26 ก.ย. 2021 เวลา 05:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
โลกคู่ขนาน หลังโควิด-19
2 ปีที่ผ่านมา โควิด-19 เล่นงานโลกของเราอย่างสาหัส มันได้สร้างปัญหาในทุกแง่มุมของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ปัญหาบางอย่างเป็นปัญหาชั่วคราว ที่อาจถูกแก้ไขได้เมื่อโควิดจบลง แต่บางปัญหา ก็อาจจะเป็นปัญหาเรื้อรังที่โควิดได้ฝากเอาไว้ และมันอาจจะอยู่กับเราไปอีกยาวนาน หนึ่งในปัญหาเหล่านั้นที่ผมอยากพูดถึงในบทความนี้คือ “ความเหลื่อมล้ำ”
บทความนี้จะเล่าถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำ ในโลกหลังโควิด ผ่านมุมมองทางการเงินและเศรษฐศาสตร์เป็นหลักนะครับ ความเหลื่อมล้ำในโลกหลังโควิดทั้งในระดับบุคคล ระดับธุรกิจ และระดับประเทศ จะเป็นอย่างไร ผมจะเล่าให้ฟังภายใน 5 นาทีครับ
📌ความเหลื่อมล้ำระดับบุคคล
ในช่วงของการแพร่ระบาด แน่นอนว่าไวรัสนั้นไม่เลือกหน้า ไม่คุณจะเป็นคนรวยหรือจน คุณก็มีโอกาสติดเชื้อเท่าๆกัน ฟังดูแล้วก็เหมือนจะเป็นความเท่าเทียมที่เกิดขึ้น
แต่การใช้ชีวิตในการแพร่ระบาด สำหรับคนรวยกับคนจนนั้น มันแตกต่างกันราวกับโลกคู่ขนาน เมื่อรัฐบาลประกาศ Lockdown และสั่งงดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ คนที่ได้ร้บผลกระทบเยอะที่สุด ก็คือคนที่เปราะบางที่สุด คนรายได้น้อยหรือคนจน จำเป็นต้องใช้แรงเพื่อสร้างเงิน แต่ในเมื่อไม่มีงานให้ทำ รายได้จึงหดหาย เขาเหล่านั้นก็ไม่มี safety net อะไรมารองรับ และคงต้องใช้เวลาอีกยาวนานกว่าจะฟื้นตัวได้
2
ในขณะที่คนรวยมีวิธีสร้างเงินได้หลากหลาย ทั้งการใช้แรงสร้างเงิน (ทำงาน) กับใช้เงินสร้างเงิน (ลงทุน) โดยที่งานของคนรวยนั้นก็ไม่ได้หายไปไหน และตลาดเงินตลาดทุนก็ยังไปต่อได้ ดังนั้นผลกระทบจากโควิดจึงไม่ได้แย่มาก และใช้เวลาไม่นานก็สามารถฟื้นตัวได้
3
นอกจากนี้ หากมองในมุมการเงินการธนาคาร คนรวยยังมีอีกวิธีหนึ่งในการสร้างเงิน โดยการใช้เครดิต หรือการกู้เงินนั่นเอง ซึ่งคนจนนั้นแทบจะทำไม่ได้ หรืออาจต้องกู้ด้วยต้นทุน (ดอกเบี้ย) ที่สูงกว่ามาก
2
จะเห็นว่าคนรวยนั้นมีโอกาสมากกว่า มีช่องทางหาเงินมากกว่า ซึ่งเขาสามารถนำเงินไปต่อยอด สร้างโอกาสที่มากขึ้นต่อๆไปได้ ในขณะที่คนจนถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เมื่อโควิดจบลง รอยแยกของความเหลื่อมล้ำจะเด่นชัดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1
นี่คือผลของการที่สถาบันการเงินแบ่งแยกชนชั้น (Discriminate) ของคนอย่างชัดเจน ในโลกที่ financial inclusion ยังไม่ดีพอ
📌ความเหลื่อมล้ำระดับธุรกิจ
1
ในวิกฤตการแพร่ระบาดที่ทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก ธุรกิจมากมายต้องเผชิญกับการขาดรายได้ เมื่อไม่มีเงินเข้ามาในธุรกิจ เงินสดที่มีอยู่จึงเป็นเหมือนลมหายใจที่จะต่อชีวิตไปได้ ความสามารถในการหาเงิน หรือเข้าถึงแหล่งเงินจึงเป็นจุดชี้เป็นชี้ตาย
2
และเช่นเคยครับ บริษัทขนาดใหญ่นั้นมีช่องทางในการหาเงินได้หลากหลาย มีความพร้อมในการลงทุนเพื่อปรับตัว สามารถกู้ได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำ ในขณะที่ SME นั้นเข้าถึงเงินได้ลำบาก และต้นทุนสูงกว่ามาก จึงจำเป็นต้องทนเข้าเนื้อตัวเองไปเรื่อยๆ จนอาจต้องปิดกิจการไป หรือ อาจโดนกว้านซื้อกิจการจากรายใหญ่อีกด้วย
1
ในวิกฤตแบบนี้ ธุรกิจขนาดเล็กจะต้องเผชิญกับหายนะและต้องดิ้นรนเอาตัวรอด ในขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่มองเป็นโอกาสในการซื้อธุรกิจอื่นในราคาถูก และโอกาสในการช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาด
2
เมื่อโควิดจบลง จะมีธุรกิจเล็กๆมากมายที่ต้องหายไป โดยที่ธุรกิจขนาดใหญ่ก็จะยิ่งใหญ่ขึ้นไปอีก ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำภายในประเทศ (Inequality within county) ให้สาหัสยิ่งขึ้น
1
📌ความเหลื่อมล้ำระดับประเทศ
ถึงแม้โควิดจะทำร้ายเศรษฐกิจทุกประเทศในโลก แต่ผลกระทบของแต่ละประเทศก็ไม่เท่ากันครับ ในบริบทระดับประเทศนั้น การจะพยุงเศรษฐกิจให้ไปต่อได้ จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาอัดฉีดเข้าไปในระบบ การช่วยเหลือประชาชนในประเทศก็ต้องการเงินมาเยียวยามหาศาล ซึ่งแต่ละประเทศนั้นมีวิธีหาเงินต่างกันครับ
ประเทศใหญ่ๆ มีความน่าเชื่อถือ และธนาคารกลางสามารถพิมพ์เงินเองได้ อย่างเช่น สหรัฐ จีน ยุโรป นั้นหาเงินได้ง่ายมากครับ เพียงแค่พิมพ์ออกมาเฉยๆ เสกขึ้นมาจากอากาศได้โดยแทบไม่มีต้นทุนเลย
ส่วนประเทศกำลังพัฒนา หรือด้อยพัฒนา จำเป็นต้องกู้เงิน และก่อหนี้ไว้ให้ประชาชนในประเทศแบกรับต่อไปในอนาคต
นอกจากนี้ ในสถานการณ์วิกฤต ประเทศใหญ่จะค่อนข้างรัดเข็มขัด พยายามเอาตัวเองให้รอดก่อน ปริมาณเงินที่ไหลเข้ามาในประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนานั้นก็จะยิ่งน้อยลง ซึ่งอาจทำให้เงินในประเทศนั้นอ่อนค่า และส่งผลให้ปัญหาหนี้หนักหนาขึ้นไปอีก
จะเห็นว่าในระดับประเทศ ก็ยังมีประเทศที่มี privilege เหนือประเทศอื่น และประเทศเหล่านั้นก็จะฝ่าวิกฤตได้ง่ายกว่า ฟื้นตัวได้เร็วกว่า และทิ้งห่างประเทศที่ไม่มี privilege ไปไกลขึ้นกว่าเดิม สุดท้ายก็ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศ (Inequality between country) ยิ่งมากขึ้นเช่นกัน
3
📌K-shaped recovery
1
Cr. https://www.fundhouse.co.za/article/general/the-k-shaped-recovery/
ก่อนที่โลกจะรู้จักโควิด-19 ปัญหาความเหลื่อมล้ำนั้นก็เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในทุกประเทศทั่วโลกครับ ความเหลื่อมล้ำนั้นอาจมีหลายแงมุม ทั้งในเชิงรายได้ ทรัพย์สิน การศึกษา การเข้าถึงโอกาสทางสังคม แต่ความเหลื่อมล้ำในแต่ละด้านนั้นก็เกี่ยวเนื่องกันเป็นอย่างมาก ความเหลื่อมล้ำในด้านหนึ่งมักจะนำไปสู่ความเหลื่อมล้ำในอีกด้านหนึ่งเสมอ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเหลื่อมล้ำทางรายได้และทรัพย์สิน เป็นต้นเหตุที่สำคัญของความเหลื่อมล้ำในทุกด้าน และสถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้น ได้ขยายปัญหานี้ให้แย่ยิ่งขึ้นไปอีก
2
ในบริบทภายในประเทศ มันได้ถ่าง “ระดับคุณภาพชีวิต” ของคนรวยกับคนจนให้ต่างกันมากขึ้น ส่วนในบริบทระหว่างประเทศ มันทำให้ “การพัฒนาทางเศรษฐกิจ” ของประเทศรวยและประเทศจนแตกต่างยิ่งขึ้นเช่นกัน
1
การฟื้นตัวของผู้คน ธุรกิจ และประเทศ ในโลกหลังโควิด จะเป็นไปในรูปแบบ “K-shaped recovery” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ อาจจะอยู่กับเราไปอีกนาน และอาจเป็นระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ จนนำไปสู่วิกฤตทางสังคมได้ในอนาคต..
References
-Fareed Zakaria (2021) 10 lesson for a post-pandemic world
โฆษณา