Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Foxtrot Business Squad
•
ติดตาม
26 พ.ค. 2023 เวลา 06:49 • การเมือง
สหภาพแรงงานเสียงและพลังของแรงงานในการต่อสู้
สหภาพแรงงานเสียงและพลังของแรงงานในการต่อสู้
สหภาพเเรงงาน คือ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นจากการรวมตัวกันของเเรงงานเพื่อเรียกร้องในประเด็นต่างๆให้กับเเรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการ การขึ้นค่าจ้าง สิทธิเเรงงาน หรือแม้เเต่การปกป้องแรงงานจากนายจ้างที่ไม่เป็นธรรม สหภาพแรงงานเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่เคลื่อนไหวในประเด็นทางสังคมและการเมืองอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นเสมือนกระบอกเสียงให้กับแรงงาน
แรงงานคนเดียวอาจไม่มีเสียงมากพอที่จะทำให้เหล่านายทุนได้ยิน แต่หากแรงงานรวมตัวกัน เสียงของพวกเขาจะเป็นเสียงที่มีพลังและหนักแน่น ทำให้นายทุนหรือแม้แต่รัฐก็ต้องได้ยิน
ประเด็นต่างๆที่สหภาพแรงงานได้เรียกร้องหรือผลักดันล้วนเเล้วเเต่เป็นผลประโยชน์เพื่อแรงงานทุกคน องค์กรที่สามารถเข้าใจปัญหาความลำบากและ ความต้องการ-
ของแรงงานได้ดีที่สุด
ก็คือองค์กรที่มาจากการก่อตั้งของแรงงาน ซึ่งก็คือสหภาพเเรงงานนั่นเอง
โครงสร้างสหภาพแรงงานและความเป็นประชาธิปไตย
โครงสร้างของสหภาพแรงงานนั้น สามารถมีหรือเริ่มได้ตั้งแต่ในที่ทำงาน และสามารถขยายไปยังกลุ่มสายอาชีพเดียวกัน พื้นที่จังหวัดเดียวกันหรือเเม้เเต่สามารถขยายไปยังระดับประเทศได้เช่นกัน โครงสร้างภายในสหภาพแรงงานนั้นอยู่บนพื้นฐานของ “ประชาธิปไตย” โดยที่ทุกคนในสหภาพมีสิทธิ์ มีเสียงในการตัดสินใจในประเด็นและเรื่องต่างๆตาม “หลักประชาธิปไตย” ผ่านการเลือกตั้งและการเสวนากัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของแรงงานในสหภาพร่วมกัน แรงงานทุกคนต่างเป็นเจ้าของสหภาพร่วมกัน
การเป็นประชาธิปไตยนั้นสามารถเริ่มต้นได้จากในที่ทำงาน การตกลงกัน การร่วมกันตัดสินใจ การทำงานที่รับฟังและใช้เสียงของคนที่ทำงานจริงๆนั้น จะส่งผลให้งานออกมาดีกว่า และมันจะเป็นผลดีกว่ามากหากเราสามารถตัดสินใจร่วมกันได้ว่าใครจะเป็นหัวหน้าหรือผู้นำ และแรงงานทุกคนไม่ว่าตำแหน่งใดก็สามารถเป็นเจ้าของบริษัทร่วมกัน
มีสิทธิ์ในการตัดสินใจร่วมกันได้ในที่ทำงาน สามารถเลือกตั้งคณะบริหาร และยังถอดถอนบุคคลเหล่านั้นออกจากตำแหน่งได้ จะไม่มีใครในบริษัทหรือที่ทำงานที่มีอำนาจอยู่เหนือหัวผู้อื่นโดยปราศจากความชอบธรรม
สหภาพแรงงานนั้นไม่ได้ช่วยเหลือเพียงแค่แรงงานในสหภาพเท่านั้น เเต่ประเด็นการเรียกร้องต่างๆยังคงครอบคลุมไปถึงแรงงานที่อยู่นอกสหภาพเช่นกัน เพราะประเด็นต่างๆนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการหรือค่าเเรงนั้น ทุกเรื่องล้วนแต่เป็นประเด็นที่ครอบคลุมถึงสิทธิของแรงงานทุกๆคน
สหภาพแรงงาน ตัวอย่างการเคลื่อนไหว ในประวัฒิศาสตร์โลกเเละไทย
-เหตุการณ์ Mayday 1 May 1886 สหรัฐอเมริกา
เหตุการณ์นี้เป็นสาเหตุและที่มาว่าทำไมเวลาในการทำงานตามมาตรฐานจึงเท่ากับ 8 ชั่วโมงต่อวัน โดยก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ Mayday เหล่าเเรงงานต้องทำงานมากถึง 10-12 ชั่วโมงในเเต่ละวัน ทำให้เเรงงานหลายคนต่างไม่ยอมและลุกขึ้นต่อสู้ เพราะการทำงานที่กินเวลานานและหนัก เเต่เงินค่าจ้างที่ได้รับนั้นกลับช่างน้อยนิดไร้ความยุติธรรม การทำงานในช่วงเวลานั้นให้ความรู้สึก
ไม่ต่างอะไรกับการเป็นเครื่องจักรหรือการเป็นทาส.
ทำให้เเรงงานในสหภาพเเรงงาน หรือแม้แต่เเรงงานที่ไม่ได้อยู่ในสหภาพต่างก็ออกมารวมตัวชุมนุม และพร้อมใจกันหยุดงานประท้วง (Strike) จนในที่สุดจึงมีการออกกฎหมายเรื่องเวลาการทำงานออกมาหลังจากนั้นการนัดกันหยุดงานหรือการStrikeจึงกลายเป็นอีกหนึ่งวิธีในการประท้วงในหลายๆประเทศ สามารถโค่นล้มฝ่าย “เผด็จการ” รวมถึงกดดันรัฐบาลได้ดีเช่นกัน.
การนัดหยุดงานส่งผลให้เศรฐกิจชะลอตัวหรือเเม้กระทั่งหยุดทำงานได้เลย ลองคิดภาพที่ว่าแรงงานในหลายๆภาคส่วนต่างพร้อมใจกันหยุดงาน เช่น คนส่งของ คนขับรถเมล์หรือรถไฟ แรงงานในโรงงาน แรงงานในสำนักงานต่างๆทุกภาคส่วน พร้อมใจกันวางงานของตนเองลง
ออกมาประท้วงเดินขบวนพร้อมกัน และ จะไม่กลับไปทำงานจนกว่าจะได้ข้อเรียกร้อง คิดว่ารัฐหรือพวกนายทุนจะทำสีหน้ายังไงละที่เห็นทุกอย่างหยุดลง ในระบบทุนนิยมที่ต้องมีการขับเคลื่อนหมุนเวียนของเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลา การหยุดทำงานกะทันหันแบบนี้ไม่ดีแน่ๆ ส่งผลทำให้เกิดแรงกดดันในทุกๆภาคส่วนตามมา
-สหภาพแรงงานและเหตุการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย
ในช่วง 14 ตุลา พ.ศ. 2516 หรือวันมหาวิปโยค
นอกจากขบวนการนักศึกษาที่ลุกขึ้นประท้วงแล้ว
ยังมีอีก 2 ขบวนการหลักๆคือ ขบวนการแรงงาน
และ ขบวนการชาวนา ที่ร่วมกันต่อสู้ฝ่ายเผด็จการไปพร้อมๆ
กับเหล่าขบวนการนักศึกษา จนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
เพราะสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก เเละ สหภาพแรงงานที่เเข็งเเกร่ง
เเละเป็นปึกเเผ่นร่วมกันของแรงงานในช่วงนั้นทำให้การประท้วงเรียกร้องของแรงงานในช่วงหลัง14ตุลาได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ช่วงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา สหภาพแรงงานก็มีบทบาทน้อยลงไป เเละกลับมามีบทบาทในบ้างครั้ง
เช่น การผลักดันกฎหมายประกันสังคม การรณรงค์ยกเลิกกฎหมายการจ้างงานชั่วคราว หรือการเคลื่อนไหวเรื่องการให้หยุดลาคลอด 90 วันของกลุ่มแรงงานสตรี และอีกหลายๆการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
ในประเทศของเรา
-สหภาพไรเดอร์
ในช่วงเวลาของการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา แรงงานอาชีพไรเดอร์ได้กลายมาเป็นอาชีพที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก พวกเขานั้นต้องทำงานที่ต้องออกไปรับ-ส่งของและอาหารให้กับประชาชน เป็นอาชีพที่ต้องสละทั้งเวลา ค่าเดินทาง รวมถึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอีกด้วย แต่ในเวลาเดียวกันนั้นเอง พวกนายทุนก็ได้ทำการขูดรีดและหาผลประโยชน์จากการทำงานและรายได้ของพวกเขา
ทำให้ไรเดอร์รวมตัวกันในนาม “สหภาพไรเดอร์”
เพื่อต่อสู้และกดดันเหล่านายทุนด้วยการนัดกันหยุดงานหรือรวมตัวกันประท้วง
ซึ่งประเด็นหลักๆโดยรวมที่เหล่าไรเดอร์กำลังเรียกร้องกันอยู่นั้น
ก็คือ ค่ารอบจากการส่งของที่ไม่เป็นธรรม การละเมิดสัญญาของ
ไรเดอร์ ซึ่งบริษัทสามารถเปลี่ยนรูปแบบสัญญาได้ตลอดโดยไม่ได้รับการยินยอม การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของทั้งไรเดอร์และ ลูกค้าผ่านตัวแอพพลิเคชั่น และอำนาจอันไม่เป็นธรรมที่บริษัทมี รวมไปถึงเรื่องของสวัสดิการ
ที่ไม่มีให้กับไรเดอร์เลยแม้แต่นิดเดียว และประเด็นอื่นๆอีกมากมายที่ไรเดอร์ต้องเจอในการทำงาน ทั้งหมดนี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ไรเดอร์ในหลายๆบริษัทออกมาร่วมตัวกันในนามสหภาพเพื่อประท้วง
“ไรเดอร์ทั้งผอง คือพี่น้องกัน ! ”
กฎหมายไทยการปิดกั้นการเคลื่อนไหวของแรงงาน
หากแต่ว่า ประเทศไทยนั้นได้มีการร่างกฎหมายที่มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการนัดหยุดงานประท้วง ! โดยการละเมิดกฎหมายเหล่านี้สามารถมีความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายแรงงานในฉบับที่ตามมาหลังรัฐประหารปี 2557
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 117 ผู้ใดยุยงหรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงานงดจ้าง หรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขาย หรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน
เพื่อบังคับรัฐบาลหรือเพื่อข่มขู่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วรรคสอง ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าวและเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยในการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
วรรคสาม ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าว และใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำให้หวาดกลัวด้วยประการใด ๆ เพื่อให้บุคคลเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยในการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และ กฎหมายแรงงานในที่หมวด 3
สหภาพแรงงานไทยในอนาคต
ประเด็นเรื่องสหภาพแรงงานในไทยนั้นยังต้องมีการผลักดันเเละปฏิรูปก่อตั้งองค์กรขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นฐานเสียงที่สำคัญให้กับแรงงานในไทย รวมถึงเป็นพลังที่มีอำนาจต่อกรกับรัฐและนายทุนได้
สภาพสังคมการเมืองประเทศไทยในปัจจุบัน แรงงานยังไม่มีเสียงมากพอ รวมถึงถูกมองว่าเป็นชนชั้นที่ไม่มีความสำคัญ เป็นชนชั้นที่รัฐไม่จำเป็นต้องให้ความสนใจ
และสหภาพแรงงานได้ถูกลดทอนพลังและอำนาจไปในครั้งรัฐประหารในหลายๆรอบ ทั้งที่แรงงานคือผู้สร้างและขับเคลื่อนประเทศมาโดยตลอด การรวมตัวกันของแรงงานจะเป็นอีกทางที่ทำให้แรงงานนั้นมีอำนาจและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
ตามที่เราเห็นในอดีตการต่อสู้ของฝ่ายประชาธิปไตย
แรงงานในไทยนั้นถูกตีกรอบทางความคิด ถูกปิดกั้นเสียงและไร้อำนาจเพราะเหล่านายทุนและรัฐ โดยที่ไม่รู้เลยว่าหากแรงงานรวมตัวกัน พวกเขาก็จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ รวมถึงมีสิทธิมีเสียงในการทำทุกอย่าง แรงงานจะสามารถเรียกร้อง เพิ่มค่าแรง ปรับเปลี่ยนกฎหมาย ร่างสิทธิสวัสดิการใหม่ พัฒนาสังคมและเศรฐกิจ
เพียงแค่เหล่าแรงงานรวมตัวกัน เหมือนที่ “คาร์ล มาร์กซ์” ได้กล่าวไว้ว่า
“ กรรมาชีพทั้งหลายจงรวมกัน! คุณไม่มีอะไรจะเสียนอกจากโซ่ที่ล่ามคุณ! ”
สหภาพแรงงานเป็นมากกว่าแค่องค์กรที่แรงงานรวมตัวกันเรียกร้องค่าแรงเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นองค์กรที่ต่อสู้กับนายทุนและต่อรองกับอำนาจรัฐเพื่อประโยชน์สูงสุดของแรงงานทุกๆคน
เเหล่งอ้างอิง
นภาพร อติวานิชยพงศ์. (๒๕๖๑). สหภาพแรงงานไทยที่เป็นขบวการเคลื่อนไหวทางสังคม.
ช่องพูด.(๒๕๖๔). ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่ได้เลือกตั้ง.
https://youtu.be/a4qO5xT1pOs
สหภาพไรเดอร์.(๒๔๖๔).เป็นเรื่องที่น่าขบขันบนประกาศไม่สนับสนุนการ "ทุจริต" ในขณะที่มีประเด็น ข้อเรียกร้องกับไรเดอร์.
https://www.facebook.com/101242181988751/posts/186719166774385/
N.Y. DISTICT, COMMUNIST PARTY. “MAY DAY”. Day of Solidarity and Unity in Struggle.
Union Plus. “What is a Union.”
www.unionplus.org
, Union Plus,
https://www.unionplus.org/page/what-union
.
Thai Labor Database ฐานข้อมูลสหภาพแรงงานไทย. “สหภาพแรงงาน คืออะไร ทำไมจึงต้องมีสหภาพแรงงาน ?”
http://www.thailabordatabase.org
, Thai Labor Database ฐานข้อมูลสหภาพแรงงานไทย,
http://www.thailabordatabase.org/th/union.php?c=about
.
การเมือง
แรงงาน
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย