Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
โกดังเก่า 1997
•
ติดตาม
21 ก.ย. 2021 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
ขึ้นชื่อว่าสงครามล้วนมีแต่ภาพแห่งความรุนแรง หดหู่ และถือเป็นฝันร้ายของผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับสงคราม ไม่ว่าจะเกิดสงครามขึ้นกี่ครั้งสิ่งที่ตามมาก็คือการสูญเสียชีวิตมนุษย์นับแสนนับล้าน เจ็บป่วย และพิการอีกหลายหมื่นคนเพื่อแลกกับอำนาจที่จะได้มาครอบครองดังเหตุการณ์ “ทางรถไฟสายมรณะ” เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและเป็นที่โจษจันไปทั่วโลกในเรื่องของความเศร้า และหดหู่
2
ย้อนกลับไปเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกทางอ่าวไทย แล้วแยกย้ายกันไปตั้งค่ายตามเมืองชายฝั่งทะเลของไทยพร้อมกัน 7 พื้นที่ เพราะการลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ และเสบียงต่าง ๆ ถูกโจมตีจากการทิ้งระเบิดของเครื่องบินฝ่ายพันธมิตร ญี่ปุ่นจึงคิดเปลี่ยนเส้นทางลำเลียงเป็นทางบก โดยการสร้างทางรถไฟให้เชื่อมต่อกันเพื่อเข้าไปสู่พม่า
1
ญี่ปุ่นได้เสนอต่อรัฐบาลไทยในเดือนมีนาคมปี 2485 ขอสร้างทางรถไฟแยกจากสถานีหนองปลาดุกในอำเภอบ้านโป่ง ไปถึงด่านเจดีย์สามองค์ เป็นระยะทาง 304 กม. เริ่มแรกจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขอให้ไทยเป็นคนสร้างแล้วให้ญี่ปุ่นส่งแต่วัสดุที่ใช้มาให้เท่านั้น แต่ทางกรมรถไฟยืนยันว่ากำหนดเวลาสร้างต้องใช้เวลานานถึง 8 ปีจนต้องยอมให้ญี่ปุ่นสร้างเอง
1
และนั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความโหดร้ายที่คนทั่วโลกไม่มีวันลืม เมื่อญี่ปุ่นกวาดต้อนผู้คนและเชลยศึกราว 300,000 คนไปสร้างทางรถไฟเพื่อใช้ในการทำสงคราม โดยไม่สามารถขนเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทันสมัยใด ๆ เข้าไปได้
2
ภาพการสร้างทางรถไฟที่เชลยศึกต้องทำทั้งวันทั้งคืนอย่างไม่ได้หยุดพัก
สิ่งที่เหล่าเชลยศึกต้องใช้มีเพียงแต่จอบ เสียม มีดเท่านั้น แรงงานจำเป็นล้วนได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสจากการทำงานอย่างหนักทั้งวันทั้งคืนเพื่อให้ทางรถไฟเสร็จเร็วที่สุด แรงงานจำนวนมากไม่มีเสื้อผ้าใส่ถึงขนาดต้องนุ่งผ้าเตี่ยวเพียงผืนเดียวปกปิด ซ้ำร้ายยังเกิดโรคระบาดทั้งมาลาเรีย อหิวาต์ แผลเน่าติดเชื้อ และขาดสารอาหาร
2
ภาพความเป็นอยู่เชลยศึกที่แสนยากลำบาก
ศพของทาสแรงงานเหล่านี้จึงถูกฝังไว้บริเวณริมทางรถไฟตลอดสาย และถูกถมทับลงบนเส้นทางมรณะสายนี้จนเปรียบเปรยกันว่า หนึ่งไม้หมอนต่อหนึ่งชีวิต โดยมีการแจ้งตัวเลขที่ผู้ร่วมในโศกนาฏกรรมครั้งนี้ไว้ว่า
2
แรงงานชาวเอเซีย ๒๐๐,๐๐๐ คน ตาย ๘๐,๐๐๐ คน
เชลยศึกอังกฤษ ๓๐,๐๐๐ คน ตาย ๖,๕๔๐ คน
เชลยศึกฮอลันดา ๑๘,๐๐๐ คน ตาย ๒,๘๓๐ คน
เชลยศึกออสเตรเลีย ๑๓,๐๐๐ คน ตาย ๒,๗๑๐ คน
เชลยศึกอเมริกัน ๗๐๐ คน ตาย ๓๕๖ คน
ทหารญี่ปุ่นและเกาหลี ๑,๕๐๐ คน ตาย ๑,๐๐๐ คน
3
จากตัวเลขการสูญเสียเหตุการณ์ครั้งนี้จึงนับว่าเป็นโศกนาฏกรรมอันใหญ่หลวงที่ไม่สามารถลบออกไปจากความทรงจำได้เลยไทยจึงเปลี่ยนให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อให้ผู้คนรำลึกถึงเหล่าเชลยศึกที่ต้องเสียชีวิตไปในเหตุกาณ์ครั้งนี้
1
ภาพรถไฟสายมรณะในปัจจุบันที่ 1 หมอนรถไฟแลกมาด้วย 1 ชีวิตของเชลยศึก
ติดตามเราผ่าน Facebook
https://www.facebook.com/KODUNGKAO1997
2
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://storyofsiam2.blogspot.com/p/blog-page_3.html?m=1&fbclid=IwAR1Tv9jzOmiiKeZY3IKsdo__XoA5oz0m59WPgoifGWkMX7-6Y-vnjsIIQNw
2 บันทึก
16
13
11
2
16
13
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย