Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
INDIA THE GREAT
•
ติดตาม
20 ก.ย. 2021 เวลา 06:11 • ปรัชญา
Maurya Empire ตอนที่3(ตอนจบ)
ครั้งเมื่อพระเจ้าอโศกครองราชย์ได้เป็นระยะเวลาประมาณ 36 ปีและสิ้นพระชนม์ในปี 232 ก่อน ค.ศ.
ตำนานกล่าวว่า ในระหว่างพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สรีระของพระองค์ได้ไหม้เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน
หลังจากที่พระองค์สิ้นพระชนม์ ราชวงศ์เมารยะคงอยู่แค่ 52 ปี จนกระทั่งจักรวรรดิของพระองค์ขยายออกไปเกือบครอบคลุมชมพูทวีปทั้งหมด
อย่างไรก็ตามจักรวรรดิโมริยะเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดจักรวรรดิหนึ่งที่ปกครองชมพูทวีป และรุ่งเรืองสุดในสมัยพระเจ้าอโศก
ประวัติศาสตร์ช่วงสมัยของพระเจ้าอโศกเมารยะอาจจะหายไปไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ บันทึกเหล่านี้ได้มาจากจารึกเสาศิลาและจารึกแผ่นหินพร้อมด้วยกิจกรรมอันมากมายและการสอนที่พระองค์ต้องการที่จะให้เป็นสื่อไปถึงอาณาประชาราษฎร์ภายใต้พระนามของพระองค์ ภาษาที่ใช้ในการจารึกคือภาษาปรากฤต เป็นภาษาที่ใช้ทั่วไปในยุคนั้น โดยใช้อักษรพราหมีในการเขียน
การจารึกบนแผ่นหิน
ต่อจากพระเจ้าอโศกมหาราชมีเพียงกษัตริย์อีก6พระองค์เท่านั้นที่ได้ปกครองต่อก็คือ
พระเจ้าทศรถ, 232 – 224 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าสัมประติ, 224 – 215 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าศาลิศุกะ, 215 – 202 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าเทววรมัน, 202 – 195 ปีก่อนคริสตกาล
พระเจ้าศตธันวัน, 195 – 187 ปีก่อนคริสตกาล
และสุดท้าย พระเจ้าพฤหทรถะเมารยา, 187 – 185 ปีก่อนคริสตกาล
ภาพวาดพระพฤหทรถเมารยา พระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์เมารยา
ในปี 185 ก่อนคริสตกาลประมาณ 50 ปีหลังจากพระเจ้าอโศกสิ้นพระชนม์ พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแห่งราชวงศ์เมารยาพระองค์สุดท้ายคือ พระเจ้าพฤหัทรถ ถูกลอบสังหารโดยนายพลผู้เป็นเสนาบดีของกองทัพแห่งราชวงศ์เมารยะ ปุษยมิตร ศุงคะ ในขณะที่พระองค์กำลังดำเนินตรวจทหารองครักษ์กองเกียรติยศเดินสวนสนาม ปุษยมิตร ศุงคะ แห่งราชวงศ์ศุงคะได้สถาปนาจักรวรรดิศุงคะในปี 185 - 75 ก่อนคริสตกาลและปกครองเพียงแค่ส่วนเมื่อเทียบกับราชวงศ์เมารยา คือส่วนมากของดินแดนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจักรวรรดิเมารยะ (ปัจจุบันนี้คือประเทศอัฟกานิสถานและประเทศปากีสถาน) ต่อมากลายเป็นอาณาจักรอินโดกรีก พระเจ้าอโศกเป็นจักรพรรดิพระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์เมารยะแห่งอินเดีย มีการพิจารณาว่าพระองค์เป็นหนึ่งในผู้ปกครองแบบอย่างผู้สูงส่ง ผู้เป็นอมตะตลอดกาล
ปุษยมิตร ศุงคะ
อ้างอิง
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%A8%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A
https://indianexpress.com/article/india/ashoka-pillar-jnu-professor-romila-thapar-highlights-history-behind-inscription-5067161/
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย