนที่หลังโฉนดที่วางแปลงผักเรือกสวนเพื่อการเกษตรต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีวังวินเซอร์ (สนามศุภชลาศัยในปัจจุบัน) ตั้งอยู่โดยก่อนหน้านี้โดยไม่มีโฉนด ทั้งนี้เพราะสมัยนั้นคงยังไม่สนใจเรื่องโฉนดที่ดิน
4
โฉนดที่ดินทั้ง 3 ฉบับนี้ตกทอดมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 8 ปรากฏหลักฐานสารบัญจดทะเบียนว่าเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2478 พระองค์ทรงให้จุฬาฯ เช่าที่ดินเป็นเวลา 30 ปี แต่พอถึง 12 ธันวาคม 2483 รัฐบาลจอมพล ป. ก็โอนเปลี่ยนนามผู้ถือเป็นกระทรวงการคลัง (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) และในวันเดียวกันจุฬาฯ ก็ทำสัญญาเลิกเช่าและกระทรวงการคลังก็ “ให้” ที่ดินสองแปลงนี้แก่จุฬาฯ
การโอนที่ดินให้จุฬาฯ จากเดิมเช่าปลูกสร้างสถานศึกษาเกิดขึ้นในสมัยคณะราษฎร (เพราะถ้าเป็นรัฐบาลอื่นคงไม่ได้ทำ) โดยมติคณะรัฐมนตรี ได้ลงมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเงื่อนไขในพระบรมราชโองการรัชกาลที่ 5 ซึ่งให้ยกที่ดินรายนี้ไว้ในบัญชีเลี้ยงชีพบาทบริจาริกาในพระองค์ เพื่อเก็บผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินนั้นเฉลี่ยส่วนให้บาทบริจาริกาเป็นคราวๆ ยังคงใช้ได้อยู่ ฉะนั้นการที่จะโอนไปให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะกระทำได้ก็แต่โดยทางพระราชบัญญัติ กระทรวงการคลังจึงขอเสนอร่างพระราชบัญญัติ
3
คณะราษฎรโดยจอมพล ป. ทำให้จุฬามีรายได้มหาศาลจากการให้เช่าที่ดินทั้งแก่ภาครัฐและภาคเอกชน กลายเป็นทรัพยากรสำคัญของจุฬาฯ ในการพัฒนาการเรียนการสอนและความสะดวกสบายแก่บุคลากรของจุฬาฯ จนถึงทุกวันนี้ มีตัวเลขรายได้ของจุฬาฯ ว่า ในปี 2558รายได้จากรัฐบาล 7,117 ล้านบาท รายได้จากการดำเนินงานของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน 4,950 ล้านบาท รายได้จากการจัดการศึกษา 2,927 ล้านบาท โดยรายได้รวมทั้งหมดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ 21,538 ล้านบาทซึ่งปัจจุบันคงมีรายได้มากกว่านั้น
2
ดร.โสภณสรุปว่า จอมพล ป. ในนามของคณะราษฎรจึงเป็นผู้ที่ทำให้จุฬาฯ มีรายได้มหาศาลหลายพันล้านบาทต่อปีในขณะที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ได้รับงบประมาณแผ่นดินน้อยกว่ารายได้ของจุฬาฯ ก้อนนี้ด้วยซ้ำไป
โฆษณา