Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bumrungrad International
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
25 ก.ย. 2021 เวลา 01:28 • สุขภาพ
การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมบริเวณคอ
3
อาการปวดบริเวณต้นคอเป็นปัญหาที่พบบ่อยในคนจำนวนมาก หากมีอาการปวดร้าวลงบริเวณไหล่หรือแขน หรือมีอาการอ่อนแรงและชาร่วมด้วยมักเกิดจากหมอนรองกระดูกยื่นพร้อมปุ่มกระดูกงอกกดทับเส้นประสาทไขสันหลังหรือทับรากประสาท หากรักษาด้วยวิธีดั้งเดิม เช่น การทำกายภาพบำบัด หรือการรับประทานยาแล้วไม่ได้ผล การผ่าตัดอาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วย เพื่อบรรเทาอาการปวดและผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรต่างๆ ได้ตามปกติโดยเร็ว
13
การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกบริเวณคอคืออะไร
การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูก คือ การที่นำหมอนรองกระดูกบริเวณส่วนคอ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดออก และนำหมอนรองกระดูกเทียมใส่เข้าไปแทนที่ นอกจากนี้ศัลยแพทย์สามารถตัดกระดูกส่วนที่งอกออกมา และขยายพื้นที่บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลังซึ่งจะช่วยลดการกดทับของเส้นประสาทและรากประสาท
โดยทั่วไปแล้วศัลยแพทย์จะใช้วิธีผ่าตัดที่ลำคอด้านหน้า เพื่อที่จะเข้าไปถึงกระดูกสันหลังส่วนคอได้ง่าย ซึ่งวิธีการเปิดแผลผ่าตัดแบบนี้จะคล้ายกับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกสันหลังและการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง
หมอนรองกระดูกเทียมแบบใหม่ถูกพัฒนาขึ้นให้ทำหน้าที่ได้เสมือนกับหมอนรองกระดูกตามธรรมชาติของผู้ป่วย คือสามารถคงการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวปกติ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นกันชนระหว่างข้อกระดูกสันหลังสองข้อ เพราะการทำหน้าที่เสมือนหมอนรองกระดูกตามธรรมชาตินี้เองจึงทำให้หมอนรองกระดูกเทียมชนิดใหม่ช่วยลดโอกาสหมอนรองกระดูก ข้อกระดูกด้านบนและด้านล่างของตำแหน่งผ่าตัดเสื่อม
1
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมบริเวณคอเป็นการผ่าตัดที่ค่อนข้างใหม่ และยังคงมีกระบวนการทดลองทางคลินิกเพื่อติดตามและพิจารณาว่ามีข้อดี และ/หรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว
แต่จากหลักฐานในขณะนี้แสดงให้เห็นว่า การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมบริเวณคอได้ผลดีในแง่ของการรักษาอาการและอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดเทียบเท่ากับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกกับเชื่อมกระดูกคอซึ่งเป็นวิธีการผ่าตัดตามมาตรฐาน
ใครเหมาะสมที่จะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูก
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทบริเวณคออาจไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเสมอไป แต่จะพิจารณาการผ่าตัดเมื่อผู้ป่วยมีอาการปวดคอรุนแรงหรืออาการชา และ/หรือมีอาการอ่อนแรงอย่างชัดเจน ผู้ป่วยหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทบริเวณคอควรจะต้องได้รับการรักษาแบบดั้งเดิมก่อน เช่น การรับประทานยาแก้อักเสบ การทำกายภาพบำบัด การฉีดยาสเตียรอยด์บริเวณกระดูกสันหลัง และการรักษาอื่นๆ ที่ไม่ใช่การผ่าตัดอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ แต่หากอาการยังไม่ทุเลาควรพิจารณาด้วยการผ่าตัด
https://www.bumrungrad.com/th/treatments/artificial-cervical-disc-replacement
การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังและการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูก
การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังได้รับการยอมรับมายาวนานว่าเป็นวิธีการผ่าตัดมาตรฐานสำหรับผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทบริเวณคอ การผ่าตัดนี้เป็นการนำหมอนรองกระดูกที่มีปัญหาและทำให้เกิดอาการปวดออก แล้วจึงเชื่อมข้อกระดูกสันหลังทั้งสองที่อยู่ติดกันด้วยแผ่นโลหะ
การผ่าตัดชนิดนี้เป็นการผ่าตัดที่สามารถรักษาอาการปวดได้ดีเยี่ยม อย่างไรก็ตามปัญหาหลักของการผ่าตัดชนิดนี้คือความสามารถในการเคลื่อนไหวของคอจะลดลง นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ว่าหมอนรองกระดูกในระดับที่อยู่สูงกว่าหรือต่ำกว่าตำแหน่งที่เชื่อมนั้นจะเกิดปัญหา และอาจต้องได้รับการรักษาหรือรับการผ่าตัดในอนาคต การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมบริเวณคอถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ หมอนรองกระดูกเทียมสามารถรับแรงกระแทกได้ดีและยังคงไว้ซึ่งการเคลื่อนไหวของคอ ตามหลักการนี้การเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมจึงช่วยลดความเสียหายต่อข้อกระดูกสันหลังที่อยู่ติดกัน จึงลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในหมอนรองกระดูกระดับอื่นๆ
1
ในอนาคตการผ่าตัดชนิดนี้ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นสั้นกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องรอให้กระดูกเชื่อมติดกันซึ่งอาจใช้เวลา 3 เดือนถึง 1 ปี เพื่อให้กระดูกติดกันอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ถ้าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมบริเวณคอแล้ว ผู้ป่วยสามารถผ่าตัดเอาหมอนรองกระดูกเทียมออกและเชื่อมกระดูกสันหลังที่อยู่ติดกันเข้าด้วยกันได้ในภายหลัง ในทางตรงกันข้าม ถ้าผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกและเชื่อมข้อแล้วจะไม่สามารถผ่าตัดใส่หมอนรองกระดูกเทียมได้
การพักฟื้นหลังจากผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูก
ระยะเวลาการฟื้นตัวหลังจากผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกเทียมค่อนข้างรวดเร็ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถยืนและเดินภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากผ่าตัด และสามารถกลับบ้านในวันผ่าตัดหรือในตอนเช้าของวันต่อมา อาจมีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ บ้างในระยะเวลาสั้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนมากสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเจ็บเล็กน้อยบริเวณแผลผ่าตัด แต่เมื่อผ่านไปสักระยะอาการเจ็บจะบรรเทาลงเรื่อยๆ
1
bumrungrad
spine
5 บันทึก
9
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
โรคกระดูกสันหลัง
5
9
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย