22 ก.ย. 2021 เวลา 16:36
🏆92/100
🏅🎖เล่าเรื่องเทคโนโลยีหรือการค้นพบเด็ดๆที่เกี่ยวข้องกับ #1, #2, #3 (อาจจะเป็นอันเดียวกันหรือคนละอันก็ได้) อธิบายคร่าวๆว่าทำไมเลือกเทคโนโลยีหรือการค้นพบอันนี้
🧑‍🔬#1 นักวิจัย
- การฉีดวัคซีนชนิด mRNA ของบริษัท BioNTech SE ครบโดสแล้วนั้นสูงกว่าระดับแอนติบอดีที่สังเกตพบในผู้รับวัคซีนชนิดเชื้อตายของบริษัท Sinovac Biotech Ltd ถึง 10 เท่า
ผลการวิจัยดังกล่าวนับเป็นหลักฐานล่าสุดที่แสดงให้เห็นถึงความเหนือกว่าของวัคซีน mRNA ในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม เมื่อเทียบกับวัคซีนที่พัฒนาขึ้นโดยวิธีการแบบดั้งเดิม เช่น วัคซีนเชื้อตาย
ประเทศต่างๆ ตั้งแต่อิสราเอลไปจนถึงสหรัฐฯ ที่ใช้วัคซีน mRNA ส่วนใหญ่จาก Pfizer Inc. ซึ่งพัฒนาร่วมกับบริษัท BioNTech ของเยอรมนี รวมถึงวัคซีนของบริษัท Moderna Inc. พบว่า การติดเชื้อในประเทศเหล่านั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่การฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตายส่วนใหญ่จาก Sinovac และ Sinopharm ของจีนนั้น ไม่ได้ลดจำนวนผู้ติดเชื้อได้มากเท่า อย่างไรก็ดี การฉีดวัคซีนทั้งสองประเภทจะช่วยป้องกันอาการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ
ประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าของวัคซีนเชื้อตายได้ผลักดันให้ประเทศต่างๆ ตั้งแต่ประเทศไทยไปถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เสนอให้มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้แก่ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เนื่องจากสายพันธุ์เดลตาที่แพร่ระบาด ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อในหลายประเทศกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีก
- เลือกอันนี้เพราะ เนื่องจากผลงานวิจัยที่มีประโยชน์เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการเลือกวัคซีนให้กับตัวเอง
📔#2 เรียนต่อปริญญาโท ( เรียนต่อสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ )
- การพัฒนาเทคนิคอณูชีววิทยาที่มีความจำเพาะและความไวในการตรวจเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร
การพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมไบโอรีไฟเนอรีตั้งแต่การปรับสภาพและแยกองค์ประกอบของวัสดุลิกโนเซลลูโลส ซึ่งเป็นจุดตั้งต้นสำหรับการเปลี่ยนชีวมวลลิกโนเซลลูโลสเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ การค้นหาเอนไซม์จากจุลินทรีย์ในคลังของไบโอเทคร่วมกับการใช้เทคโนโลยีเมตาจีโนมิกที่พัฒนาขึ้นเพื่อเข้าถึงแหล่งทรัพยากรจุลินทรีย์ที่เพาะเลี้ยงไม่ได้ในห้องปฏิบัติการ (uncultured microbes) เพื่อค้นหายีนเป้าหมายและจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยชีวมวลลิกโนเซลลูโลส ซึ่งช่วยสร้างความเข้าใจเชิงลึกต่อกลไกการทำงานของจุลินทรีย์และเอนไซม์ในกระบวนการชีวเคมีในการย่อยชีวมวลลิกโนเซลลูโลสในสิ่งแวดล้อม
- เลือกอันนี้เพราะ เป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์ ที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันของเราได้
📚#3 ไปเรียนต่อต่างประเทศ ( ที่ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ที่รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา )
- อนาคตของการปลูกพืชในอวกาศ ความมั่นคงด้านอาหารแห่งอนาคต
วันที่ 26 กันยายน 2019 การสร้างเนื้อก็ไม่ได้อยู่แค่บนโลกอีกต่อไป เมื่อคุณ Oleg Kononenko นักบินอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติได้ทำการ 3d print เนื้อเยื่อขึ้นมาจากเซลล์ของเนื้อวัวที่ส่งการทดลองไปโดยบริษัท Aleph Farms ที่เป็นหนึ่งในบริษัทใหญ่ด้านการสร้างเนื้อสังเคราะห์
นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยได้กำลังวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้และวิธีการปลูกพืชบนดาวอังคาร เราได้พบว่าดินบนดาวอังคารมีแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการปลูกพืช ถึงแม้จะต้องปรับปรุงเพื่ออยู่ในสภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช (และไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภคของมนุษย์) และจำเป็นต้องสร้างเรือนปลูกต้นไม้ในร่มเพื่อป้องกันต้นไม้จากสภาพอากาศแบบสุดขั้วของดาวอังคาร, แก๊สในบรรยากาศ ต้องดีลกับสภาพแสงที่เข้มน้อยกว่าบนโลกและพายุฝุ่นที่จะมาบดบังแสง
- เลือกอันนี้เพราะ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ในการผลิตเทคโนโลยีที่สามารถปลูกพืชในอวกาศได้
⏳✍🏻 43 นาที
โฆษณา