21 ก.ย. 2021 เวลา 10:37 • สุขภาพ
ยาเบาหวาน
ยารักษาโรคเบาหวานชนิดรับประทาน มีทั้งยาที่กินก่อนอาหาร และหลังอาหาร
💢ยาก่อนอาหาร
ออกฤทธิ์ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายพร้อมที่จะใช้พลังงานจากแป้งและน้ำตาล โดยกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา ณ เวลาที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหลังจากกินอาหาร โดยทั่วไปแล้วมักแนะนำให้กินก่อนอาหารประมาณ 30 นาที
ข้อควรระวังของยากลุ่มนี้ เมื่อกินยากลุ่มนี้แล้ว จำเป็นต้องกินอาหารหลังกินยาเสมอ เพราะฮอร์โมนอินซูลินที่ถูกกระตุ้นให้หลั่งออกมาจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าระดับปกติ จนอาจเกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงได้
หากลืมกินยาต้องทำอย่างไร?
เช่นเดียวกับกรณีลืมกินยา ไม่ควรกินยาหลังอาหาร เพราะยาจะออกฤทธิ์ในช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงไปแล้ว จึงทำให้ระดับน้ำตาลลดต่ำลงไปมากกว่าเดิม อาจมีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หากลืมกินยา ควรเว้นยาที่ลืมโดยไม่ต้องกินเพิ่มเป็นสองเท่าในมื้อถัดไป
💢ยาหลังอาหาร
ยาที่กินหลังอาหารมีหลายกลุ่มด้วยกัน และอาจใช้ยารักษามากกว่า 1 ชนิด เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการรักษามากขึ้น กรณีลืมกินยากลุ่มนี้​ สามารถกินยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้อาหารมื้อถัดไปแล้ว ควรเก็บยาไว้กินหลังอาหารมื้อถัดไปแทน
💐บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
ยาเบาหวาน ... กินอย่างไรให้ถูกต้อง
.
💐ยาเบาหวานกินอย่างไรให้ถูกต้อง?
🚨บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
ยารักษาโรคเบาหวานกับภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
🌹นศภ. ปาณิสรา อุทัยสินศักดิ์
นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
(สอบทานความสมบูรณ์และถูกต้อง : อาจารย์ ดร.ภก. สุรศักดิ์ วิชัยโย)
🎑https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/507/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3/
ยาที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)
สรุปข้อมูลจาก บทความ Drugs induced hyperglycemia จากวารสารสมาคมเภสัชกรรมชุมชน ปีที่ 18 ฉบับที่ 104 เดือนพฤษภาคม 2562 โดย ภญ.รุ้งนภา เต็งไตรสรณ์
ขั้นตอนการให้คำปรึกษาผู้ป่วยเบาหวาน - Competencyrx.com
อาการทางผิวหนังที่พบในผู้เป็นโรคเบาหวาน ได้แก่
🤯อาการคันโดยที่ไม่มีรอยโรค
ผู้ป่วยเบาหวานมักมีผิวแห้ง รวมถึงอาการตาแห้งหรือน้ำลายในช่องปากน้อยลงด้วย และในผู้หญิงจะมีอาการคันบริเวณก้นและอวัยวะเพศ พบได้ประมาณ 19% โดยต้องแยกกับการติดเชื้อรา ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่คุมระดับน้ำตาลไม่ดี
การรักษา คือ ใช้โลชั่นให้ความชุ่มชื้น และที่สำคัญต้องคุมระดับน้ำตาลให้เป็นปกติ
😷ความผิดปกติของสีผิว ได้แก่
ด่างขาว ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และอาจนำมาก่อนที่จะเป็นเบาหวานก็ได้
ผิวหนังเป็นสีเหลือง โดยต้องไม่เหลืองบริเวณตาขาวซึ่งเจอในภาวะดีซ่าน สาเหตุเกิดจากเมตาบอลิซึมของแคโรทีนที่ตับลดลง และอาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานมักจะรับประทานประกอบไปด้วยอาหารที่มีแคโรทีนสูง เช่น ผักผลไม้ที่เป็นสีเหลืองพบได้ประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวาน
🤒ผิวหนังเป็นปื้นหนาสีเหลือง น้ำตาล เทา ขอบเขตไม่ชัดเจนลักษณะคล้ายกำมะหยี่ ตำแหน่งที่พบ ได้แก่ ข้อพับ รักแร้ ต้นคอ ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน บ่งถึงภาวะดื้อต่ออินซูลิน พบในผู้ป่วยที่อ้วน ถุงน้ำที่รังไข่หลายใบ และเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนอีกหลายชนิด เช่น โรค Acromegaly Cushing’s syndrome เป็นต้น
👾ตุ่มนูนแข็ง มีอาการคันมาก มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีเหลือง น้ำตาล มีเคราติน plug อยู่ตรงกลาง พบบริเวณแขน ขา ลำตัว และมีอาการคันมาก พบในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นมานานกว่า 10 ปี โดยเฉพาะมีโรคไตวายร่วมด้วย
👹ตุ่มนูนสีแดง ไม่คัน มีลักษณะเป็นตุ่ม หรือปื้นสีแดงเป็นวงกลม หรือวงแหวน ไม่คัน พบตามลำตัว แขน ขา เป็นต้น
เบาหวานลงไต
รู้ไว้ห่างไกลเบาหวาน
อาการของโรคเบาหวาน
ในระยะแรก โรคเบาหวานจะไม่แสดงอาการผิดปกติ โดยอาจตรวจพบโรคเบาหวาน เมื่อตรวจพบภาวะแทรกซ้อน อาการของโรคเบาหวานแต่ละชนิด จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่อาการที่พบส่วนใหญ่ คือ
• หิวน้ำมาก หิวน้ำบ่อย
• ปากแห้ง
• ปัสสาวะบ่อย
• หิวบ่อย กินจุ
• น้ำหนักลด หรือเพิ่มอย่างผิดปกติ
• สายตาพร่ามัว เห็นภาพไม่ชัด
• เหนื่อยง่าย
• มีอาการชา โดยเฉพาะมือ และขา
• บาดแผลหายยาก
การป้องกันโรคเบาหวาน
สิ่งที่สำคัญที่สุด ในการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอ โดยไม่จำเป็นว่าอ้วน หรือผอม เน้นการกินอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นสตรีมีครรภ์ ควรเข้ารับการฝากครรภ์แต่เนิ่น ๆ และไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
ประเมินความเสึ่ยงโรคเบาหวาน
Q1. . ตามแนวทางของ American Heart Association ในการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงปี ค.ศ. 2018 ผู้ป่วยหญิงอายุ 60 ปีมีประวัติเป็น coronary heart disease และผลตรวจไขมันเป็นดังนี้ TC 200 mg/dlTG, 250 mg/dl, HDL 50 mg/dl, LDL 160 mg/dl ผู้ป่วยรายนี้ควรได้รับการรักษาด้วยยาใดตามแนวทางของ ACC/AHA 2018
a. Simvastatin 80 mg
b. Rosuvastatin 20 mg
c. Atorvastatin 20 mg
d. Fluvastatin 80 mg
e. Pravastatin 80 mg
Q2... ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 50 ปีรายหนึ่งมีประวัติเป็นโรคเบาหวานเจาะวัดระดับไขมันในเลือดได้ดังนี้ TC 230 mg/dl, TG 250 mg/dl, HDL 50 mg/dl, LDL 110 mg/dl ผู้ป่วยรายนี้ควรได้รับการรักษาด้วยยาใดตามแนวทางของ ACC/AHA 2018
a. Simvastatin 5 mg
b. Simvastatin 10 mg
c. Rosuvastatin 5 mg
d. Rosuvastatin 40 mg
e. ระดับไขมันของผู้ป่วยรายนี้เข้าตามเป้าหมายแล้ว ไม่จำเป็นต้องได้รับยา
Q3... ยาใดสามารถใช้คู่กับ simvastatin ได้
a. Itraconazole
b. Azithromycin
c. Gemfibrozil
d. Clarithromycin
e. Ketoconazole
Q4... ข้อใดเป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา statins
a. เอนไซม์ตับสูงขึ้น
b. น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
c. CPK สูงขึ้น
d. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
e. ถูกทุกข้อ
Q5... ตามแนวทางของ ESC ในการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงปี ค.ศ. 2019 ผู้ป่วยหญิงอายุ 60 ปี มีประวัติเป็น coronary heart disease ควรมีระดับ LDL เป้าหมายเท่าใด
a. < 115 mg/dl
b. < 100 mg/dl
c. < 70 mg/dl
d. < 55 mg/dl
e. < 30 mg/dl
.
คำถามจาก​ แบบทดสอบ : How High Potentcy Statins are efficient treatment for patients with Dyslipidemia วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2564
.
.
What are the AHA/ACC guidelines for statin therapy intensity to prevent coronary artery disease (CAD)?
.
What are the ADA guidelines on the use of statins in patients with type 2 diabetes mellitus (DM)?
🤔ทำไมผู้เป็นโรคเบาหวาน ควรกินยาลดไขมัน
ผู้เป็นเบาหวานที่อายุมากกว่า 40 ปีทุกรายหรือถ้าอายุน้อยกว่า 40 ปีแต่มีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ควรกินยาลดไขมันในกลุ่ม statin เช่น simvastatin, atorvastatin, rosuvastatin, pravastatin, pitavastatin เป็นต้น เนื่องจากมีหลักฐานจากการวิจัยมากมายยืนยันว่า การลดระดับไขมันเลว (LDL คอเลสเตอรอล) ด้วยยาในกลุ่ม statin สามารถลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
🤔ทำไมต้องกินยาด้วยในเมื่อสบายดีไม่รู้สึกผิดปกติใด ๆ
การควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียวจึงมักไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่จึงมักต้องการการรักษาด้วยยาในกลุ่ม statin ร่วมด้วย
🤔ตอนนี้ระดับไขมันในเลือดปกติดีแล้ว หยุดยาได้ไหม
ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการกินอาหารที่มีไขมันสูงเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากร่างกายสร้างไขมันคอเลสเตอรอลจากตับ และเนื่องจากความผิดปกติของขบวนการเมตาบอลิซึ่มของไขมัน​ ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดไขมันคอเลสเตอรอลส่วนเกินได้ โดยเฉพาะไขมัน LDL ซึ่งเป็นไขมันเลว ดังนั้นถ้าหยุดยา statin ระดับไขมันคอเลสเตอรอลซึ่งลดลงจากการใช้ยา statin ก็จะกลับสูงขึ้นมาอีก ผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องกินยานี้ไปตลอดชีวิต เช่นเดียวกับการกินยาเบาหวาน
🍕Statins for Diabetes: Which Is Best?
.
🌭Prescription for Cardiovascular Protection with diabetes - Diabetes Canada
ยาที่มีผลลดการดูดซึมวิตะมินบีสิบสอง
แอสไพริน
วิตะมินซี
ยาลดกรดกลุ่ม PPI
ยารักษาโรคเก๊าท์ โคลชิซิน
ยาลดน้ำตาลในเลือด เมทฟอร์มิน
ถ้าจะกินร่วมกันควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย2ชั่วโมง
.
.
Vitamin B-12 - Mayo Clinic
the combination between omega-3 + taurine in humans has shown a cardioprotective and anti-inflammatory effect greater than both elements separately .[111] Also, in mice with T2D the combination of fish oil + taurine showed a decrease in glucose and insulin levels and improved the leptin resistance contributing to the suppression of weight gain
Consuming #chia seeds may cause some side effects for people with allergies, diabetes, high blood pressure, or digestive issues.
“Type 3 diabetes” is a term some people use to describe Alzheimer’s disease. Some scientists proposed the term because they believe insulin dysregulation in the brain causes dementia.
POSTED 2021.09.21
บทความ​อื่น
💢Adults With Obesity GUIDELINES| 2022
👨‍🔬ยาเบาหวานกับผู้ป่วยไตเสื่อม
โฆษณา