29 ก.ย. 2021 เวลา 05:08 • ประวัติศาสตร์
*** กำเนิดไต้หวัน: White Terror ***
กำเนิดไต้หวัน: White Terror
...เรื่องที่ท่านจะได้อ่านต่อจากนี้ดีกว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมในจีนแผ่นดินใหญ่ไม่มาก ต่างจากเหตุสังหารหมู่เทียนอันเหมินไม่มาก ...หากมันเป็นสิ่งที่เกิดบนเกาะไต้หวันซึ่งไม่ค่อยมีใครพูดถึง...
ความเดิมจากตอนที่แล้ว... กองทัพจีนคณะชาติสามารถป้องกันการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์พร้อมกับก่อตั้งฐานที่มั่นชั่วคราวบนเกาะไต้หวันได้สำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ความทะเยอทะยานในการทำสงครามต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์และการพยายามครอบงำไต้หวันแบบไม่สนใจคนพื้นเมืองของจอมพล เจียงไคเช็ก กำลังจะนำดินแดนแห่งนี้เข้าสู่ยุคมืดของการปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารภายใต้กฎอัยการศึกเป็นเวลานานเกือบ 40 ปี
มันเป็นเวลาที่กองทัพสามารถชี้เป็นหรือตายประชาชน เพียงเพราะพวกเขากำลังสงสัยว่าคนเหล่านั้นเป็นสายลับของศัตรู ดั่งคำกล่าวที่ว่า “การจับกุมผู้บริสุทธ์นับร้อย ย่อมดีกว่าปล่อยให้ผู้ทรยศเพียงหนึ่งเดียวลอยนวล”
...มันเป็นเวลาที่ปัญญาชนถูกหาว่าเป็นสายลับ, สื่อถูกป้ายสีว่าเป็นผู้ปลุกปั่นความเท็จ, แม้แต่อาจารย์หรือนักเรียนก็สามารถกลายเป็นผู้ทรยศชาติ!
...นี่คือบททดสอบครั้งใหม่ซึ่งประวัติศาสตร์ของไต้หวันกำลังจะถูกเขียนด้วยหยดเลือดและหยาดน้ำตา…
หากท่านผู้อ่านที่รักพร้อมแล้ว... ผมขอนำท่านเข้าสู่ตอนที่สองจากซีรี่ย์ “กำเนิดไต้หวัน” ในช่วงเวลา “White Terror” หรือ “ความน่าสะพรึงสีขาว” กันเลยครับ
อนึ่งอันนี้เป็นบทความตอนแรก https://www.facebook.com/media/set/...
*** เมื่อสุนัขไป... หมูก็มา ***
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง เกาะไต้หวันได้ตกอยู่ใต้อิทธิพลของพรรคก๊กมินตั๋งที่ให้คำมั่นว่าจะเข้าพัฒนาคุณภาพชีวิตบนเกาะซึ่งได้รับผลกระทบจากไฟสงครามให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองยิ่งกว่าในสมัยที่ญี่ปุ่นปกครอง ทำให้ชาวไต้หวันต่างพากันยินดีปรีดา เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจากแผ่นดินใหญ่ที่เป็นคนจีนเหมือนกันจะให้ความช่วยเหลือพวกเขาด้วยความจริงใจ
ภาพแนบ: ทหารจีนคณะชาติระหว่างการรับมอบเกาะฟอร์โมซา(ไต้หวัน)คืน
ทว่าความจริงอันน่าเศร้าคือ… ผู้ปกครองกลุ่มใหม่ที่ถูกส่งมาบริหารกลับเป็นข้าราชการกังฉินที่เข้ามาฉกฉวยผลประโยชน์ตั้งแต่การผูกขาดระบบสาธารณูปโภค, การแต่งตั้งพรรคพวกขึ้นมาเป็นฝ่ายบริหารมาแทนที่ชาวไต้หวันเดิม, และเอาหูไปนาเอาตาไปไร่เมื่อลูกน้องปล้นชิงทรัพย์สินของคนท้องถิ่นแบบไม่อายฟ้าดิน
1
จนมีคำกล่าวว่า “เมื่อสุนัขไป... หมูก็มา!” เป็นการเปรียบเทียบว่าสมัยที่รัฐบาลของญี่ปุ่นปกครองนั้น แม้จะโหดร้ายเคร่งครัดเยี่ยงสุนัข แต่ก็ไม่มีการทุจริตระดับมโหฬารเหมือนหมูอย่างพรรคก๊กมินตั๋ง
ภาพแนบ: การประท้วงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1947
*** เหตุการณ์ 288 ***
ชาวไต้หวันต่างพยายามเก็บงำความเกลียดชังรัฐบาลใหม่เอาไว้ จนในปี 1947 (ก่อนการอพยพครั้งใหญ่ของเจียงไคเช็ก) เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตรวจสอบการค้าและตำรวจบันดาลโทสะทำร้ายแม่ค้าขายบุหรี่รายหนึ่งซึ่งพยายามจะขอสินค้าที่ถูกยึดคืน ทำให้ประชาชนแสดงความไม่พอใจพร้อมเดินเข้าไปรุมต่อว่าเจ้าหน้าที่ แต่สถานการณ์กลับบานปลายจนมีผู้เสียชีวิตจากกระสุนของทางการหนึ่งราย
เหตุการณ์ดังกล่าวลุกลามไปสู่การประท้วงกลางกรุงไทเปในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1947 เพื่อกดดันให้ทางการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ ก่อนที่การประท้วงอย่างสงบจะกลายเหตุจลาจลเมื่อทหารเปิดฉากยิงใส่ผู้ชุมนุม ขณะที่ฝ่ายผู้ชุมนุมก็รุมประชาทัณฑ์เจ้าหน้าที่การค้า 2 รายซึ่งเดินทางผ่านจุดประท้วงจนเสียชีวิต
เมื่อเห็นว่าเจ้าหน้าที่รัฐพร้อมที่จะประหัตประหาร เหล่าประชาชนผู้คั่งแค้นจึงเริ่มใช้กำลังเข้ายึดสถานที่ราชการ, ทำลายอาคารบ้านเรือนต่างๆ, และสังหารชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เพื่อล้างแค้นต่อการถูกกดขี่มาตลอดระยะเวลา 3 ปีอย่างสาสมใจ!
ภาพแนบ: ภาพวาดบรรยายความโหดร้ายของการกวาดล้างกลุ่มต่อต้านโดยทหาร
นอกจากนี้ยังมีความพยายามปลุกระดมให้มี “การปฏิวัติประชาชนบนเกาะ” ผ่านสถานีวิทยุ ทำให้ฝ่ายประชาชนสามารถยึดครองพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียงไม่กี่วัน จากนั้นกองกำลังอาสาจึงนำเสนอ “ข้อเรียกร้อง 32 ประการ” ที่มีใจความสำคัญคือ “ให้จัดการเลือกตั้งรัฐบาลท้องถิ่นอย่างโปร่งใสและกระจายอำนาจการบริหารจากส่วนกลาง”
โดยในช่วงแรกรัฐบาลก๊กมินตั๋งก็ทำทีโอนอ่อนไปกับข้อเสนอเหล่านี้ เพื่อรอนำกำลังเสริมจากแผ่นดินใหญ่มาสมทบกับทหารบนเกาะภายใต้การควบคุมของนายพลเฉินอี้จอมอื้อฉาว
ต่อมาเมื่อพวกเขาได้รับกำลังเสริมแล้ว เฉินอี้จึงอนุมัติการสังหารผู้ต่อต้านแบบไม่เลือกวิธีการ! จนมีผู้เสียชีวิตจากเหตุถูกยิงบนท้องถนน, การบุกยิงในเคหะสถาน, การทรมานผู้ต้องสงสัยรวมถึงการข่มขืนอย่างน้อย 10,000 ราย (บางแหล่งเชื่อว่าตัวเลขแท้จริงอาจสูงกว่าจำนวนดังกล่าวอีกเท่าตัว)
1
*** กฎอัยการศึกชั่วอายุคน ***
แม้การประท้วงในไต้หวันจะถูกปราบจนสงบราบคาบ …แต่สถานการณ์บนแผ่นดินใหญ่ของฝ่ายก๊กมินตั๋งกลับอยู่ในขั้นวิกฤต หลังกองทัพรัฐบาลประสบความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องส่งผลให้จอมพลเจียงไคเช็ก ตัดสินใจถอยหนีไปตั้งหลักยังเกาะไต้หวัน โดยเริ่มภารกิจการอพยพในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ปี 1948 จนถึงปลายปี 1949
ในระหว่างนั้นเจียงได้ประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 20 พฤษภาคม 1949 ด้วยเหตุผลยอดนิยมของเผด็จการแห่งโลกเสรีคือ “การปกป้องความมั่นคงของชาติและจัดการกับปฏิปักษ์ของรัฐโดยเฉพาะสายลับของพวกคอมมิวนิสต์ที่แฝงตัวมาจากแผ่นดินใหญ่” พร้อมมอบหมายให้กองทัพเป็นผู้ดูแลความสงบตั้งแต่การประกาศเคอร์ฟิวตอนกลางคืน, ห้ามประชาชนก่อตั้งพรรคหรือมีส่วนร่วมทางการเมืองไปจนถึงห้ามการแสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐ เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนคิดกระทำการใดๆ เหมือนที่เกิดขึ้นในปี 1947 อีก
ภาพแนบ: ภาพของสิ่งพิมพ์ต้องห้ามที่ถูกนำมาจัดแสดงในเกาหลี เพื่อเผยแพร่เรื่องราวของ White Terror ในต่างแดน
*** ปิดปากสื่อ... ปิดตาประชาชน ***
การปิดตาประชาชนเริ่มจากการปิดปากสื่อมวลชน เนื่องจากมีการมองว่าคนกลุ่มนี้สามารถกระจายข่าวอันเป็นภัยต่อรัฐบาล รัฐจึงบังคับให้หนังสือพิมพ์ทุกฉบับตีพิมพ์ครั้งละไม่เกิน 6 หน้า นอกจากนี้เนื้อหาในเล่มจะถูก “คัดกรองอย่างเข้มงวด” โดยมีการบังคับให้กองบรรณาธิการปรับเปลี่ยนเนื้อหาประหนึ่งการสั่งซ้ายหัน ขวาหัน
นอกจากจะเข้าควบคุมพื้นที่สื่อให้ออกข่าวไปในทางเดียวกันแล้ว… ทางรัฐบาลยังเปิดกิจการหนังสือพิมพ์เพื่อเชิดชูตนเอง พร้อมกับด้อยค่าฝ่ายตรงข้ามชนิดที่ไม่เหลือช่องทางให้ผู้ถูกโจมตีตอบโต้
ภาพแนบ: คุกจึ๋งเหม่ย ซึ่งเคยถูกใช้เป็นที่คุมขังผู้ต้องสงสัยในช่วง White Terror ปัจจุบันใช้เป็นอุทยานวัฒนธรรมสิทธิมนุษยชน เพื่อรำลึกถึงความเลวร้าย
*** กระแสโลกที่เกื้อหนุนเผด็จการ ***
แม้เรื่องนี้จะเลวร้ายแต่ต้องยอมรับว่าวิธีการดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติ ณ เวลานั้น เนื่องจากการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกาและโลกสังคมนิยมใต้ปีกสหภาพโซเวียตกำลังดำเนินไปอย่างดุเดือด ส่งผลให้รัฐบาลเผด็จการจำนวนมาก สามารถใช้กำปั้นเหล็กปกครองประเทศแบบเบ็ดเสร็จตามอำเภอใจ ขอเพียงสนับลูกพี่ใหญ่ข้างใดข้างหนึ่ง ลูกพี่ใหญ่ก็พร้อมปิดหูปิดตาต่อการกระทำของพวกเขา
ภาพแนบ: ถิง เย่า เถา (Ting Yao-tiao) หนึ่งในเหยื่อที่ถูกรัฐบาลตั้งข้อสงสัยว่าเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับฝ่ายคอมมิวนิสต์ ก่อนที่เธอจะถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า
*** ขบวนการล่าแม่มด ***
อีกหนึ่งกลยุทธที่ภาครัฐใช้เพื่อปกครองคือการสนับสนุนให้ประชาชนช่วยกันสอดส่องพฤติกรรมของคนใกล้ชิดทั้งในครอบครัว, ที่ทำงาน, หรือสถานศึกษา เพื่อมองหา “ผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์” จากนั้นทางการจะเข้าจับกุมบุคคลที่ “ต้องสงสัย” เพื่อนำตัวมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในศาลทหาร!
ผู้ต้องหาจะถูกบังคับให้สารภาพว่าตนนั้นกระทำการอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติด้วยสารพัดวิธีการทรมาน ก่อนที่ทางเจ้าหน้าที่จะเริ่มหว่านล้อมข้อเสนอลดโทษสุดพิเศษ ผ่านการซักทอดรายชื่อผู้ร่วมขบวนการคนอื่นๆ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่กระบวนการล่าแม่มดนี้จะทำให้ประชาชนกว่า 20,000 รายกลายเป็นเหยื่ออธรรม
1
โดยหนังสือชื่อ “The Sin of Descent” ได้บันทึกว่าความผิดส่วนใหญ่นั้น มีตั้งแต่การอ่านวรรณกรรมซึ่งถูกรัฐตีตราว่าเป็นงานเขียนนิยมซ้าย, การแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ถูกจับกุม, รวมถึงการขับร้องเพลงพื้นบ้านจากแผ่นดินใหญ่ที่ถูกใช้โดยพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งขบวนการดังกล่าวไม่ได้ถูกจำกัดเพียงชาวไต้หวัน แต่ยังลามมาถึงผู้อพยพจากแผ่นดินใหญ่และนักเรียนจากต่างแดนที่ถูกรัฐบาลมองว่าเป็นผู้นำภัยคุกคามมาสู่ประเทศ
ยุคสมัยแห่งความหวาดกลัวนี้ถูกเรียกภายหลังว่า “ความน่าสะพรึงกลัวสีขาว” หรือ White Terror มันมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับการกดขี่ภายใต้เผด็จการคอมมิวนิสต์ (ที่มักถูกแทนด้วยสีแดง) ว่าเผด็จการของโลกทุนนิยม (ที่แทนด้วยสีขาว) ก็ชั่วร้ายได้ไม่แพ้กัน
*** ขอตัดเข้าสู่ช่วงโฆษณา***
ว่าหนังสือ “สุริยันพันธุ์เคิร์ด” หรือหนังสือเล่มใหม่ของผมออกแล้วนะครับ มีรายละเอียดดังนี้...
- เรื่องนี้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ชาวเคิร์ด ผลงานเล่มล่าสุดในชุด The Wild Chronicles
- พิมพ์เป็นสี่สี!
- ยาวที่สุดเท่าที่พิมพ์มา ยาวกว่าพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติราว 2 เท่า
- รูปโหดๆ ที่ทำให้เข้าใจสถานการณ์ดีขึ้น จะไม่เซนเซอร์ แต่จะรวมอยู่ท้ายเล่ม และมีคำเตือนก่อน
- มีลายเซ็นทุกเล่ม!
- ราคา 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว
ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link แนบได้เลย
(ถ้าเป็นสมาชิกกลุ่ม illumicorgi ระดับ Corgi Master ขึ้นไป จะมีหนังสือส่งให้อยู่แล้วนะครับ)
อนึ่งชาวเคิร์ดเป็นชนกลุ่มน้อยในตะวันออกกลาง มีราว 30 ล้านคน หากไม่มีประเทศของตนเอง พวกเขาแตกเป็นหลายส่วนและถูกกดขี่อย่างหนัก แต่การถูกกดขี่เคี่ยวกรำนั้นทำให้พวกเขากลายเป็นนักรบที่เก่งกาจ
หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องราวของชาวเคิร์ดตั้งแต่ยุคตำนานจนถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีความพีคแล้วพีคอีก ผ่านสงครามใหญ่ๆ มากมาย เช่นสงครามอิรัก - อิหร่าน, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามปราบซัดดัม, สงครามกลางเมืองอิรัก, สงครามปราบกลุ่มก่อการร้าย แต่ละสงครามที่ว่ามานี้มีสเกลใหญ่เป็นรองแค่สงครามโลก
ชาวเคิร์ดมีส่วนร่วมในสงครามเหล่านี้ทั้งหมดในฐานะชนกลุ่มน้อยที่ไม่รวยแต่รบเก่ง พอมีคนมาติดอาวุธให้เลยมักกลายเป็นไพ่โจ๊กเกอร์ที่เปลี่ยนผลชี้ขาดของสงคราม
อย่างไรก็ตามศัตรูอันดับหนึ่งของชาวเคิร์ดคือเผด็จการซัดดัม ฮุสเซนนั้นก็โหดมาก โหดโคตรๆ ใครเคยอ่านพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ หรือเชือดเช็ดเชเชน ผมบอกได้ว่าไอ้นี่ก็โหดไม่แพ้กัน หรือเผลอๆ โหดกว่า ดังนั้นการต่อสู้ของชาวเคิร์ดมันจึงเป็นเรื่องที่หลอนและดุเดือดมากๆ
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่ผมได้ไปเยือนดินแดนเคอร์ดิสถานอิรัก (และหนีมิสไซล์มา) เมื่อต้นปี 2020 เพื่อนชาวเคิร์ดที่ผมสัมภาษณ์ทุกคนเป็นผู้รอดชีวิตจากทุกสงครามข้างต้น ทำให้มีข้อมูล ความเห็น และมุมมองของคนต่างๆ ที่ลึกกว่าในตำรา แน่นอนว่าประสบการณ์ของพวกเขาดาร์คมาก แต่เขาหลายคนไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายขนาดนั้น พวกเขาตีความสิ่งที่พบเจออย่างไร ลองตามอ่านดูนะครับ
"สุริยันพันธุ์เคิร์ด" ตั้งใจพิมพ์เป็นสี่สี เป็นหนังสือที่ยาวที่สุดตั้งแต่ผมเขียนสารคดีชุด The Wild Chronicles มา
อีกครั้งนะครับ ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์หนังสืออย่างเดียว สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link นี้ได้เลย 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว (ในประเทศ) ถ้าบางท่านอยู่ต่างประเทศมีค่าส่งพิเศษจะแจ้งอีกที
*** ก่อนจะไปติดตามตามเรื่องราวของ White Terror ต่อ ***
เราขอเสนอหนังสือเรื่องประวัติย่อก่อการร้าย War on Terror พิมพ์ครั้งก่อนขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว จะพิมพ์ใหม่ปลายปีนี้ ตอนแรกว่าใกล้ๆ เสร็จแล้วค่อยทำโปร แต่เหตุการณ์ในอัฟกานิสถานและรำลึก 9/11 ทำให้มีคนถามมาเยอะเหลือเกิน เลยเปิดให้จองก่อนนะครับ
- หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องประวัติของขบวนการก่อการร้ายสากลตั้งแต่ยุคอัลเคดามาต่อ ISIS
- ผมตั้งใจจะเพิ่มเนื้อหาให้อัพเดทถึงปัจจุบัน
- พิมพ์เป็นสี่สีแน่นอน
- ปกพิมพ์สีเมทัลลิก ปั้มนูนและปั้มเงินที่ชื่อเหมือนเล่มสุริยันพันธุ์เคิร์ด รับรองว่าสวยมาก เหมาะแก่การสะสม สำนักพิมพ์ The Wild Chronicles เราพิมพ์เองแล้วจะทำอะไรก็ได้ 555
- มีเซ็นลายเซ็นพิเศษประจำเล่มให้ครับ
- ราคาอยู่ที่ 389 บาท สั่งพรีออเดอร์ตอนนี้ลดเหลือ 369 บาท และฟรีค่าส่งในประเทศ (ปกติค่าส่ง 50 บาทครับ ส่วนต่างประเทศก็ตามจริง)
- สนใจชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย อนึ่งระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปแต่ช้าหน่อยนะครับ
ภาพแนบ: เจียงจิงกว๋อ บุตรชายของเจียงไคเช็กผู้พัฒนาเศรษฐกิจไต้หวัน และยกเลิกกฎอัยการศึก
*** จุดพลิกผันทางการเมือง ***
จุดเปลี่ยนสำคัญมาถึงเมื่อเจียงไคเช็กเสียชีวิตในปี ค.ศ 1975 ทำให้ตำแหน่งผู้นำประเทศถูกส่งต่อไปยังลูกชายอย่างเจียงจิงกว๋อ แม้เจียงจิงกว๋อจะเป็นเผด็จการแต่เขาก็มีแนวทางบริหารต่างจากบิดา โดยเน้นพัฒนาศักยภาพด้านเศรษฐกิจ รวมถึงเปลี่ยนนโยบายการต่อต้านจีนแผ่นดินใหญ่แบบสุดลิ่มทิ่มประตูในยุคของพ่อมาเป็นการช่วงชิงพื้นอันน้อยนิดที่เหลืออยู่บนเวทีโลก ภายหลังสหรัฐฯ หันมาผูกมิตรกับจีนแผ่นดินใหญ่
นอกจากนั้นเจียงจิงกว๋อยังอนุมัติแผนพัฒนาเส้นทางคมนาคมต่างๆ รวมถึงปฏิรูปที่ดินเพื่อการเพาะปลูกให้กับชาวไต้หวัน ทำให้ประเทศเจริญขึ้นเป็นอันมาก
(อนึ่งเจียงจิงกว๋อเป็นประธานาธิบดีคนที่สาม ประธานาธิบดีคนที่สองของไต้หวันคือ เหยียนเจียกั้น ผู้มารับตำแหน่งตามวาระที่เหลืออยู่ของเจียงไคเช็กตั้งแต่ปี 1975-1978 แต่ไม่มีบทบาทโดดเด่นนัก)
ภาพแนบ: ปกของนิตยสารฟอร์โมซา ซึ่งมีการตีพิมพ์ใหม่ในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์
*** แสงแห่งความหวัง ***
หลังยุคแห่งความหวาดกลัวของเจียงไคเช็กผ่านไป ปัญญาชนฝ่ายต่อต้านจำนวนหนึ่งก็แอบรวมตัวกันอย่างลับๆ ลักลอบตีพิมพ์นิตยสารฟอร์โมซา (Formosa Magazine) ที่มีเนื้อหาวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของรัฐบาลอย่างเผ็ดร้อนในช่วงฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1979
แม้จะเป็นเพียงการตอบโต้เชิงความคิดแต่เนื้อหาที่โดนใจคนไต้หวันก็ส่งผลให้ยอดขายนิตยสารดังกล่าวมีจำนวนมากกว่า 330,000 ฉบับในเวลาเพียงไม่นาน!
ภาพแนบ: การประท้วงที่เกาสงในปี 1979
*** จุดเริ่มต้นการต่อต้าน ***
นอกจากนี้ยังมีความพยายามจะจัด “งานฉลองวันสิทธิมนุษยชน” ในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1979 ก่อนมีการจะปะทะกับตำรวจควบคุมฝูงชน จนนำไปสู่การเผชิญหน้าที่จบลงด้วยการใช้แก๊สน้ำตาปราบปรามผู้ชุมชมในช่วงกลางคืน จนมีผู้ถูกจับกุมถึง 152 ราย
ภาพแนบ: แกนนำการประท้วงระหว่างการพิจรณาคดี
ในจำนวนนี้มีสมาชิกระดับแกนนำ 8 รายที่ถูกศาลตัดสินจำคุก 12 ปี ไปจนถึงตลอดชีวิต เนื่องพยายามล้มล้างการปกครองของรัฐบาลตามคำสั่งของพรรคคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตามผู้ต้องหาทั้งหมดยังสามารถร้องขอทนายเพื่อต่อสู้จนได้รับอิสรภาพในที่สุด เพราะรัฐบาลตัดสินใจลดทอนอำนาจเผด็จการลง
...การผ่อนคลายของเจียงจิงกว๋อ แม้ไม่ดีต่อกลุ่มอำนาจของเขาเอง แต่ในที่สุดแล้วกลับสร้างผลดีให้เกิดกับไต้หวัน...
ภาพแนบ: การเคลื่อนไหวดอกลิลลี่ป่าเพื่อเรียกร้องการเลือกตั้งตามระบบ ซึ่งนำมาสู่จุดสิ้นสุดของยุคเผด็จการ
*** ดอกลิลลี่ป่าที่เบ่งบาน ***
ระหว่างการดำรงตำแหน่งในสมัยที่สองประธานาธิบดีเจียงจิงกว๋อได้เริ่มผ่อนคลายกฎอัยการศึก รวมถึงอนุญาตให้มีการตั้งพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามอย่างพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (DDP) ในปี 1986 ก่อนจะประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกในปีถัดมา
...ถือเป็นการยุติความเจ็บปวดที่ชาวไต้หวันต้องเผชิญมานานเกือบ 40 ปี และจุดเริ่มต้นของถนนแห่งประชาธิปไตย...
จากนั้นในวันที่ 16 มีนาคม ปี ค.ศ. 1990 นักศึกษาจำนวน 9 คนได้รวมตัวประท้วงหน้าลานของอนุสรณ์สถานเจียงไคเช็ก เพื่อเรียกร้องให้เกิดการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร รวมถึงประธานาธิบดีจากเสียงของประชาชนโดยตรง แทนการแต่งตั้งจากสภาที่เต็มไปด้วยสมาชิกหน้าเดิมของพรรคก๊กมินตั๋ง (พวกเขาเรียกกันว่าสภาหมื่นปี เนื่องจากมีแต่นักการเมืองหน้าเดิมที่ยึดเก้าอี้กันจนแก่เฒ่า) ก่อนที่จำนวนผู้ประท้วงจะเพิ่มขึ้นเป็นหลักหลายแสนคน จนเหตุการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า “การเคลื่อนไหวดอกลิลลี่ป่า” เนื่องจากดอกลิลลี่นั้นจะยิ่งเบ่งบานเมื่อถูกเด็ดออก เสมือนการเตือนรัฐบาลว่าประชาชนจะมีพลังมากขึ้นหากรัฐยิ่งกดดัน
ภาพแนบ: อดีตประธานาธิบดีหลี่เติงฮุย ประธานาธิบดีผู้ได้รับการขนานนามว่า "ผู้วางรากฐานประชาธิปไตยของไต้หวัน"
*** ถนนสู่ประชาธิปไตย... ชัยชนะของประชาชน ***
พัฒนาการทางการเมืองที่รวดเร็วนี้ ส่งผลให้ประธานาธิบดีหลี่เติงฮุยซึ่งสืบอำนาจจากเจียงจิงกว๋อ ตัดสินใจเจรจากับตัวแทนฝ่ายประชาชนเพื่อเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตย พร้อมกับแสดงความจริงใจด้วยการสั่งปลดรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชนในยุค “ความน่าสะพรึงสีขาว” ออกจากตำแหน่ง พร้อมกับตั้งคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และยกเลิกบทบัญญัติต่อต้านคอมมิวนิสต์
แม้ว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ในภายหลังว่าเป็นเพียงการหาทางออกให้กับรัฐบาลที่กำลังประสบกับสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกจากแรงกดดันของประชาชน แต่ก็ถือเป็นก้าวที่สำคัญเพื่อปูทางสู่การเลือกตั้งซึ่งทำให้ชาวไต้หวันได้มีสิทธิมีเสียงเป็นครั้งแรกในวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1996 โดยนายหลี่เติงฮุยยังคงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งเป็น “ประธานาธิบดีตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย” และกลายเป็นผู้รับช่วงความพยายามพัฒนาประเทศของเจียงจิงกว๋อ (เสียชีวิตในปี 1987) พร้อมกับนำพาความฝันของประชาชนที่ต่อสู้เพื่อให้พวกเขากลายเป็น “เสรีชนบนแผ่นดินที่ตนเองอาศัยอย่างเต็มภาคภูมิ”
*** บทสรุป ***
บทความนี้ต้องการให้ท่านเห็นถึงพัฒนาการของความรุนแรง นับตั้งแต่วันแรกที่รัฐบาลก๊กมินตั๋งกดขี่ “ประชาชนใต้ปกครอง” อย่างโหดเหี้ยมในเหตุการณ์สังหารหมู่ 288
...ก่อนที่พวกเขาจะนำประเทศเข้าสู่การปกครองด้วย”กำปั้นเหล็ก” เป็นเวลาเกือบ 40 ปี... ส่งผลให้มีผู้ถูกพรากอิสรภาพมากกว่า 20,000 คนและมีผู้ต้องสังเวยชีวิตราว 3,000 ถึง 4,000 ราย แม้ในจำนวนนี้จะมีผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์และผู้ประพฤติตนเป็นภัยต่อความมั่นคงอยู่จริง แต่ผู้เคราะห์ร้ายส่วนมากคือผลพวงของปฏิบัติการที่เน้นการสร้างความหวาดกลัวให้สังคม เพื่อสร้างบรรยากาศให้รัฐสามารถเข้ามาปกครองอย่างง่ายดาย
ดังนั้นเรื่องราวที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า… เมื่อใดที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมองว่าตนเป็น “คนดีผู้กุมความชอบธรรมแต่เพียงผู้เดียว” โดยไม่สนใจผู้เห็นต่าง “ความดี” นั้นย่อมถูกเปลี่ยนเป็นการใช้กำลังบังคับขู่เข็ญจนกลายเป็นความน่าสะพรึงกลัวในที่สุด...
“...ดังที่สิ่งนี้เคยเกิดขึ้นจากน้ำมือของรัฐบาลที่อ้างตนว่าเป็นผู้ปกป้องประเทศ และเป็นพันธมิตรแห่งโลกเสรีนั่นเอง…”
::: แหล่งที่มา :::
www (ดอต) nhrm (ดอต) gov(ดอต) tw/en/content_88 (ดอต) html
oftaiwan (ดอต) org/history/white-terror/formosa-incident/
republicofchinaclub (ดอต) quora (ดอต) com/In-Memory-of-President-Yen-Chia-kan-嚴家淦總統
thepeople (ดอต) co/chiang-kai-shek-imposed-longest-martial-law/
adaymagazine (ดอต) com/wild-lily-student-movement
thediplomat (ดอต) com/2020/08/the-glorious-
contradictions-of-lee-teng-hui/
international (ดอต) thenewslens.com/article/136001
::: ::: :::
สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
โฆษณา