24 ก.ย. 2021 เวลา 22:42 • การศึกษา
⚒⚙⚒ทำไมเรียนวิศวกรรมศาสตร์ในเยอรมนี แต่จบมาแล้วสถาบันอุดมศึกษาบางที่ให้วุฒิ B.Sc( Bachelor of Sceince )และทำไมบางที่ถึงให้วุฒิ B.Eng (Bachelor of Engineering)
หลายคนที่เข้าไปดูเยี่ยมชมหน้าเว็บของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆในเยอรมันที่ชื่นชอบ พอเห็นวุฒิช้อเรียกปริญญาาบัตรที่ได้รับหลังเรียนจบ เปลี่ยนใจไม่ไปเรียนแล้ว เรียนวิศวะแต่กลับได้วุฒิวิทยาศาสตร์มาแทน โดยไม่ได้ดูลึกไปถึงข้อมูลด้านในว่ามันเป็นเพราะอะไรนะ อาจพลาดไปอย่างน่าเสียดาย วันนี้จะมาไขปัญหานี้กันค่ะ และเรียนจบกลับบ้านมามันจะหางานทำในสาขาวิศวะได้ไม๊นะ
เมื่อสามปีก่อนเคยสงสัยเรื่องนี้เหมือนกัน ก่อนหน้าที่ลูกชายจะยื่นเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย TU Berlin และดูข้อมูลในกลุ่ม TU ก็จะมีหลายสาขาเรียนวิศวกรรมศาสตร์แต่ได้วุฒิ B.Sc จึงไปค้นหาข้อมูล แต่ละข้อมูลให้คำตอบแตกต่างกันออกไป หนักสุดคือคำตอบ "ก็ประเทศเขาเป็นแบบนี" 🙉🙉ต้องใส่ 555🙉🙉 รวมๆแล้วเขาให้ใช้วิธีดูmodule การเรียนค่ะ moduleในสาขานั้นๆที่เราสนใจ เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มFHกับกลุ่ม TUและUniversity แทนที่เราจะใช้วิธีการดูวุฒิที่ได้หลังเรียนจบเพียงอย่างเดียว
🇩🇪🇩🇪🇩🇪อย่างแรกเลยเราต้องเข้าใจก่อนว่า ในระดับอุดมศึกษาของเยอรมันนั้น  จะแบ่งประเภทสถาบันอุดมศึกษาประเภทต่างๆดังนี้
 
🏫🏫University  (universtät)หรือ มหาวิทยาลัยทั่วไป ที่เน้นการเรียนการสอน
ทางด้านทฤษฏี เน้นการทำวิจัย ในหลักสูตรทางด้าน แพทยศาสตร์, นิติศาสตร์, มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
🏬🏬 Fachhochschule หรือ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า University of Apply Science เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นในทางปฎิบัติมากกว่าทางทฤษฏี หรือเรียกว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์ โดยจะสอนเพื่อนำองค์ความรู้ไปใช้ในอุตสาหกรรม มากกว่าการทำวิจัยในประเภทแรก
🎢🎢มหาวิทยาลัยเทคนิค (Technical Universities) เดิมจะเปิดเฉพาะด้านวิศวกรรม แต่ต่อมาได้เปิดสาขาอื่นๆด้วย  เน้นการทำวิจัยหนักไปทางวิศวกรรมศาสตร์ไม่หลากหลายส่ขาแบบuniverstät มหาวิทยาลัยที่ลูกชายเรียนก็จะเป็นมหาวิทยาลัยเทคนิคเช่นกันค่ะ TU Berlin
 
 Paedagogische Hochschule หรือ วิทยาลัยครู
 
 Kunsthochschule (Colleges of Art, Film and Music) หรือวิทยาลัยศิลปะ
ก่อนหน้าที่จะใช้Bologna Progress การแบ่งประเภทของสถาบันอุดมศึกษาในเยอรมันที่หลากหลาย ไม่เหมือนชาวบ้านในยุโรปด้วยกัน มันจึงทำให้หลังจากมี Bologna Progree การจะมอบวุฒิปริญญาจึงต้องพิจารณาดูจากประเภทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆร่วมด้วย (ก็ประเทศเขาจัดการแบ่งแบบนี้ ) ส่วนวุฒิปริญญา หรือหลักสูตรหลังมาใช้ Bologna Progress ร่วมกันทั่วยุโรปแล้ว จึงมาแบ่งวุฒิปริญญา ตามระดับได้ดังนี้
Diplom : หลักสูตรที่เรียนปริญญาตรีควบโท ( Bachelor +Master) ระยะเวลาหลักสูตร 5 ปี (ก่อนหน้าจะมีBologna Progress ปี2553 เยอรมนีให้ปริญญาเป็น Diplom ปัจจุบันยังมีบางที่ใช้อยู่)
Bachelor : หลักสูตรปริญญาตรี ระยะเวลาหลักสูตร 3 -4 ปี
Master : หลักสูตรปริญญาโท  ระยะเวลาหลักสูตร 2 ปี
Ph.D. : หลักสูตรด๊อกเตอร์ ระยะเวลาหลักสูตร ไม่มีกำหนดส่วนใหญ่จะเรียนกันที่ 4-6 ปี จะสามารถจ่อ Ph.D.ได้ก็แต่เฉพาะมาจาก University กับกลุ่ม TUเท่านั้น ถ้ามาจาก FH ไม่สามารถทำ Ph.D.ต่อได้
1
ที่เล่ามาข้างต้น ก็เป็นข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับระบบการศึกษาในเยอรมนีค่ะ
😇😇ถ้าเข้าไปสังเกตดู moduleการเรียนทางสายวิศวกรรมศาสตร์ ในกลุ่มของ TU และ University เมื่อจบระดับป.ตรีจะได้รับ ECTS น้อยกว่ากลุ่ม FH
กลุ่ม FHจะได้รับ ECTS ประมาณ 220-240 credit แต่กลุ่ม Universityและ TU จะได้รับประมาณ 180 -210 credit (ไทยประมาณ 140-150)
1
👉👉ECTSคืออะไร
ECTS (European Credit Transfer and Accumulation System) เป็นวิธีมาตรฐานในการเปรียบเทียบหน่วยกิตทางการศึกษา นั่นคือ
“ ปริมาณการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้และรวมกับภาระงานที่เกี่ยวข้อง” สำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสหภาพยุโรป และประเทศอื่น ๆ ในยุโรปที่ร่วมมือกัน
ECTS Credits คำนวณมาจากจำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหลักสูตรของการศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรี
โดยการคำนวณตัวเลขที่จะมาหารกับจำนวนชั่วโมงแล้วได้เป็น ECT Credits นั้น ขึ้นอยู่กับประเทศและมหาวิทยาลัยที่จบมา (จบป.ตรีจากไทยเมื่อไปต่อในประเทศเยอรมนีและทางยุโรปจึงมักจะมีปัญหา เพราะป.ตรีสายวิศวะจากไทย มีECTS เพียง 140 credit น้อยกว่าเยอรมันและบางสาขาไม่มีการทำ thesisก่อนจบ ซึ่งต่างจากเยอรมันจะจบได้ต้องทำ thesisเฉพาะบุคคล)
🌏🌏🌏จากที่เล่ามายืดยาวทั้งเรื่องประเภทของ สถาบันอุดมศึกษาและจำนวนเครดิตที่ได้รับหลังเรียนจบ แสดงให้เห็นว่า สายวิศวกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยประเภท FH เน้นเรียนและปฎิบัติงานพร้อมๆกัน ไม่เน้นให้ต้องไปต่อยอดงานวิจัยในระดับป.โทและนำความคิดไปสังเคราะห์ต่อในระดับ Ph.D. จึงเรียนในระดับ ป.ตรีในสาขานั้นๆแบบตรงทางเจาะลึกไปเลยคือตามชื่อ Applied Sceince คือประยุกต์มาให้เรียบร้อยแล้ว(ประโยคนี้คิดเอง) จำนวนชม.เรียน จำนวนชม.ฝึกงานจึงมากกว่า ECTS ที่ได้มีจำนวนcredit ที่เยอะกว่า จึงได้ปริญญา B.Eng ตั้งแต่ป.ตรี
🌐🌐🌐ส่วนกลุ่มวิชาการเยอะแยะ แบบในกลุ่มของ TU และUniversity เน้นปูพื้นฐานในระดับป.ตรี ให้แน่นๆเพื่อให้ไปต่อยอดงานวิจัยในระดับป.โทและนำทฤษฎีต่างๆไปสังเคราะห์ในระดับป.เอกต่อไปอีกจึงได้วุฒิ B.Sc. เพื่อบ่งบอกว่า คุณได้เรียนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ มาแบบหนักหน่วงแล้วจริงๆ ขั้นตอนต่อไปก็ต้องไปเจาะลึกใน ป.โท ไปป.เอกต่อ
สรุปว่า มันเป็นหน้าที่ที่ผู้จะเรียนต้องเลือกเองค่ะ ว่าจะชอบแบบไหนจะไปทางไหน จึงมักบอกเสมอๆว่าให้ดูที่ module การเรียนในสาขานั้นๆที่สนใจ ว่าเขาสอนอะไร แล้วเราชอบหรือไม่ ทิ้งความคิดในรูปแบบการเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในไทยไปเลย มันต่างกันแบบสิ้นเชิง อย่าเลือกเพราะมหาวิทยาลัยนั้นติดWorld Ranking หรือเพราะชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแต่ให้เลือกวิชาและสาขาที่เราสนใจจริงๆและตัวเราอยากเดินไปทางไหนมากกว่าค่ะ
ได้ถามคำถามทิ้งไว้ในQuora เมื่อสองวันที่ผ่านมาว่า "ทำไม๊ทำไมเรียนวิศวะในเยอรมันแต่ได้วุฒิB.Sc."มีอาจารย์ท่านนึงมาตอบให้ดังนี้ค่ะ
It’s different letters in a title, that’s all. Some universities might give BSc. diplomas for engineering programs (usually if they are more research oriented), while most will give B.Eng. titles.
It won’t make any difference to employers, who will be more interested in your skills, your thesis and your internships than in the official title.
It also won’t make any difference for universities if you want to enter a master’s program. They will check how many credits you have in the relevant classes but not for the letters in your diploma’s title.
There are good chances that with a B.Eng in materials engineering you can get accepted to a M.Sc in physics, but hardly a chance to get into M.Eng in materials engineering with a B.Eng in software engineering.
หมายเหตุ 🌏🌏Quora เป็นแพลตฟอร์ม Q&A ที่เปิดให้เราตั้งคำถาม รวมถึงตอบคำถามที่เราอยากตอบ ไอเดียนี้เกิดมาจากอดีตพนักงานบริษัท Facebook คือ คุณ Adam D'Angelo อดีต CTO. ... Quora จึงถูกสร้างให้เป็นแหล่งการค้นหาข้อมูลทางเลือกที่เน้นเนื้อหาเชิงวิชาการ และมีคุณภาพเป็นจุดเริ่มต้น
The difference between B.Sc. and B.Eng. will be not between theory and practical lessons, but in the material - a B.Eng. in that areay will usually be a lot more hardware-centric, i.e. focus on embedded systems.
The theory/practice split in Germany is between different institutions - traditionally, anything called "University" will have mostly theoretical curriculums since they still stick to the ideal that their primary task is research and teaching future researchers - not to prepare people for industry jobs. Therefore, they generally don't offer many practical lessons and expect students to pick up practical skills by themselves.
There are still some hands-on lessons and working in the industry for a semester is often required but don't expect to find "Introduction to Java" or "Oracle DB administration" courses as part of the main curriculum.
On the other hand, a "Hochschule" or "Fachhochschule" is much more practice-oriented and does have preparing people for industry jobs as its main goal.
🖕🖕อีกหนึ่งคำตอบที่มีคนมาตอบใน quora
ปี ค.ศ. 2010 หลังจากที่มีปรับเปลี่ยนระบบการศึกษาตามข้อตกลงการปรับวุฒิการศึกษาของมหาวิทยาลัยในยุโรปให้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมดตาม Bologna Process มหาวิทยาลัยในเยอรมันจึงมีการมอบวุฒิการศึกษาแบบสากลในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท ในหลาย ๆ หลักสูตร
Bachelor of Engineering (B.Eng)
"Engineering" - the engineering is already in the graduation. The B.Eng. is a typical qualification designation for a first professional qualification in a technical subject. Its acquisition qualifies you for direct entry into the job market, but also entitles you to take up a postgraduate master’s degree.
By the way, abroad the Bachelor of Engineering is sometimes called a Bachelor of Science of Engineering or Bachelor of Business Engineering- but there are no differences.
Bachelor of Science (B.Sc.)
Why are there so many technical courses that end with a Bachelor of Science instead of a Bachelor of Engineering? Well, that's simply becaus in Germany there is no concrete way of completing an engineering degree. That is why some end up with a B.Sc. But don't worry! You will still become an engineer!
Danger! Not all Bachelor of Science courses are necessarily engineering! But many engineering subjects end with a Bachelor of Science.
ชอบ 2คอลัมน์ท้ายนี้ค่ะเลยมีภาษาไทยหน่อย วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. )
เหตุใดจึงมีหลักสูตรทางเทคนิคจำนวนมากที่จบด้วยวิทยาศาสตรบัณฑิตแทนที่จะเป็นวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต? นั่นเป็นเพียงเพราะที่นี่ในเยอรมนีไม่มีวิธีที่เป็นรูปธรรมในการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิศวกรรม นั่นคือเหตุผลที่บางคนจบด้วย วท.บ. แต่ไม่ต้องกังวล! คุณยังจะได้เป็นวิศวกร!
คำเตือน! หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตบางหลักสูตรไม่จำเป็นต้องเป็นวิศวกรรมศาสตร์! แต่สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์หลายคนจบวิทยาศาสตร์บัณฑิต
🤔🤔🤔อาจจะยังมีคำถามคาใจพ่อๆแม่ๆหลายท่านอีกว่า ในไทยเรียนวิศวะต้องได้ปริญญาตรีวิศวะ จึงกลัวว่ามันจะมีปัญหาไม๊ ถ้าไปจบได้วุฒิ B.Sc. สายวิศวะจากเยอรมันกลับมา ถ้าให้ไขข้อข้องใจปัญหานี้ ขอตอบว่าชื่อของวุฒิปริญญา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอามาใช้ทำอะไรมากกว่า ความสำคัญน่าจะอยู่ที่ ได้เรียนวิชาอะไรมาบ้าง
😀😀 เรื่องนี้คงแล้วแต่เลือกนะคะ คงไม่มีความคิดไหนใช่ถูกต้องหรือไม่ใช่ ไม่ถูกต้อง น่าจะดีที่เขามีทางเลือกให้เรียนตั้งหลายทางเยอะแยะ แต่ที่น่ากังวลกมากว่าคือจบป.ตรีวิศวะจากไทย ไปต่อโทที่เยอรมันมักจะมีปัญหา Credit ที่เทียบกันไม่ค่อยได้ ของไทยน้อยกว่าของเยอรมันหลายเครดิตทีเดียว ลองไปหาข้อมูลกันดูนะคะ
มาแปะ linkของ คณะ วิศวกรรมศาสตร์สาขานึงของApplied Sceince ลองดูmoduleการเรียนและไปลองเปรียบเทียบสาขายี้หรือใกล้เคียงกับสถาบันในแบบUniversityและTU รวมถึงของไทยดูนะคะ ว่ามันต่างกันตรงไหนบ้าง
สรุป...ใครอยากได้ B.Engหรือ B.Sc. ก็เลือกประเภทของสถาบันอุดมศึกษาและสาขาวิชาที่จะเรียนให้ดีๆนะคะ ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญค่ะ อย่ามองเพียงเผินๆ เยอรมันก็มันส์ได้ทุกวันจริงๆ😛😛😛
สุดท้ายจริงๆได้ชื่อปริญญา B.Engจากไทยอาจไปต่อโทที่เยอรมันยากหน่อย ก็มันคนละประเทศอย่าไปเปรียบเทียบกันเลยนะคะ ฝากไว้ให้หาข้อมูลค่ะ
โฆษณา