29 ก.ย. 2021 เวลา 01:54 • สุขภาพ
อายุ 92 ปีแล้วหรอนี่ ?!
แก่ขนาดนี้ .. ยังมีคนเอาปู่ไปใช้ในทางที่ผิดอีก !
เอาละครับ วันนี้ ผมจะพาทุกคนมารู้จักกับความเป็นมาเป็นไปของยานี้
มารู้จัก ปู่อะ-ม๊อก-ซี่-ซิ-ลิน กันครับ
( Amoxicillin )
ที่มาจากประโยคนี้ ... ที่เภสัชกรทุกคนได้ยินอยู่บ่อยๆ
"ซื้อยาแก้อักเสบเม็ดฟ้าๆเขียวๆหน่อย"
เป็นประโยคที่ผมได้ยินจนชิน เวลาคนไข้มาขอซื้อยานี้
เรียกว่าแก้อักเสบ เอาสะไม่เกรงใจคุณหมอ Alexander Fleming ผู้ค้นพบโครงสร้างบรรบุรุษ ของ อะ-ม๊อก-ซีเลย 555+ .... ( ^__^ )
และยิ่งช่วงนี้ด้วย มีเม็ดตงเม็ดต๊อดแปลกๆมาอีก
เอาอะม๊อกซี่แกะมาผสมน้ำกับอะซิโทรอีก !
คงต้องบอกว่า
#อย่าหาทำ !
เพราะไม่มีหลักวิชาการสนับสนุนหลักการนี้เลยครับ !
อะม๊อกซี่ แกะออกมา ก็ไม่คงตัวแล้วครับ
โดนความชื้นในอากาศ และ ในน้ำ oxidized ไปหมด จนอาจจะทำให้สารสำคัญในตัวยาไม่เหลือออกฤทธิ์ และ ต่อให้เหลือออกฤทธิ์ ก็ ไม่ได้ช่วยในสิ่งที่คาดหวัง นั่นคือ ตัวยาไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อไวรัสครับ !
ไม่มีกลไกสำหรับไวรัสเลยครับ !!
.
มา ! วันนี้ ผมจะเล่าให้ฟังสนุก เกี่ยวกับ ไอ้เจ้า เม็ดฟ้าๆเขียวๆนี่แหละ ที่ชอบซื้อกิน ติดบ้านไว้หน่อย ให้ฟังกัน ว่า มันไม่ควรกินพร่ำเพื่อนะ . . . ถ้าได้รู้ว่า มันสกัด(isolate) แยกมาจากเชื้อรา ! .... ใช่แล้ว มันคือส่วนหนึ่งของเชื้อรา !!
มาดู time line ของมันกันก่อนนะครับ
ผมเล่าง่ายๆเลย
Time line ความเป็นมา ...
ประมาณปี ค.ศ. 1928-1929.
Alexander Fleming นายแพทย์ชาวสก๊อต สังเกตเห็นบริเวณใส (clear zone) รอบๆ โคโลนี(บริเวณเติบโต)ของเชื้อรา Penicillium notatum ที่ปนเปื้อนบนจานเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus sp. ((สรุปเห็นโดยบังเอิญซะงั้น !))
.
เมื่อนำมาศึกษาพบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย......ว่าง่ายๆคือ ตรงไหนมีเชื้อรา Penicillium notatum โต ตรงนั้นจะไม่มีเชื้อแบคทีเรีย *Stapp.
*เพิ่มเติมนะ : Staphylococcus sp. เป็นเชื้อแบคทีเรีย ที่อยู่บนผิวหนังมนุษย์ครับ ถ้าเรามีแผล และ ดูแลไม่ดี มันจะติดเชื้อตัวนี้ได้ครับ
ต่อมา
ปี 1930.
(ช่วงนั้น เริ่มมีสัญญาณตึงเครียดของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วนะครับ)
Ernst Boris Chain และ Howard Walter Florey สองนักวิทย์ ของ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด นำงานวิจัยของ เฟรมมิ่ง มาวิจัยต่อยอด สามารถ แยก Isolate เอาเฉพาะส่วนที่ยับยั้งการเติบโต ของแบคทีเรีย ที่อยู่ในเชื้อราออกมาได้ ทำให้ เราได้มี ยาฆ่าเชื้อ ตัวแรกของโลก สำคัญ นั่นคือ ยากลุ่ม "เพน-นิ-ซิ-ลีน" Penicillin.
การค้นพบยิ่งใหญ่นี้ มาได้ตรงจังหวะพอดี๊ พอดี .... ช่วงนั้น เกิดสงครามโลกคร้งที่ 2 พอดี ทำให้ ยาฆ่าเชื้อที่พบนั้น ช่วยชีวิต ผู้ได้รับบาดเจ็บน้อยลงกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 มากเนื่องจากนำ Penicillin ที่ได้ไปใช้ในการรักษาบาดแผลและนำไปรักษาปอดบวมทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดบวมในสงครามโลกครั้งที่ 2 ลดลงเหลือ 1%
(อัตราการเสียชีวิตจากโรคปอดบวมในสงครามโลกครั้งที่ 1 18%)
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
หากจะเปรียบเทียบการทำงาน กลไกของยาฆ่าเชื้อกลุ่มนี้ ... ก็คงเหมือนสำนวนไทยที่ว่า *หนามยอก เอาหนามบ่ง*
. . . อารมณ์ประมาณว่า ติดเชื้อมาใช้ไหม?! ได้ !! ก็เอาเชื้อไปฆ่าสิ !!! 5555+ เห็นภาพเลย
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
ผมจะขออธิบาย โดยเอาโครงสร้างหลักของยา มาเล่าง่ายๆ นะครับ . . . .อันดับแรก ต้องเข้าใจก่อนนะ ว่า ยาก็คือ เคมีประดิษฐ์ อยากได้ฤทธิ์อะไร? ยังไง? แบบไหน? สร้างสรรค์ได้หมด ตามวิทยาการไปถึง (^,^)
.
ยากลุ่มนี้ เริ่มแรก เดิมที ไม่ทนต่อสภาวะกรด ในกระเพาะอาหาร จึงออกมาเป็น ยาฉีด อย่างเดียว นั่นคือ Penicillin G ... ปัจจุบันนี้ ก็ยังมีข้อบ่งใช้อยู่นะ หลายโรคเลย เช่น ซิฟิลิส เป็นต้น . . . . ตรงโครงสร้างยา ข้างซ้ายสุด นั่นคือ Benzyl gr.(วงหกเหลี่ยม นั่นละครับ) ตรงนี้แหละ ที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำออกเป็นยาฉีด
.
. . .
. . . . .
. . . . . . .
...ต่อมา
มีการพัฒนาต่อยอด ตัดเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านซ้ายให้ทนต่อกรดได้มากขึ้น โดยทำเป็น Phenoxyl gr.(เป็น e-withdrawing gr. ตัวยาคงทนต่อกรดมากกว่า Pen G สามารถให้โดยการกินได้) เลยกลายเป็นยา Penicillin V ในที่สุด
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
ตัวโครงสร้างที่ทำให้ยาทนต่อกรดในกระเพาะอาหารคือหมู่อะมิโน NH2 ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการแนะนำให้คนไข้ ร่วมมือในการทานยา เพราะจะกินก่อน หรือ กินหลังอาหารก็ได้ ขอข้อเดี่ยว !
คือ ... ให้คนไข้กินยาให้ครบตามวันที่กำหนด 10-14 วัน !
แต่ ไม่ว่าจะเป็น ทนกรด หรือ ไม่ทนกรด ตัวยาทั้งสอง ก็มีโอกาสดื้อยาสูงมาก เพราะ โครงสร้างยา ไม่ทนต่อ น้ำย่อยยา (Penicillinase) เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียสามารถสร้าง น้ำย่อยมาทำลายยา ในตำแหน่ง amide bond ใน *β-lactam ringได้
(*β-lactam ring เป็นป้อมปืนใหญ่ พื้นที่สีเหลืองๆ ที่ผมไฮไลท์ไว้ ตรงนี้ สำคัญมาก เพราะเป็นพื้นที่ออกฤทธิ์ของยา จะโดนทำลายไม่ได้....ถ้าโดนทำลาย จะเกิดดื้อยาทันที)
ในแง่ของการออกฤทธิ์
โดยปกติ ของการรักษาภาวะการติดเชื้อ คือ เราต้องมั่นใจก่อนว่า คนไข้คนนั้น ติดเชื้อจริงๆ หรือ อาจจะเป็นกรณีนี้ คือ คนไข้คนนี้ "เสี่ยง"ต่อการติดเชือนะ
สรุปคือ คนที่ควรได้รับยาฆ่าเชื้อคือ
1. คนที่ติดเชื้อแล้ว(ผ่านการซักประวัติจากแพทย์/เภสัช)
2. คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ(ผ่านการซักประวัติอีกนั่นละ)
_
___
.
..... ถ้าไม่ได้ติดเชื้อ แล้ว กินยาฆ่าเชื้อ....อาจจะส่งผลให้เชื้อตัวดีๆ มันตายไปด้วย เพราะ จากหลักการที่ผมเล่าให้ฟัง คือ "เราเอาเชื้อไปฆ่าเชื้อ" หรือ "หนามยอกเอาหนามบ่ง"
ฉะนั้นแล้วเนี้ยยยยย....เวลาเจ็บป่วยอะไร ผมแนะนำ ปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร ดีกว่าครับ
เวลาเราจะเลือกใช้ยานี้ ส่วนใหญ่ แล้วจะมีเหตุผลรองรับ หรือ ประกอบการตัดสินใจ เช่น
1. คนไข้ดื้อยา
2. คนไข้แพ้ยา
3. เงื่อนไขการใช้ยาของคนไข้เอง(เอาง่ายๆนะ คนไข้เรื่องมาก กินยายาก นุ้น นี้ นั้น 5555+)
พวกเรา บุคคลากรทางแพทย์ เรามี แบบประเมิน และ เทคนิคการซักประวัติอยู่ครับ .
______
__
ช่วงนี้อากาศแปรปรวน นอนก็ห่มผ้าหนาๆ ด้วยนะครับ
ด้วยความปรารถนาดีจาก... หมอยาแมวดำ (ของแท้ ต้องมีสระอานะครับ -า)
โฆษณา