22 ก.ย. 2021 เวลา 14:34 • ธุรกิจ
ธุรกิจโลจิสติกส์ อาจเปลี่ยนไปตลอดกาล
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ถือเป็นอีก 1 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 น้อยมาก ขณะที่บางรายไม่ได้ผลกระทบในทางกลับกันยังส่งผลให้ธุรกิจเติบโตอย่างมาก ทั้งที่เป็นธุรกิจที่ถูกมองว่า โลกของธุรกิจโลจิสติกส์ มีความท้าทายอย่างมาก ต้องปรับตัวตลอดเวลา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นกัน
1
นับตั้งแต่การถูกกระแส Digital Disruption ผู้ประกอบการโลจิสติกส์มีการปรับตัวนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ในการขับเคลื่อนธุรกิจ วิเคราะห์ข้อบกพร่อง และนำข้อมูลที่มีประโยชน์ จำนวนมากไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อการบริหารลดต้นทุนการขนส่ง ส่งผลให้ราคาค่าขนส่งถูกลง การทำให้สินค้าสามารถส่งไปถึงมือผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ถูกต้องและดีที่สุด
หลายเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ ตั้งแต่การทำข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Standardization and Predictive Analytics Platform) การบริหารจัดการ สินค้า การติดตามการขนส่งสามารถรู้ว่าสินค้าอยู่ ณ ที่ใด การปรับระบบคลังสินค้าให้มี multi-functions มากขึ้นสามารถเป็นทั้งพื้นที่จัดเก็บสินค้า พื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า รวมถึงเป็นศูนย์กระจายสินค้า การนำหุ่นยนต์ แขนกล ปัญญาประดิษฐ์เข้ามาใช้ในงานโลจิสติกส์ด้วย ซึ่งเหล่านี้เป็นการลงทุนที่สูงมาก
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ยังต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานคุณภาพ ที่ตรงกับสายงานโดยตรง ปัญหาสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้ประกอบการส่งออก เช่น มลภาวะในอากาศที่เกิดจากการขนส่ง การใช้พลังงานในกระบวนการผลิต หลายประเทศได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศแบบยั่งยืน (Sustainable international trade) เช่นการใช้ Eco Drive มาตรการลดคาร์บอนใน Reverse Logistics กระบวนการขนส่งสินค้าย้อนกลับเพื่อลดการใช้พลังงาน และ Transport Carbon Credit มาตรการลดคาร์บอนในภาคขนส่ง
2
ปัญหาสำคัญที่สุดในขณะนี้คือ ตู้สินค้าขาดแคลนและอัตราค่าระวางที่ทรงตัวในระดับสูง แต่ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ สามารถประเมินศักยภาพตัวเอง ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไรหากจะคงธุรกิจ สามารถพยากรณ์ได้ วางแผนได้ ว่าควรลงทุนอะไรก่อนหลัง แก้ปัญหาอะไรก่อนหลัง เพื่อเป็นประโยชน์แก่ธุรกิจ
1
แต่มีปัจจัยภายนอกที่ผู้ประกอบการโลจิสิตกส์ ควรต้องศึกษา และกำหนดยุทธศาสตร์ธุรกิจของตนเอง เพราะมันจะกระทบเศรษฐกิจ รวมทั้งการทำธุรกิจโลจิสติกส์ มากกว่า 60 ประเทศทั่วโลก
ในประเทศไทยมีผู้ประกอบการโลจิสติกส์ประมาณ 29,360 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2564) โดยแบ่งเป็น การขนส่งทางบกและระบบท่อลำเลียง 21,216 ราย (72.27%) ตัวแทนออกของ 4,093 ราย(13.94%) การบริหารจัดการเกี่ยวกับสินค้า 1,432 ราย (4.88%) คลังสินค้า 860 ราย (2.93%) การขนส่งทางน้ำ 721 ราย (2.46%) การขนถ่ายสินค้า 684 ราย (2.31%) การขนส่งทางอากาศ 209 ราย (0.72%) ตัวแทนผู้รับจัดการขนส่งสินค้าและอื่นๆ 145 ราย (0.49%) ซึ่งทั้งหมดจะได้รับผลกระทบทันที หากโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) ของจีนประสบความสำเร็จ คำตอบของอนาคตของธุรกิจโลจิสติกส์จะเปลี่ยนไป
2
เป็นที่รู้กันว่าการทำโลจิสติกส์จะมีอยู่ 3 ทางหลักใหญ่ ๆ คือ ทางอากาศ ทางเรือ ทางบก โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง มี 2 โครงการย่อย คือ โครงการวงแหวนเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบก Silk Road Economic Belt ซึ่งมีเส้นทางถนนและเส้นทางราง และโครงการ 21th Century Maritime Silk Road เส้นทางทะเล ทั้ง 2 โครงการจะทำให้เชื่อมจีนและยุโรปเข้าด้วยกัน ผ่านประเทศต่าง ๆ มากกว่า 60 ประเทศ
6
ตัวอย่าง โครงข่ายเส้นทางรถไฟจากการขนส่งทางรางของจีนจากทุกจุด เซินเจิ้น เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เทียนจิน ไปยังเอเชียกลาง เข้าไปยังตะวันออกกลาง และทะลุไปยุโรป ซึ่งไม่ได้หยุดอยู่แค่ยุโรป แต่ขึ้นไปถึงสแกนดิเนเวีย ในขณะที่ทางใต้วิ่งจากจีน ผ่านประเทศลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์
1
จีนสามารถขนส่ง สินค้าของตัวเองไปยังยุโรป ด้วยโครงสร้างพื้นฐานทางราง ใช้เวลาเพียง 15-18 วัน ค่าขนส่งตู้ละ 7,000 ดอลล่าร์ ซึ่งเดิมการเดินทางทางเรือต้องใช้ระยะเวลา ถึง 40 วัน ในการบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ 1 ตู้ ความยาว 40 ฟุต สามารถบรรจุสินค้าได้ 22,000 กิโลกรัม ค่าขนส่ง 4,000 ดอลล่าร์ เมื่อเทียบค่าขนส่งและระยะเวลาเดินทาง การขนส่งทางรางย่อมดีกว่าทางเรือ เพราะย่นระยะเวลาไปได้
1
ขณะที่การขนส่งทางรางจากไทย (ชายแดนหนองคาย) ไป ชายแดนประเทศจีน ใช้ระยะเวลา10 ชั่วโมง หากจะต่อไปคุนหมิง ใช้เวลาอีก 2 ชั่วโมง การขนส่งตลอดระยะเส้นทางสะดวก รวดเร็ว ยังไม่นับรวมการขนส่งสินค้าไทย ไปยังยุโรป เมื่อเส้นทางนี้เสร็จสมบูรณ์
3
นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางทางทะเลที่เชื่อมโยงมหาสมุทรต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 2 เส้นทาง คือ จากชายฝั่งตะวันออกของจีน ไป ทะเลจีนใต้ มหาสมุทรอินเดีย อ่าวเปอร์เซีย ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยุโรป และเส้นทางจากชายฝั่งตะวันออกของจีน ไปทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิคตอนใต้ ที่จะช่วยลดการจรจาจรที่แออัดจากช่องแคบ เช่น มะละกา ทำให้ระยะเวลาในการขนส่งใช้เวลาน้อยลง
2
ผู้ประกอบโลจิสติกส์ไทยควรต้องศึกษา วางแผน และเตรียมความพร้อม ในการใช้โครงสร้างพื้นฐานเส้นทางใหม่ รวมทั้ง การพัฒนาคลังสินค้า เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
ติดตามสตอรี่ดี ๆ จาก The Story Thailand ได้ตามช่องทางเหล่านี้
#TheStoryThailand #เดอะสตอรี่ไทยแลนด์ #สตอรี่ดีๆ
โฆษณา