23 ก.ย. 2021 เวลา 05:16 • ท่องเที่ยว
9 Temple in Khonkaen (ep.1)
วัดเจติยภูมิ (วัดพระธาตุขามแก่น)
พระธาตูขามแก่น เดิมเรียกพระธาตุบ้านขาม ไม่มีประวัติหรือจารึกระบุการสร้าง ต่อมาพระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นได้มีโอกาสไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ จึงดำริว่าจังหวัดขอนแก่นควรมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดบ้าง จึงได้สืบเสาะจนพบพระธาตุบ้านขาม ที่บ้านขามธาตุใหญ่ และได้สืบเสาะประวัติความเป็นมาก็ไม่พบ จึงให้ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าประวัติแล้วเรียบเรียงใหม่ มีหลายสำนวน ตำนานพระธาตุขามแก่นปัจจุบันเป็นสำนวนของนายสมควร พละกล้า เรียบเรียง เพราะคณะกรรมการตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ พ.ศ. 2498 - 2499 พระราชสารธรรมมุนี
(กัณหา ปภสฺสโร) ได้ทำการบูรณะพระธาตุบ้านขาม เปลี่ยนยอดเดิมที่เป็นไม้เป็นฉัตรโลหะ และเปลี่ยนชื่อจากพระธาตุบ้านขามเป็นพระธาตุขามแก่น และวัดบ้านขามเป็นวัดเจติยภูมิ[1] และมีการรณรงค์ให้ชื่อเมืองขอนแก่นเพี้ยนมาจากเมืองขามแก่น ซึ่งจากการศึกษาเอกสารต่างๆ ของประมวล พิมพ์เสน ไม่เคยมีคำว่าเมืองขามแก่น มีเพียงชื่อเมืองขอรแก่น, ขรแก่น, ขรแกน, และขอนแก่น ดังนั้นชื่อเมืองขอนแก่นน่าจะเชื่อได้ว่าแต่แรกเริ่มชื่อเมืองขอนแก่นอยู่แล้ว ไม่ได้เพี้ยนมาจากขามแก่นแต่อย่างใด
ในประวัติศาสตร์ภาคอีสาน จากปูชนียสถานอันเก่าแก่นับพันปี สู่สัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดของขอนแก่น ที่ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวเมืองขอนแก่นมาช้านาน
ตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม ต.บ้านขาม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น เชื่อกันว่าบ้านขามเคยเป็นเมือง มาตั้งแต่สมัยโบราณประมาณ 2000 ปี ตั้งแต่ พ.ศ 500 ต่อมาเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ ชื่อ เพี้ยเมืองแพน (ปัจจุบันคือ จังหวัดร้อยเอ็ด) ได้มาตั้งเมืองขามแก่นที่ บ้านขาม ราวพุทธศตวรรษที่ 5 พระยาหลังเขียว หรือโมริยกษัตริย์ เจ้าเมืองโมรีย์ (เมืองโมรีย์อยู่ในอาณาเขตของประเทศกัมพูชา) ได้สร้าง พระธาตุขามแก่นขึ้น
มีเรื่องราวตำนานการสร้างพระธาตุขามแก่นอยู่หลายตำนาน ในตำนานหนึ่งกล่าวว่า โมริยกษัตริย์ มีความประสงค์ ที่จะนำพระอังคารของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ไว้เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าปรินิพพานใหม่ๆ มาบรรจุพระธาตุพนม จึงโปรดให้พระอรหันต์และพระเถระเจ้าคณะรวม 9 องค์นำขบวนอัญเชิญพระอังคารมาในครั้งนี้ เมื่อผ่านมาถึงดอนมะขามแห่งหนึ่งซึ่งมีต้นมะขามใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่น เนื่องจากเป็นเวลาพลบค่ำแล้วจึงหยุดพัก รุ่งเช้าเดินทางต่อไปถึงภูกำพร้า ปรากฏว่าพระธาตุพนมได้สร้างเสร็จแล้ว จึงเดินทางกลับและตั้งใจว่า จะนำพระอังคารธาตุกลับไปประดิษฐานไว้ที่บ้านเมืองของตน ขากลับผ่านดอนมะขามอีกครั้ง พบว่าแก่นมะขามที่ตายแล้วนั้นกลับยืนต้นแตกกิ่งก้านผลิใบเขียว
ชอุ่มเป็นที่น่าอัศจรรย์ จึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์ครอบต้นมะขามนี้ และนำพระอังคารธาตุและพระพุทธรูปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุ ให้นามว่า พระธาตุขามแก่น ส่วนพระอรหันต์ทั้ง 9 เมื่อดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วชาวเมืองได้เอาพระอัฐิธาตุ ของพระองค์ใส่ไว้ในพระธาตุองค์เล็ก โดยเรียกพระธาตุองค์ใหญ่ว่า “ครูบาทั้งเก้าเจ้ามหาธาตุ”
ส่วนพระธาตุองค์เล็กเรียกว่า “ครูบาทั้งแปด”
องค์พระธาตุขามแก่น มีลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสามเหลี่ยมทรงอีสาน องค์พระธาตุสูง 19 เมตร ฐานด้านทิศตะวันออกและตะวันตกกว้าง 10.90 เมตรเท่ากัน รอบองค์พระธาตุมีกำแพงแก้วล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน สูง 1.20 เมตร กำแพงแก้วห่างจากองค์พระธาตุโดยเฉลี่ย 2.30 เมตร ทุกด้านมีประตูเข้าออก ด้านทิศเหนือ 2 ช่อง และทิศใต้ 2 ช่อง กว้างช่องละ 1 เมตร พระธาตุขามแก่นเป็นโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดขอนแก่น ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 จะมีงานฉลองและนมัสการพระธาตุเป็นประจำ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา