Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Story Thailand
•
ติดตาม
28 ก.ย. 2021 เวลา 17:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แบงก์ชาติเตือน “หนักกว่าที่คิด” วิกฤติโควิด กระทบทั้งหนักและกว้าง
11
ยุคทองของเศรษฐกิจไทยผ่านไปแล้ว จากนี้เป็นต้นไปก็คือการสร้างขึ้นมาใหม่
3
นับจากปี 2540 เป็นต้นมา เศรษฐกิจไทยที่เคยเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 8% จากภาคอุตสาหกรรมที่โตเกือบ 10% ของ GDP โดยมีสัดส่วนการลงทุนสูงถึง 34% หดหายไปเรื่อย ๆ เศรษฐกิจไทยโตไม่เคยเกิน 3% ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมโตเพียง 2% และสัดส่วนการลงทุนต่อ GDP เหลือไม่ถึง 25% การที่จะกลับมาฟื้นสร้างขึ้นมาใหม่ได้ต้องผ่านวิกฤติโควิดให้ได้เสียก่อน
18
เป็นถ้อยคำบางส่วนของ “เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่กล่าวในงานประชุมสามัญประจำปี 2564 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เรื่อง “มาตรการช่วยเหลือและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยในยุคโควิด” ว่า การระบาดของโควิด-19 เป็นปรากฏการณ์แพร่ระบาดที่ไม่เคยเกิดขึ้น หนักและกว้างในรอบร้อยปี กระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยหนักหน่วงที่สุดในรอบ 22 ปี (เป็นรองแค่ในปี 2541 ที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง) เนื่องจากส่งผลกระทบทั้งระบบในวงกว้างและรุนแรงทั้งต่อภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน อย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน
7
1
ข้อมูลที่กังวลอย่างมาก
1. ภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวน่าจะสะท้อนความรุนแรงได้ดีที่สุด จากยุคที่นักท่องเที่ยวเข้าไทยปีละ 40 ล้านคน เหลือแค่ 6 หมื่นคนเท่านั้น (ข้อมูล ณ เดือนกรกฎาคม 2564) ผู้ประกอบการมากถึง 65% มีสภาพคล่องในการทำธุรกิจได้ไม่เกิน 3 เดือน ทำให้หลายรายต้องปิดกิจการ หรือประกาศขายกิจการ
11
1
2. ภาคการผลิต นับจากการประกาศล็อกดาวน์ในไตรมาส 2 ภาคการผลิตต่ำสุดในรอบ10 ปี และการระบาดระลอกล่าสุดก็กระทบการผลิตซ้ำอีก โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศ ขณะที่การผลิตเพื่อการส่งออก ก็ถูกกระทบจากหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ และการขาดตู้คอนเทนเนอร์ มิหนำซ้ำมีต้นทุนผลิตเพิ่มอีก จากการปฏิบัติตามนโยบาย bubble & seal เพื่อควบคุมและให้โรงงานสามารถเดินเครื่องต่อไปได้ ต้นทุนการผลิตจึงสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดัชนีผู้ผลิตเพิ่มสูงถึง 3.5% เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อนอยู่เพียง 0.5% ซึ่งภาระยังอยู่ที่ผู้ผลิต สะท้อน
ได้จากราคาฝั่งขายปรับได้เพียง 0.7% เท่านั้น
13
3. ครัวเรือนสาหัส ผลกระทบที่รุนแรงสุด ได้แก่ ปัญหาการว่างงาน ไตรมาส 2 ของปีนี้ มีผู้ว่างงานและเสมือนว่างงาน (ทำงานได้ไม่เกิน4ชม./วัน) อยู่ประมาณ 3.5 ล้านคน เทียบกับแรงงานทั้งระบบจำนวน 39 ล้านคน ถือว่าไม่น้อย และยังมีผู้ว่างงานระยะยาวคือเกิน 1 ปี อีกเกือบ 2 แสนคน เพิ่มมากกว่าช่วงก่อนโควิดถึง 3 เท่าตัว และยังมีแรงงานที่ย้ายกลับภูมิลำเนาในเดือนสิงหาคมอีก 2 ล้านคน สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 5แสนคน
4
ภารกิจ คือ การดูแลให้ระบบทำงานได้ตามปกติในภาวะวิกฤติ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเศรษฐกิจไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาระบบธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างสูง เห็นได้จากสินเชื่อในระบบอยู่ที่ 14 ล้านล้านบาท ขณะที่มีเพียง 5 ล้านล้านบาทเท่านั้นที่อยู่ใน SFIs : Specialized Financial Institutions (สถาบันการเงินเฉพาะกิจ อาทิ ออมสิน / ธกส. /ธอส. / ธ.อิสลาม) แม้ว่าในปัจจุบัน เอกชนจะมีการออกตราสารหนี้เพิ่มขึ้น แต่ก็มียอดอยู่เพียง 3 ล้านล้านบาทเท่านั้น ในภาวะเช่นนี้ โอกาสที่ธนาคารพาณิชย์จะหุบร่ม (ไม่ปล่อยสินเชื่อ) มีอยู่สูงมาก ปัญหาคือ จะทำอย่างไรให้ธนาคารพาณิชย์ทำงานได้ต่อเนื่อง หรือใกล้เคียงกับภาวะปกติ
10
ที่ผ่านมา ผู้ว่าแบงก์ชาติมองว่าระบบธนาคารพาณิชย์ยังทำงานได้ดีในระดับหนึ่ง ดูได้จาก 1.สินเชื่อยังโตใกล้เคียงกับก่อนโควิด 2.สินเชื่อยังโตได้ดีแม้ในภาวะวิกฤติ และ3.สินเชื่อไทยยังโตได้มากกว่าประเทศในภูมิภาค แม้ไทยจะถูกระทบหนักสุดและฟื้นช้ากว่าประเทศอื่น (ADBคาดการณ์เศรษฐกิจไทย โตได้เพียง 0.8% เป็นรองทุกประเทศในอาเซียน ยกเว้นพม่าเท่านั้น เหตุผลจากปัญหางบประมาณและการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จนต้องขยายเพดานหนี้สาธารณะ)
9
แต่ไทยก็ยังมีปัญหาหนี้เดิม ซึ่งถึงแม้จะมีมาตรการช่วยเหลือไปส่วนหนึ่ง แต่เมื่อเทียบกับปัญหาที่รุนแรงและสะสมมานาน ก็ยังไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา มีจำนวน 6 ล้านบัญชี ยอดหนี้กว่า 4 ล้านล้านบาท ที่ได้รับการช่วยเหลือโดยแบงก์ชาติพยายามาผ่อนปรนเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เหมาะกับบริบทปัจจุบันเพื่อลดโอกาสที่จะทำให้ธนาคารพาณิชย์หุบร่ม (countercyclical) รวมทั้งดูแลสภาพคล่องในระบบการเงินและภาวะการเงินให้ผ่อนคลายต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
8
ปัญหาที่ธนาคารพาณิชย์ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร คือ การช่วยเหลือ SME แม้จะมีมาตรการเฉพาะเช่นการใช้พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู โดยให้บสย.มาช่วยลดความเสี่ยงให้กับธนาคารพาณิชย์ แต่ก็ยังถือว่าไม่เพียงพอ โดยในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาสินเชื่อ SME ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพียง1%เท่านั้น อย่างน้อยก็ยังได้เห็นการขยายตัวเป็นบวก จากเดิมที่ติดลบมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด ซึ่งหากไม่มีมาตรการเสริมมาช่วย จะยังติดลบที่ 1%
7
นอกจากนี้ ยังมีการเสริมด้วยการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ สนับสนุนสภาพคล่องให้กับระบบเศรษฐกิจ โดยในส่วนนี้ขยายตัวกว่า 4% ปล่อยเม็ดเงินไปแล้วกว่า 3 แสนล้านบาท และยังหวังว่ามาตรการรัฐอีกหลายมาตรการจะช่วยให้ SME ฟื้นคืนได้บ้าง
2
“แม้การดูแลลูกหนี้จะไม่สามารถทำให้รอดได้ทุกคน แต่สิ่งที่อยากเห็น คือ การให้ลูกหนี้รอดมากที่สุด ต้องรักษาสมดุลระหว่างการบรรเทาผลกระทบต่อลูกหนี้กับการดูแลเสถียรภาพและการทำงานของระบบการเงินให้ดำเนินต่อไปได้ เราไม่ใช่เจ้าของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งต่างจากธนาคารของรัฐที่สามารถดำเนินการตามนโยบายของรัฐได้ แต่ธนาคารพาณิชย์ต้องดูแลความมั่นคงของธุรกิจเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น การกำหนดอะไรก็ตามก็ต้องคำนึงสิทธิและผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ด้วย”
4
สิ่งที่ต้องปรับตัวที่จำเป็นต้องวางรากฐานในอนาคตให้เศรษฐกิจไทย เพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะข้างหน้า ได้แก่กระแสเรื่องดิจิทัลและกระแสเรื่อง ESG(การดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมที่คาดว่าจะส่งผลกระทบเร็วและแรงกว่าที่คาด
2
เตือนประชาชนต้องวางแผนการเงิน
ในส่วนของประชาชน ต้องเตรียมรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในอนาคต อาทิ ต้องวางแผนทางการเงิน จัดเตรียมเงินสำรองสำหรับยามฉุกเฉิน ข้อสำคัญต้องเรียนรู้ทางการเงินมากขึ้น ข้อสำคัญต้องเท่าทันกับกระแสดิจิทัล เพราะจะกลายเป็นความจำเป็นและยังช่วยป้องกันการหลอกลวงในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะมีเพิ่มมากขึ้น
5
ในท้ายสุด การที่จะก้าวออกจากวิกฤตินี้ได้ โดยที่มีคนรอดได้มากที่สุด และมีแผลเป็นน้อยที่สุด ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด แต่ต้องเข้าใจในบทบาทและข้อจำกัดของกันและกัน เพื่อไม่ให้เกิด “เส้นแบ่ง” ว่าเป็นปัญหาของคนนั้นฝ่ายนั้น เพราะแต่ละคนก็ได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย ข้อสำคัญแต่ละคนก็อยู่ในหลายบทบาทในเวลาเดียวกัน การหันหน้าเข้าหากัน การประนีประนอมกันและมองให้รอบด้าน จะทำให้เราเห็นทางออกในการก้าวผ่านวิกฤตินี้ไปด้วยกันได้อีกครั้ง
1
thestorythailand.com
แบงก์ชาติเตือน ”หนักกว่าที่คิด” วิกฤติโควิด กระทบทั้งหนักและกว้าง | The Story Thailand
ยุคทองของเศรษฐกิจไทยผ่านไปแล้ว จากนี้เป็นต้นไปก็คือการสร้างขึ้นมาใหม่
ติดตามสตอรี่ดี ๆ จาก The Story Thailand ได้ตามช่องทางเหล่านี้
Website:
www.thestorythailand.com
Facebook:
facebook.com/TheStoryThailand
Twitter:
twitter.com/TheStoryThai
Youtube:
youtube.com/TheStoryThailand
Blockdit:
blockdit.com/TheStoryThailand
#TheStoryThailand #เดอะสตอรี่ไทยแลนด์ #สตอรี่ดีๆ
126 บันทึก
117
28
316
126
117
28
316
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย