25 ก.ย. 2021 เวลา 20:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การวางยุทธศาสตร์เมืองแห่งการเดินที่น่าอยู่ของประเทศสิงคโปร์ (A more walkable city with people at the centre of its design is a key part of our plans to make Singapore more liveable)
1
การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ Mixed-land Use เพื่อส่งเสริมเมืองแห่งการเดิน (One-North Project) ภาพจาก The Land Transport Authority (LTA) and Urban Redevelopment Authority (URA)
สิงคโปร์ถือว่าเป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการเมืองที่ดีมีการวางยุทธศาสตร์เมืองที่มีความก้าวหน้าทันสมัยรวมถึงการสร้างวิสัยทัศน์และนโยบายที่ได้วางแผนไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของแผนโดยหน่วยงานพัฒนาเมืองที่สำคัญของสิงคโปร์ คือ กระทรวงการพัฒนาแห่งชาติ (Ministry of National Development) (MND) เป็นกระทรวงที่สำคัญของรัฐบาลในการรับผิดชอบต่อการใช้ที่ดินระดับชาติและการวางแผนพัฒนาวิสัยทัศน์ของประเทศสิงคโปร์ MND มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีคุณภาพและการสร้างชุมชนที่ยั่งยืนให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยมีหน่วยงานในสังกัด คือ องค์กรพัฒนาเมืองสิงคโปร์ (The Urban Redevelopment Authority : URA) เพื่อดูแลแผนด้านการพัฒนากายภาพเมืองทั้งหมด
จากแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2013 สิงคโปร์ได้วางแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนสร้างทางเลือกที่มีความหลากหลายของที่อยู่อาศัยทุกกลุ่มอายุรวมถึงการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สีเขียวโดยรอบที่อยู่อาศัยให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนที่อาศัย การเชื่อมต่อด้านกิจกรรมสันทนาการ การส่งเสริมแหล่งงานใกล้บ้านมากขึ้นในทุกพื้นที่ของเกาะเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและภาระในชีวิตประจำวัน
ผังแม่บท One-Northโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อส่งเสริมเมืองแห่งการเดินภาพจาก The Land Transport Authority (LTA) and Urban Redevelopment Authority (URA)
สำหรับยุทธศาสตร์เมืองของสิงคโปร์ ในปี 2014 ที่ผ่านมานั้น ผังแม่บทเมือง (Master Plan 2014) ได้กำหนดไว้จำนวน 7 ข้อ กำกับดูแลโดยองค์กรพัฒนาเมืองสิงคโปร์ (URA) ซึ่งแต่ละข้อจะเห็นได้ว่าเป็นการวางยุทธศาสตร์เมืองที่เป็นการพัฒนาด้านกายภาพโดยตรงโดยยุทธศาสตร์ได้ระบุลงในพื้นที่ในย่านการพัฒนาว่าอยู่บริเวณใดควรเพิ่มหรือลดอะไรบ้าง การส่งเสริมการค้าประเภทไหน ในพื้นที่แห่งใด จะเห็นได้ว่าผู้นำการพัฒนาเมืองมีความเข้าใจภาพรวมของงานผังเมืองทั้งหมดว่ามีผลต่อการพัฒนาประเทศชาติอย่างไรช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างไร และช่วยทำให้เมืองน่าอยู่ได้อย่างไรบ้าง
การส่งเสริมมาตรฐานทางเดินเท้าที่มีคุณภาพในโครงการ ระยะขั้นต่ำ 2.5 - 3.5 เมตร ภาพจาก The Land Transport Authority (LTA) and Urban Redevelopment Authority (URA)
หากมองกลับไปที่ผังแม่บทของหน่วยงานพัฒนาเมืองสิงคโปร์ ในปี 2014ซึ่งได้ประกาศเป็นยุทธศาสตร์การปรับปรุงฟื้นฟูเมืองโดยมุ่งเน้นการให้ความสำคัญไปที่การสร้างเมืองสำหรับทุกเพศทุกวัยเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อสุขภาพ การเชื่อมต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนที่อยู่อาศัยและการสร้างแหล่งงานที่มีคุณภาพใกล้บ้าน การย้อนกลับไปดูยุทธศาสตร์เมืองในปีก่อนทำให้ทราบแนวทางการพัฒนาซึ่งจะต้องทำการตรวจสอบแผนอีกครั้งและเตรียมประชาสัมพันธ์แผนในอนาคตเพื่อเข้าสู่การอภิปรายงบประมาณของหน่วยงานการพัฒนาเมืองที่จะเกิดขึ้นในรัฐสภาต่อไป
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์เมืองของประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2014 มี 7 ข้อหลัก ดังนี้
1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวของเมืองให้มากขึ้น และเพิ่มเติมที่อยู่อาศัยใน 3พื้นที่ ได้แก่ HollandVillage, Marina South,และ Kampong Bugis
2. การพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการระดับภูมิภาคและกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วทั้งเกาะ ใน Woodlands Regional Centers และการเพิ่มพื้นที่แหล่งงานที่มีคุณภาพใกล้บ้านมากขึ้น
3. ประมาณ 90% ของที่อยู่อาศัยโดยรอบ ในระยะ 400 เมตรต้องเป็นพื้นที่สวนสาธารณะ
4. เพิ่มการเติบโตของโครงข่ายทางจักรยาน จาก 230 กิโลเมตร ให้เพิ่มมากกว่า700 กิโลเมตร โดยการรองรับโครงสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการรวมถึงการจัดทำโปรแกรมการศึกษาออกแบบพื้นที่
5. การสร้างอัตลักษณ์ของจุดศูนย์รวมในพื้นที่ (Node) ได้แก่ ย่าน HollandVillage,ย่าน SerangoonGardenp ,ย่าน JalanKayu
6. การปรับปรุงย่านภายในเมือง ให้มีพื้นที่ว่างสาธารณะที่มีความงดงามและสร้างทางเดินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
7. สร้างการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องของพื้นที่ Marina Bay ด้วยการค้าปลีกสมัยใหม่และสร้างแหล่งบันเทิงภายในย่านในเป็นพื้นที่หลักบริเวณอ่าวด้านหน้า (Bay front)
การออกแบบ Lower Curbs เพื่อประสิทธิภาพของการเดินและการปั่นภายในย่านที่มีคุณภาพ ภาพจาก The Land Transport Authority (LTA) and Urban Redevelopment Authority (URA)
สำหรับอนาคตผังแม่บทการลงทุนของสิงคโปร์ในปี 2030 (The Singapore PropertyMaster Plan 2030) สิงคโปร์ได้ตั้งเป้าหมาย ภายใต้แนวคิดการพัฒนา 2030 : More Land, More homes, More Greenery ซึ่งถือเป็นจุดเน้นด้านการลงทุนในสิงคโปร์เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้ที่ดิน ที่อยู่อาศัย และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นแนวคิดหลักที่สิงคโปร์ทำมาโดยตลอดตั้งแต่แผนก่อนหน้านี้และยังทำอย่างต่อเนื่อง ได้แก่การส่งเสริมการเดินจากบ้านมายังสวนสาธารณะในระยะเวลา 10-15 นาทีจากบ้านมายังสถานีขนส่งมวลชน ระยะเวลาไม่เกิน 10 นาที เป็นต้นถือเป็นความก้าวหน้าด้านการออกแบบเมืองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้นโดยสร้างแรงจูงใจจากแผนการลงทุนที่ได้รับการวิเคราะห์ถึงศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของเมืองและกลุ่มนักลงทุน
การลดการเดินทางด้วยรถยนต์เพื่อการรักษาสภาวะโลกร้อนและลดการใช้พลังงานฟอสซิลภายในย่าน ภาพจาก The Land Transport Authority (LTA) and Urban Redevelopment Authority (URA)
การคำนึงถึงทิศทางลมแดด ฝนตามสภาพภูมิอากาศภายในโครงการ ภาพจาก The Land Transport Authority (LTA) and Urban Redevelopment Authority (URA)
การสร้างสภาวะน่าสบายโดยภาพรวมของโครงการ ภาพจาก The Land Transport Authority (LTA) and Urban Redevelopment Authority (URA)
บทสรุป : เพื่อการเขียนแผนยุทธศาสตร์ในการบริการจัดการเมืองด้านกายภาพ
การบริหารจัดการเมืองที่ดี ประกอบด้วยหลักสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ (Economic) ด้านสังคม (Social) และด้านกายภาพ (Physical & Environment) ทั้งสามด้านจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันการกำหนดวิสัยทัศน์ นโยบายและแผนพัฒนาเมืองจึงควรมีความสอดคล้องกันทั้งหมดโดยขั้นตอนสุดท้ายจะต้องนำไปสู่การพัฒนาเมืองในเชิงกายภาพที่เป็นรูปธรรมแผนพัฒนาเมืองจึงไม่ควรมุ่งเน้นการพัฒนาเฉพาะด้านใดด้านเดียวแต่ควรทำให้แผนและผังมีความสอดคล้องและสามารถนำไปสู่การต่อยอดทางความคิดได้โดยเฉพาะการนำไปสู่โครงการออกแบบชุมชนเมือง (Urban Design Project)
ประเทศสิงคโปร์จึงเป็นต้นแบบของเมืองที่รู้จักใช้ผังเมืองเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรกายภาพเป็นตัวนำในการส่งเสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เรามักพบว่าสิงคโปร์มีการปรับเปลี่ยนแผนและทบทวนยุทธศาสตร์เมืองอยู่เสมอเพื่อให้ทันต่อการพัฒนาเมืองตามบริบทของโลกและนวัตกรรมเมืองรวมถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจของตนเองเราจึงพบว่าทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาเมืองของประเทศสิงคโปร์คือวิชาชีพทางด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรมซึ่งถือว่าสิงคโปร์มีความโดดเด่นและได้รับการยอมรับบุคลากรด้านนี้ในระดับสากลส่งผลต่อการพัฒนาด้านกายภาพเมืองทั้งหมดของประเทศและเป็นดัชนีชี้วัดถึงการพัฒนาเมืองเทียบชั้นซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของประเทศที่พัฒนาแล้ว
บทความนี้จึงมีความมุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐ ได้เข้าใจถึงการเขียนแผนยุทธศาสตร์เมืองที่สัมพันธ์กับบริบทของการพัฒนาพื้นที่การเขียนยุทธศาสตร์เมืองที่ดีควรระบุเจาะจงถึงแนวคิดของการพัฒนาในเชิงกายภาพและบริเวณรวมถึงเป้าประสงค์ที่ต้องการให้บรรลุผลในอนาคตงานผังเมืองจึงเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับมิติด้านระยะเวลาและมีผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนผู้บริหารเมืองยุคใหม่ควรศึกษางานด้านการพัฒนาทางกายภาพและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้นวัตกรรมด้านผังเมืองสมัยใหม่เพื่อยกระดับและส่งเสริมเมืองให้มีคุณภาพสูงขึ้นซึ่งไม่ใช้ค่าครองชีพแต่เป็นคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง
แหล่งอ้างอิง
Ministry of National Development. (2015). Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved April, 12,2015, from https://www.facebook.com/MNDsingapore/photos/a.267436009951129.78750.219848181376579/1021852044509518/?type=1&pnref=story
Singapore Property. (2015). Basic APA format for citing print materialist media. Retrieved April, 22,2015, from //roomwithaircon.com/2014/12/singapore-property-the-singapore-property-master-plan-about-condo-landed-property-hdb-in-singapore/
โฆษณา