26 ก.ย. 2021 เวลา 14:46 • หุ้น & เศรษฐกิจ
3 bucket strategy 🪣🪣🪣
ถังสามใบ เตรียมพร้อมชีวิตหลังเกษียณ
1
เราเคยคิดกันบ้างไหม ว่าหลังเกษียณแล้ว เราควรบริหารพอร์ตเราแบบไหนกัน แน่นอนว่ามันมีหลายวิธี แต่วันนี้เราจะยก concept “3 bucket strategy” หรือกลยุทธ์ถังสามใบ
👀เราจะแบ่งถังออกเป็น 3 ใบ คือ
🪣ถังที่1 จะเป็นถังเน้นสภาพคล่องและความเสี่ยงต่ำ
ผลตอบแทนคาดหวัง: 0-1%
สินทรัพย์ที่ลงทุน: เงินฝากธนาคาร หรือ กองทุนตลาดเงิน
หลักคิด: คิดเงินเดือนที่เราต้องการใช้ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 ปี เช่น ต้องการใช้เงินเดือนละ 30,000 บาทต่อปี ตอนเกษียณ นั่นหมายความว่จะต้องใช้ 360,000 บาทต่อปี (30,000x12) หรือ 720,000 บาทสำหรับ 2 ปี ซึ่งถังนี้ต้องมี เพื่อให้เพียงพอใช้สองปีแรกหลังเกษียณ
🪣 ถังที่ 2 จะเป็นถังที่สร้างกระแสเงินสด
ผลตอบแทนคาดหวัง: 2-4%
สินทรัพย์ที่ลงทุน: ลงทุนใน REIT กองทุนปันผล หรือ ประกันชีวิตแบบบำนาญ
หลักคิด: ต้องหาเงินเดือนที่เราต้องการใช้ในปีที่ 3 - 7 หรือรวมกัน 5 ปี สมมติยังใช้เท่าเดิมเดือนละ 30,000 บาท เหมือนตอนคิดถัง 1 ก็หลักคิดเดียวกันกับถัง 1 คือ 30,000x12x5 = 1,800,000 บาท ก็ถังนี้จะใช้สร้างกระแสเงินสด โดยดอกเบี้ยที่ได้ถังนี้คงประมาณ 36,000 บาท
🪣 ถังที่ 3 ความเสี่ยงสูง เน้นสร้างผลตอบแทนให้งอกเงย
ผลตอบแทนคาดหวัง: 7-10%
สินทรัพย์ที่ลงทุน: หุ้น กองทุนปันผล
หลักคิด: คิดเงินเดือนที่ใช้ทั้งปีมาก่อน ในกรณีเราใช้ 30,000 ต่อเดือน ก็ประมาณ 360,000 บาทต่อปี นำมาลบกับ ดอกเบี้ย/ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากถัง 2 หรือประมาณ 36,000 บาท ที่เราคิดกันมา ก็จะเป็น 360,000-36,000 บาท แล้วมา x100 จากนั้นมาหาร 7 เพื่อดูว่าเงินที่เราควรมีคือกี่บาท ในผลตอบแทน 7% เพื่อที่จะมาเติมถัง 2 ด้วย ได้เท่ากับ 4,628,571 บาท คิดมาจาก (360,000-36,000) x 100 / 7 (หรือหารอื่นก็ได้ตามผลตอบแทนที่คาดว่าจะทำได้)
🤔 จริงๆ แล้ววิธีคิดอีกอย่างคือ สมมติอายุ60 เกษียณ แล้วมีเงินเก็บ 10,000,000 ล้านบาท การที่เราคิดถัง 1-2 มาแล้ว เงินที่เหลือก็มาอยู่ถัง 3 ไปเลย
✍️หลักการคือเรามีเงินเพียงพอแล้วสองปีแรกจากถัง 1 ขณะที่ก็มีเงินพออีก5 ปี สำหรับถัง 2 โดยถัง 3 เป็นเพื่อทำเงินให้งอกเงย โดยถัง 2 จะมาเติมถัง 1 และถัง 3 จะมาเติม ถัง 2 และ 1 ได้ตามการ rebalance เมื่อเงินถัง1 หมด ก็มาเติมถัง1 ก่อนและเติมถัง 2 ให้เท่าเดิม เงินมันก็จะหมุนไปเรื่อย
ข้อเสียอย่างนึงของกลยุทธ์สามถังคือ เงินส่วนใหญ่จะหนักอยู่ที่ถัง 3 ซึ่งเป็นความเสี่ยงสูง ถือในพวกหุ้นเป็นหลัก เท่ากับว่าเรากำลังมีหุ้น 70% ถังที่ 2 เสี่ยงกลาง 25% และถังที่ 3 เทียบเท่าเงินสด 5% (สัดส่วนทั้งสามเป็นแบบคร่าวๆ) ซึ่งในความเป็นจริงเมื่อเราเกษียณแล้ว เราคงอยากปกป้องเงินเรามากขึ้น รับความเสี่ยงได้น้อยลง ฉะนั้น ถัง 2 อาจจะต้องเป็นถังที่มีสัดส่วนเยอะที่สุด อาจจะสูงถึง 50% และถังที่ 3 อาจจะมีเพียง 20-30% ที่เหลือก็จะเป็นถังที่ 1
ส่วนตัวคิดว่ากลยุทธ์สามถัง ไว้ใช้สำหรับคนที่มีเงินเก็บไม่เยอะมาก อาจจะไม่ได้เก็บมาเพียงพอจะใช้หลังเกษียณ ทำให้อาจจะต้องใช้วิธีนี้ เพื่อให้เงินมันเพียงพอมากกว่า
1
จริงๆ การคิดวางแผนลงทุนหรือใช้เงินหลังเกษียณควรเลือกแผนที่เหมาะกับตัวเราด้วยเหมือนกัน บางทีก็ไม่ได้มีสูตรสำเร็จสักทีเดียว ถ้าให้ง่ายคือเราควรคิดวางแผนเงินเก็บให้เพียงพอก่อน (รวมคิดเงินเฟ้อแล้วด้วยและสมมติฐานว่าจะลงทุนต่อ) แล้วก็ลงทุนต่อให้ได้สัก 5% ต่อปี มีถอนมาใช้ด้วย และยังชนะเงินเฟ้ออีก แค่นี้บางทีก็อาจจะเพียงพอแล้ว
โฆษณา