Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
InfoStory
•
ติดตาม
30 ธ.ค. 2021 เวลา 08:05 • ไลฟ์สไตล์
"ชาดำ (Black Tea)" ยอดนิยมเหล่านี้ มาจากที่ไหนกันบ้างนะ ?
หากเราอยากหาเครื่องดื่มที่ทำให้เราตื่น ซึ่งนอกจาก กาแฟ หรือ M150 แล้ว เห็นทีก็คงจะไม่พ้นชาดำนี้ละ
แต่เวลาจะไปเลือกซื้อชาดำทีนึง.. โอโห มีชื่อมากมายให้เลือกเต็มไปหมด แถมหน้าตาแต่ละอัน ก็ดันเหมือน ๆ กันซะอีก
งั้นวันนี้พวกเรา InfoStory ขอหยิบยก ตัวอย่างของชาดำยอดนิยม มาให้เพื่อน ๆ รู้จักกันสักเล็กน้อย
ซึ่งชาดำที่พวกเรานำมาให้ชม จะมีทั้ง Black tea และ Blend tea (ที่มีโครงสร้างเป็นชาดำ)
เชื่อว่า ต้องมีชาที่เพื่อน ๆ กำลังหยิบยกขึ้นมาดื่มกันอยู่ในขณะนี้ อย่างแน่นอน 🙂
จริง ๆ แล้วต้องบอกว่า ชาที่เราดื่มกันอยู่ในทุกวันนี้ เป็นผลผลิตทางเกษตรกรรมจากใบยอดอ่อน และก้านของต้นชา หรือเพื่อน ๆ หลายคนอาจรู้จักผ่านหูผ่านตากับชื่อของ Camellia sinensis
ว่าแต่ว่า ถ้าต้นกำเนิดของเจ้าใบชาเนี่ย มันมีเหมือนกันหมด
ถ้านอกจากพื้นที่ในการปลูก สภาพภูมิอากาศแล้ว
อะไรคือตัวแบ่งที่ทำให้เกิดความหลากหลายของชนิดของชาได้อีกบ้างละ ?
โอเค เราจะค่อย ๆ พาไปดูกันเบา ๆ
ทุกอย่างจะเริ่มต้น จากกระบวนการผลิตชา นั่นเอง
เท่าที่พวกเราค้นหามา ก็จะมี 7 ขั้นตอน
1. การเก็บใบชา (Tea plucking)
2. การผึ่งชา (Withering)
3. การคั่วชา (Pan firing)
4. การนวดชา (Rolling)
5. การหมักชา (Fermentation)
6. การอบแห้ง (Drying)
7. การคัดบรรจุ (Sorting and packing)
โดยขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการผลิต ในการกำหนดแบ่งออกเลยว่าจะเป็นชาชนิดใดเนี่ย
พวกเราขอสรุปสั้น ๆ เอาไว้แบบนี้
- ชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก แต่ผ่านกระบวนการอบไอน้ำในระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อรักษากลิ่น แบบนี้ จะเรียกว่า “ชาขาว (White Tea)” ลักษณะสีอ่อนใส นุ่มนวล
- ชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก หรือ การนำเอาใบยอดอ่อนของต้นชามา แล้วทำให้แห้งโดยการอบหรือคั่ว และจะไม่นิยมผ่านกระบวนการนวด (จริงๆ ชาเขียวญี่ปุ่นบางชนิด ก็จะมีผ่านกระบวนการนวดนะ ต้องขึ้นอยู่กับว่าสายพันธุ์ของชาที่เราเก็บเกี่ยวมาได้ด้วย เรื่องของชาเขียว พวกเราก็เคยทำบทความเอาไว้แล้วด้วยนะ)
หรือเอาง่าย ๆ คือ จะมีกระบวนการแบบในข้อที่ 3 และ 6 เป็นหลัก
แบบนี้เราจะเรียกว่า “ชาเขียว (Green Tea)”
- ชาประเภทกึ่งหมักหรือชาที่ผ่านการหมักเพียงบางส่วน โดยจะเริ่มจากการนำยอดอ่อนของต้นชา มานวดเล็กน้อย จากนั้นก็จะนำไปอบแห้งทันที หรือ อาจจะนำไปผึ่งใบชาให้แห้งด้วยแสงอาทิตย์ และนำมาผึ่งแห้งในร่มต่อ ก็ได้เช่นกัน
ซึ่งทำให้รสชาติของเขาก็อยู่กึ่งกลางระหว่าง ชาเขียว กับ ชาดำ พอดี คือ มีกลิ่นหอม และ รสชาตินุ่มนวล
จากตรงนี้ เราก็จะเรียกว่า “ชาอู่หลง (Oolong Tea)”
- ชาที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบรูณ์ ก็คือไล่ครบทุกเบอร์เลย ตั้งแต่การผึ่ง นวดหมักอบ ครบ
อย่างเช่นการหมัก ก็จะเป็นการหมักใบชาเกิดที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (oxidation) แบบสมบูรณ์ กับออกซิเจนในอากาศ ใบชาจะมีสีเข้มขึ้น
ลักษณะแบบนี้ เราก็จะเรียกว่า “ชาดำ (Black Tea)” อย่างในภาพอินโฟกราฟิก นั่นเอง
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อ่านแล้วรู้สึกว่า เอ้ะ ! แอบมีความสับสนสักเล็กน้อย
พวกเราก็เลยค้นหาภาพที่ผู้รู้ได้สรุปมาเป็นแผนผังไว้ให้นะ (น่าจะช่วยให้เห็นภาพได้ดีขึ้น)
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
https://food.trueid.net/detail/GNXq6J4pGVJx
https://www.northlandtea.com/blogs/news/article-6
https://thefragrantleaf.com/pages/about-black-tea
https://youngmountaintea.com/blogs/blog/how-black-tea-is-made
https://twinings.co.uk/blogs/news/how-is-tea-made
https://www.youtube.com/watch?v=ZJFaYKEDle4
https://www.youtube.com/watch?v=m6yiKKXRs2o
ชา
ความรู้รอบตัว
ชาดำ
9 บันทึก
8
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ส่องโลกของ "ชา" - Into the Land of Tea
9
8
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย