27 ก.ย. 2021 เวลา 04:06 • ประวัติศาสตร์
ตริภังค์ พระอิริยาบทยืนเอียงพระวรกาย
ตามพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า เป็นท่ายืนโดยเอียงสามส่วนคือ สะโพก ไหล่ และศรีษะ  เป็นการยืนเอียงพระวรกาย ที่พระบาททั้งสองข้างรับน้ำหนักของพระวรกายไม่เท่ากัน โดยทิ้งน้ำหนักลงที่ พระบาทข้างใดข้างหนึ่ง ซึ่งจะทำให้พระเศียร พระอังสา (ไหล่) และพระโสณี (สะโพก) เอียงทำมุมซึ่งกันและกันเพื่อให้เกิดความสมดุล  มักพบเสมอในงานศิลปกรรมของอินเดียโบราณที่สร้างขึ้นทั้งในพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ซึ่งแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒  ส่วนประติมากรรมที่สร้างขึ้นในประเทศไทยในช่วงเวลาหลังจากนั้นเล็กน้อยพบทั้งในพระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเช่นเดียวกัน  แต่ต่อมาความนิยมท่าตริภังค์ในศิลปะได้หมดไปในเวลาค่อนข้างเร็ว
พระพุทธรูปศิลปะทวารวดีที่อยู่ในอิริยาบถยืนตริภังค์ที่สมบูรณ์และมีขนาดใหญ่ สะท้อนความใกล้ชิดกับพระพุทธรูปศิลปะอินเดียแบบคุปตะ-หลังคุปตะ
พระพุทธรูปประทานพร
พระพุทธรูปจากวัดเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี องค์นี้ ถือว่าเป็นพระพุทธรูปศิลปะทวารวดีที่สมบูรณ์องค์หนึ่ง
พระพุทธรูปแสดงธรรม
โฆษณา