Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Wild Chronicles
•
ติดตาม
27 ก.ย. 2021 เวลา 09:51 • ประวัติศาสตร์
*** ศึกทะเลจีนใต้ ! สงครามเย็น 2.0 จีน-อเมริกา ***
ศึกทะเลจีนใต้! สงครามเย็น 2.0 จีน-อเมริกา
การก่อตั้ง “พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ AUKUS” เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กลายเป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายจับตามอง เนื่องจากอเมริกาได้ดึงมหามิตรเก่าแก่อย่างอังกฤษ และพันธมิตรประจำภูมิภาคอย่างออสเตรเลียเข้ามาคานอำนาจกับจีนโดยตรง
สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นความเคลื่อนไหวหนึ่งของความขัดแย้งที่กินเวลามาเนิ่นนาน ซึ่งทยอยความตึงเครียดขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีทีท่าจะผ่อนคลายลง โดยเฉพาะหลังสหรัฐถอนตัวออกจากอัฟกานิสถานเพื่อจัดกำลังรบใหม่ในทะเลจีนใต้ แสดงให้เห็นว่า… “ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก” กำลังจะกลายเป็นพื้นที่ขัดแย้งในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
บทความนี้จะพาท่านไปพบกับประวัติศาสตร์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ตลอดจนการพัฒนาการในห้วงเวลานับสิบปี พร้อมวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
*** จุดเริ่มต้นความขัดแย้ง ***
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้นั้น... เริ่มขึ้นเมื่อรัฐบาลจีนพยายามอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลี ด้วยการอ้าง “แผนที่เส้นประ 9 เส้น” ซึ่งถูกลดลงมาจาก “แผนที่เส้นประ 11 เส้น” ที่เขียนขึ้นโดยรัฐบาลจีนก๊กมินตั๋งในปี 1947 โดยระบุว่าแผนที่ของจีนล้อมกรอบทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด แต่ไม่มีการกำหนดพิกัดของเส้นประดังกล่าว
อย่างไรก็ตามจีนไม่ใช่ชาติเดียวที่พยายามอ้างสิทธิ์กรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่แห่งนี้ เพราะทั้งเวียดนาม, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, บรูไน, และไต้หวันเอง ต่างก็พยายามอ้างสิทธิ์ที่ตนเห็นว่าสมควรได้ครอบครองเช่นกัน เมื่อการแย่งชิงพื้นที่เริ่มเข้มข้นรัฐบาลจีนจึงขยายปฏิบัติการทางทหารเข้าสู่พื้นที่ความขัดแย้งด้วยการสร้างเกาะเทียมพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่ออ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ นอกจากนั้นยังมีการนำเรือจำนวนมากรุกเข้ามาในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (EEZ) ของฟิลิปปินส์ ที่สามารถตอบโต้ได้เพียงการใช้ข้อกฎหมายระหว่างประเทศผ่านศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ณ กรุงเฮกเมื่อวันที่ 22 มกราคม ปี 2013
ภาพแนบ: เรือ BRP Sierra Madre ของฟิลิปปินส์ซึ่งถูกนำมาทิ้งพร้อมนาวิกโยธินบนเรือเพื่อปกป้องน่านน้ำของฟิลิปปินส์
*** นโยบายปักหมุดเอเชีย ***
สหรัฐเห็นช่องทางที่จะกลับเข้ามาสร้างอิทธิพลในพื้นที่ทะเลจีนใต้อีกครั้งผ่านนโยบาย “ปักหมุดเอเชีย” หรือ Pivot to Asia ที่มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต, เศรษฐกิจ, และความมั่นคงกับประเทศในเอเชียอย่างแน่นแฟ้น ในฐานะตัวกลางในการไกล่เกลี่ยระหว่างคู่ขัดแย้งระหว่างฟิลิปปินส์และจีน ทว่ายังคงพยายามสงวนท่าทีไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อจีน แต่แสดงให้เห็นว่าสหรัฐยึดถือหลักเสรีภาพในการเดินทะเล (FONOP) ที่ให้สิทธิ์ทุกประเทศในการเดินเรือผ่านน่านน้ำสากลด้วยการส่งเรือรบเข้ามาในพื้นที่ข้อพิพาทตั้งแต่ปี 2013
ภาพแนบ: อดีตปธน. เบนิกโน อากีโน ผู้ล่วงลับผู้ต่อต้านอิทธิพลของจีนอย่างรุนแรง
หลังจากนั้นในปี 2016 ศาลอนุญาโตตุลาการถาวรได้ประกาศให้ฟิลิปปินส์เป็นฝ่ายชนะคดี เนื่องจากคำกล่าวอ้างของจีนไม่มีน้ำหนักมากพอ ซึ่งจีนได้ออกมาประกาศชัดเจนว่าไม่ยอมรับคำตัดสินดังกล่าว พร้อมเดินหน้าปฏิบัติการต่อไป เมื่อสหรัฐไม่ดำเนินการเรื่องนี้อย่างชัดเจน ส่งผลให้พันธมิตรอย่างฟิลิปปินส์จำเป็นต้องยอมโอนอ่อนต่อสถานการณ์ และเปิดทางให้จีนดำเนินนโยบายการทูตทางอำนาจอ่อน (Soft Power) เพื่อสร้างอิทธิพลในภาคการเมืองของฟิลิปปินส์ด้วยความช่วยเหลือด้านงบประมาณการก่อสร้างต่างๆในโครงการ “Build, Build, Build!” ของประธานาธิบดี โรดรีโก ดูแตร์เต มาจนถึงปัจจุบันคิดมูลค่าราว 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัญ (ข้อมูลปี 2021)
ภาพแนบ: ภาพการ์ตูนล้อเลียนของสำนักข่าว DW ว่าสาเหตุการแบนหัวเว่ยมาจากเหตุผลทางธุรกิจ
*** American First! กับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ***
ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นในสมัยของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ (2017) ผู้ชูนโยบาย “อเมริกันต้องมาก่อน” หรือ American First ซึ่งเน้นความสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจใช้กับชาวอเมริกันด้วยการดำเนินนโยบายการทำสงครามทางการค้า (Trade War) ทั้งในและนอกประเทศ อาทิการตั้งกำแพงภาษีสำหรับสินค้านำเข้าและมอบสิทธิประโยชน์ทางการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนกลับมาพัฒนาธุรกิจในประเทศเพื่อสร้างอาชีพให้กับแรงงาน นอกจากนี้ยังมีการออกคำสั่งพิเศษของประธานาธิบดี ให้จำกัดการลงทุนของชาวอเมริกันในบริษัทจีนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทัพจีน บริษัทในลิสต์มีจำนวน 59 บริษัทอาทิ Huawei Technologies, Fujian Torch Electronic Technology, และ Aero Engine Corporate of China เป็นต้น
ภาพแนบ: เครื่องบินขับไล่ F16V หนึ่งในเขี้ยวเล็บสำคัญของกองทัพอากาศไต้หวันในอนาคต (เครตดิต: AAG_th)
นอกจากการสร้างเงื่อนไขทางเศรษฐกิจแล้ว รัฐบาลใหม่ของทรัมป์ยังดำเนินการสานสัมพันธ์กับไต้หวันด้วยการต่อสายตรงเพื่อคุยประธานาธิบดี ไช่อิงเหวิน พร้อมอนุมัติการขายยุทโธปกรณ์ทันสมัยอีกจำนวนหนึ่งอาทิเครื่องบินขับไล่รุ่น F-16V, อาวุธปล่อยต่อต้านอากาศยานแบบ Patriot และรถถัง M1A2 Abrams ฯลฯ ที่รัฐบาลไต้หวันเคยแสดงความต้องการจัดหาแต่ไม่เคยได้รับการอนุมัติในสมัยของอดีตประธานาธิบดีโอบามา
1
ภาพแนบ: รถ J-ATV ติดตั้งจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ NSM หนึ่งในหมัดเด็ดของนาวิกโยธินสหรัฐมนการต่อต้านกองเรือจีน
ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจนอกจากนี้คือ “การปรับกำลังรบของนาวิกโยธินสหรัฐภายในปี 2030” โดยเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากการทำหน้าที่หัวหอกการรุกราน เป็นกองกำลังป้องกันเกาะต่างๆที่กระจายตัวอยู่ทั่วมหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมกับลดอัตรากำลังพลลงจาก 186,200 นายเหลือ 170,000 และปรับลดจำนวนกำลังยานสะเทินน้ำสะเทินบกแบบ AAV-P7 รวมถึงยุบกองพันรถถัง เพื่อหันไปทุ่มงบประมาณกับอาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำที่สามารถยิงจัดการเป้าหมายจากระยะไกลเพื่อต่อต้านเรือผิวน้ำของฝ่ายศัตรู ร่วมกับกองทัพเรือภาคแปซิกฟิกของสหรัฐและชาติพันธมิตร
...แม้จะไม่มีการกล่าวออกมาโดยตรง แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าแนวทางดังกล่าวคือการส่งสัญญานท้าทายจีนซึ่งเริ่มเสริมกำลังทะเลอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาโดยตรง!
ภาพแนบ: ทีมแพทย์จีนที่ถูกส่งไปช่วยรับมือการระบาดของเชื้อโควิด 19 ในอิตาลี่เมื่อปี 2020
*** โควิด 19 และการทูตวัคซีน ***
ในปี 2019 เป็นต้นมาได้เกิดเหตุการณ์ที่หลายฝ่ายไม่คาดคิดคือ... การระบาดของเชื้อโควิด 19ส่งผลให้มหาอำนาจทั้งสองประเทศเริ่มทำสงครามข่าวสารโดยอ้างว่าอีกฝ่ายเป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว ในระยะแรกนั้นทางการจีนสามารถสร้างคะแนนนิยมนำสหรัฐจากความรวดเร็วในการจัดการกับปัญหาโรคระบาด พร้อมกับส่งความช่วยเหลือต่างๆ ไปยังนานาประเทศเพื่อแสดงศักยภาพของตน ตั้งแต่อุปกรณ์ทางการแพทย์, บุคลากร, และวัคซีน
อย่างไรก็ตามสหรัฐอเมริกาก็สามารถรับมือกับเหตุดังกล่าว ด้วยความได้เปรียบจากการนำวัคซีน MRNA ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อมากกว่าใช้ สิ่งนี้ช่วยให้สหรัฐได้รับการยกย่องในฐานะผู้นำการต่อต้านโรคระบาด
ภาพแนบ: นายกรัฐมนตรี สกอตต์ มอร์ริสัน ผู้เรียกร้องให้เกิดการตรวจสอบ
จุดเปลี่ยนสำคัญอีกประการคือ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างจีนกับออสเตรเลีย เมื่อรัฐบาลของนายกออสเตรเลีย นาย สกอตต์ มอร์ริสัน เรียกร้องให้ตัวแทนจากนานาประเทศเข้ามาตรวจสอบที่มาของการระบาดดังกล่าว (โดยเชื่อว่ามาจากจีน) แต่ถูกจีนตอบโต้ทางการค้าอย่างหนักส่งผลให้ออสเตรเลียที่พยายามรักษาท่าทีไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อจีน เนื่องจากเป็นฐานะคู่ค้าอันดับหนึ่งของประเทศ เริ่มหันมาผลักดันนโยบายการตอบโต้จีนแบบชัดเจน นำไปสู่ข้อตกลงด้านความมั่นคงจำนวนมากที่เกิดขึ้นทั้งการอนุญาติให้นาวิกโยธินสหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพ, การตอบรับข้อเรียกร้องในการปกป้องไต้หวันจากการรุกรานของจีน, รวมไปถึงการเข้าเป็นส่วนสำคัญของสนธิสัญญา AUSKUS ที่จะกล่าวถึงหลังจากนี้
*** ขอตัดเข้าสู่ช่วงโฆษณา***
ว่าหนังสือ “สุริยันพันธุ์เคิร์ด” หรือหนังสือเล่มใหม่ของผมออกแล้วนะครับ มีรายละเอียดดังนี้...
- เรื่องนี้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ชาวเคิร์ด ผลงานเล่มล่าสุดในชุด The Wild Chronicles
- พิมพ์เป็นสี่สี!
- ยาวที่สุดเท่าที่พิมพ์มา ยาวกว่าพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติราว 2 เท่า
- รูปโหดๆ ที่ทำให้เข้าใจสถานการณ์ดีขึ้น จะไม่เซนเซอร์ แต่จะรวมอยู่ท้ายเล่ม และมีคำเตือนก่อน
- มีลายเซ็นทุกเล่ม!
- ราคา 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว
ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link แนบได้เลย
https://www.gbprimepay.com/payment/m/noncart/TWC/576294
(ถ้าเป็นสมาชิกกลุ่ม illumicorgi ระดับ Corgi Master ขึ้นไป จะมีหนังสือส่งให้อยู่แล้วนะครับ)
อนึ่งชาวเคิร์ดเป็นชนกลุ่มน้อยในตะวันออกกลาง มีราว 30 ล้านคน หากไม่มีประเทศของตนเอง พวกเขาแตกเป็นหลายส่วนและถูกกดขี่อย่างหนัก แต่การถูกกดขี่เคี่ยวกรำนั้นทำให้พวกเขากลายเป็นนักรบที่เก่งกาจ
หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องราวของชาวเคิร์ดตั้งแต่ยุคตำนานจนถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีความพีคแล้วพีคอีก ผ่านสงครามใหญ่ๆ มากมาย เช่นสงครามอิรัก - อิหร่าน, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามปราบซัดดัม, สงครามกลางเมืองอิรัก, สงครามปราบกลุ่มก่อการร้าย แต่ละสงครามที่ว่ามานี้มีสเกลใหญ่เป็นรองแค่สงครามโลก
ชาวเคิร์ดมีส่วนร่วมในสงครามเหล่านี้ทั้งหมดในฐานะชนกลุ่มน้อยที่ไม่รวยแต่รบเก่ง พอมีคนมาติดอาวุธให้เลยมักกลายเป็นไพ่โจ๊กเกอร์ที่เปลี่ยนผลชี้ขาดของสงคราม
อย่างไรก็ตามศัตรูอันดับหนึ่งของชาวเคิร์ดคือเผด็จการซัดดัม ฮุสเซนนั้นก็โหดมาก โหดโคตรๆ ใครเคยอ่านพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ หรือเชือดเช็ดเชเชน ผมบอกได้ว่าไอ้นี่ก็โหดไม่แพ้กัน หรือเผลอๆ โหดกว่า ดังนั้นการต่อสู้ของชาวเคิร์ดมันจึงเป็นเรื่องที่หลอนและดุเดือดมากๆ
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่ผมได้ไปเยือนดินแดนเคอร์ดิสถานอิรัก (และหนีมิสไซล์มา) เมื่อต้นปี 2020 เพื่อนชาวเคิร์ดที่ผมสัมภาษณ์ทุกคนเป็นผู้รอดชีวิตจากทุกสงครามข้างต้น ทำให้มีข้อมูล ความเห็น และมุมมองของคนต่างๆ ที่ลึกกว่าในตำรา แน่นอนว่าประสบการณ์ของพวกเขาดาร์คมาก แต่เขาหลายคนไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายขนาดนั้น พวกเขาตีความสิ่งที่พบเจออย่างไร ลองตามอ่านดูนะครับ
"สุริยันพันธุ์เคิร์ด" ตั้งใจพิมพ์เป็นสี่สี เป็นหนังสือที่ยาวที่สุดตั้งแต่ผมเขียนสารคดีชุด The Wild Chronicles มา
อีกครั้งนะครับ ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์หนังสืออย่างเดียว สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link นี้ได้เลย 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว (ในประเทศ) ถ้าบางท่านอยู่ต่างประเทศมีค่าส่งพิเศษจะแจ้งอีกที
*** ก่อนจะไปติดตามตามเรื่องราวต่อ ***
เราขอเสนอหนังสือเรื่องประวัติย่อก่อการร้าย War on Terror พิมพ์ครั้งก่อนขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว จะพิมพ์ใหม่ปลายปีนี้ ตอนแรกว่าใกล้ๆ เสร็จแล้วค่อยทำโปร แต่เหตุการณ์ในอัฟกานิสถานและรำลึก 9/11 ทำให้มีคนถามมาเยอะเหลือเกิน เลยเปิดให้จองก่อนนะครับ
- หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องประวัติของขบวนการก่อการร้ายสากลตั้งแต่ยุคอัลเคดามาต่อ ISIS
- ผมตั้งใจจะเพิ่มเนื้อหาให้อัพเดทถึงปัจจุบัน
- พิมพ์เป็นสี่สีแน่นอน
- ปกพิมพ์สีเมทัลลิก ปั้มนูนและปั้มเงินที่ชื่อเหมือนเล่มสุริยันพันธุ์เคิร์ด รับรองว่าสวยมาก เหมาะแก่การสะสม สำนักพิมพ์ The Wild Chronicles เราพิมพ์เองแล้วจะทำอะไรก็ได้ 555
- มีเซ็นลายเซ็นพิเศษประจำเล่มให้ครับ
- ราคาอยู่ที่ 389 บาท สั่งพรีออเดอร์ตอนนี้ลดเหลือ 369 บาท และฟรีค่าส่งในประเทศ (ปกติค่าส่ง 50 บาทครับ ส่วนต่างประเทศก็ตามจริง)
- สนใจชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย อนึ่งระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปแต่ช้าหน่อยนะครับ
https://www.gbprimepay.com/payment/m/noncart/TWC/557028
ภาพแนบ: ภาพการรับมอบเรือดำน้ำ, เรือพิฆาตและเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จำนวนถึง 3 ลำภายในวันเดียวของกองทัพจีน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพการต่อเรืออย่างรวดเร็วของจีน
*** การตอบโต้ของจีน ***
แน่นอนว่าชาติมหาอำนาจอย่างจีนนั้น ไม่มีทางยอมให้สหรัฐไล่ต้อนอยู่ฝ่ายเดียว เพราะยิ่งยุทธศาสตร์การปิดล้อมของสหรัฐและพันธมิตรชัดเจนมากยิ่งขึ้น รัฐบาลจีนก็ใช้มันสร้างความชอบธรรมในการขยับขยายกองทัพโดยมีการต่อเรือบรรทุกเครื่องบินถึงสามลำในเวลาเพียงไม่กี่ปี พร้อมทั้งมีการพัฒนาจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำระยะไกลเพื่อรับมือกับกองเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐ ซึ่งทางการจีนระบุว่าเป็นเครื่องมือสำคัญต่อการรุกรานอธิปไตยของจีน
ภาพแนบ: แผนที่แสดงยุทธศาสตรื Islands Hopping ที่ยึดครองพื้นที่จากเกาะสู่เกาะ
จีนยังยกระดับศักยภาพของหน่วยนาวิกโยธิน (PLA Marines) ให้เหมาะสมต่อปฏิบัติการยกพลขึ้นบกในภูมิประเทศหมู่เกาะ ซึ่งเป็นการถอดบทเรียนมาจาก “ยุทธวิธีการรบจากเกาะสู่เกาะ” หรือ Islands Hopping ที่ใช้การยึดครองพื้นที่จากเกาะซึ่งตั้งอยู่ใกล้ที่สุด ก่อนจะขยายเขตยึดครองไปจนถึงเป้าหมาย โดยสหรัฐเคยใช้ยุทธวิธีดังกล่าวจนประสบความสำเร็จในการต่อสู้กับฝ่ายญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
ภาพแนบ: เครื่องบินขับไล่ไต้หวันเข้าประกอบอากาศยานจากกองทัพจีน
เป้าหมายหลักนั้น ก็ไม่ใช่พื้นที่อื่นไกลหากแต่เป็น “เกาะไต้หวัน” ซึ่งจีนถือว่าเป็นเพียงมณฑลหนึ่งที่แยกตัวออกมาจากประเทศ นอกจากนี้การยึดครองไต้หวันยังเปรียบเสมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นกสามตัว! เพราะนอกจากจะเป็นการตบหน้าสหรัฐซึ่งเป็นพันธมิตรทางทหารอย่างเป็นทางการรายเดียวของไต้หวันฉาดใหญ่! และเป็นการทำลายความน่าเชื่อถือในฐานะประเทศมหาอำนาจแล้ว ที่ตั้งของเกาะแห่งนี้ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สู่ญี่ปุ่นซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งสำคัญอีกชาติในภูมิภาคมีหลักฐานที่ระบุว่ากองทัพจีนส่งอากาศยานรุกล้ำน่านฟ้าของไต้หวันกว่า 380 ครั้ง ในปี 2020 แสดงถึงการให้ความสำคัญต่อจุดนี้เป็นอย่างดี
ภาพแนบ: สามผู้นำระหว่างการประการความร่วมมือใน “สนธิสัญญา AUKUS”
“นโยบายการวางหมากของสหรัฐและพันธมิตร”
เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมาผู้นำสหรัฐฯ, อังกฤษ, และออสเตรเลียร่วมกันเป็นสักขีพยานในการลงนามใน “สนธิสัญญา AUKUS” หรือพันธมิตรไตรภาคีเพื่อส่งเสริมความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค โดยมีเนื้อหาสำคัญคือ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์” ซึ่งถูกจัดเป็นข้อมูลชั้นความสุดยอดของสหรัฐฯ ให้แก่ออสเตรเลีย
แน่นอนว่าเหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความไม่พอใจอย่างรุนแรงให้กับรัฐบาลจีน ซึ่งส่งตัวแทนออกมาตอบโต้อย่างทันควันว่า “นโยบายของสหรัฐและสหราชอาณาจักรถือเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบและบ่อนทำลายสันติภาพในภูมิภาคด้วยแนวคิดยุคสงครามเย็น” พร้อมกับเตือนออสเตรเลียว่าอาจตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีด้วยขีปนาวุธหากเกิดสงครามขึ้น
เช่นเดียวกับฝรั่งเศสซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการออกแบบเรือดำน้ำพลังงานดีเซลชั้น Attack จำนวน 12 ลำ ที่รัฐบาลออสเตรเลียลงนามจัดหาไปตั้งแต่ปี 2015 ได้กล่าวหาว่าการตัดสินใจดังกล่าวถือเป็น “การแทงข้างหลัง” และทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจในฐานะพันธมิตรด้านความมั่นคง พร้อมกับเรียกเอกอัคราชทูตประจำออสเตรเลียและ
สหรัฐกลับประเทศในทันที
ภาพแนบ: เรือบรรทุกเครื่องบินอินเดียขณะฝึกกับสหรัฐ
นอกจาก Aukus แล้วสหรัฐยังการกระชับความสัมพันธ์กับประเทศที่เป็นคู่พิพาทของจีน ด้วยการสร้าง “พันธมิตรกลุ่ม Quad” (Quad Alliance) ประกอบด้วยสหรัฐ, ญี่ปุ่น, อินเดีย, และออสเตรเลีย เพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม, ให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูประเทศที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19, แต่ที่สำคัญที่สุดคือการแสดงความพร้อมกับยืนหยัด หากถูกจีนรุกรานนั่นเอง
ภาพแนบ: รอง ปธน กมลา แฮร์ริส ขณะเข้าพบผู้นำสิงคโปร์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
พร้อมกันนี้สหรัฐยังส่งรองประธานาธิบดี กมลา แฮร์ริสและคณะผู้แทนเยือนประเทศอาเซียนเช่นสิงคโปร์และเวียดนาม เพื่อดำเนินเกมทางการทูตช่วงชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หลังปล่อยให้จีนเป็นผู้เดินเกมอยู่ฝ่ายเดียวมานาน
*** สรุป ***
ประเทศมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายต่างวางยุทธศาสตร์ในการขยายอิทธิพลของตนไปสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อย่างไรก็ตามความแตกต่างที่ชัดเจนคือการที่จีนใช้ความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วยอนุมัติงบพัฒนาการลงทุนต่างๆ ที่อื้อประโยชน์ให้กับประเทศที่กำลังต้องการพัฒนาชาติแบบก้าวกระโดดและคานอำนาจของสหรัฐด้วยการพัฒนาแสนยานุภาพทางทหารอย่างรวดเร็ว
ขณะที่ฝ่ายสหรัฐนั้นนำเสนอความสัมพันธ์แบบพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาตร์ให้กับคู่ขัดแย้งของจีน แม้จะสามารถให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่น่าสนใจน้อยกว่า (ในสายตาของประเทศกำลังพัฒนาหลายชาติ) ก็ตาม
อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นหลังจากนี้คือการที่ทั้งสองฝ่ายต่างใช้ประโยชน์จากสถานะ “รัฐกึ่งประเทศ “ของไต้หวัน โดยฝ่ายจีนกำลังเดินเกมด้วย “ไม้แข็ง” เพื่อเข้าควบคุมไต้หวันที่เป็นทั้งจุดยุทธศาสตร์, พื้นที่ทางเศรษฐกิจ, และสัญลักษณ์ของอุดมการณ์ขั้วตรงข้าม ขณะที่สหรัฐผลักดันการป้องกันไต้หวันผ่านกฏหมายการคุ้มครองไต้หวัน (Taiwan Defense Act) เพื่อเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้ปกป้องพันธมิตรและคานอำนาจกับจีน พร้อมกับเดินเกมทางการทูตเพื่อวางหมากปิดล้อมจีน
... จนกล่าวได้ว่า เราอาจกำลังอยู่ในช่วงบทโหมโรงของสงครามเย็นรอบที่สอง เมื่อชาติมหาอำนาจทั้งสองฝ่ายเริ่มระดมสรรพกำลังและสร้างพันธมิตรทางความมั่นคงเพื่อรับมือกับการเผชิญหน้าครั้งใหม่ที่กำลังจะเกินขึ้นใกล้ตัวกว่าที่เราคิด…
::: แหล่งอ้างอิง :::
www (ดอต) abc (ดอต) net (ดอต) au/news/2021-08-23/us-vice-president-kamala-harris-south-east-asia-trip
thestandard (ดอต) co/key-messages-about-aukus-security-treaty/
www (ดอต) cfr (ดอต) org/article/marine-corps-shifting-focus-what-know
www (ดอต) scmp (ดอต) com/news/china/politics/article/303534//taiwans-parliament-approves-us82-billion-funding
www (ดอต) scmp (ดอต)/news/china/military/article/3116557/pla-warplanes-incursions-taiwans-airspace
edition (ดอต) cnn (ดอต) com/2021/09/24/politics/the-quad-white-house-meeting/index.html
::: ::: :::
สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ
https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
และ youtube
https://youtube.com/user/Apotalai
5 บันทึก
4
3
5
4
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย