Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
WhoChillDay
•
ติดตาม
29 ก.ย. 2021 เวลา 08:01 • สิ่งแวดล้อม
โมเดลล้างป่าช้าขยะ จังหวัดอุดรธานี !!!
“อ.เอ” วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภา ย่องเยี่ยมชมการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนระดับจังหวัดที่อุดรธานี
ยกเป็นโมเดลล้างป่าช้าขยะ !!
“ขยะเปียกทำปุ๋ย - ขยะพลาสติกทำน้ำมัน – ขยะสารพันทำแท่งเชื้อเพลิง จากขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้”
โดยขยะเทศบาลจากทั่วอุดรธานีถูกรถขนขยะนำส่งมาจัดการ
ที่โรงคัดแยกขยะ
และผลผลิตขยะจะกลับออกไปเป็นแท่งเชื้อเพลิง ที่โรงไฟฟ้าพลังขยะต้องการราว 30% ของปริมาณขยะสดที่ส่งเข้ามา
ถ้าเป็นกรณีปกติ ในอดีตก็แปลว่าขยะอีกถึง 70% ต้องเอาไปฝังกลบ
แต่ขยะเทศบาลอุดรธานี...ฝังกลบน้อยมาก !?
เน้นดึงอินทรียวัตถุในขยะออกมาทำวัสดุบำรุงดิน หรือทำสารปรับคุณภาพดินได้อีกตั้ง 60% และอีก 10% ยังอุตส่าห์ค้นเจอวัสดุต่าง ๆ ในกองขยะรีไซเคิลอีกด้วย
ทำให้เหลือขยะลงหลุมฝังกลบน้อยมาก ซึ่งเป็นขยะที่ยังไม่รู้ว่าจะนำกลับมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างในเวลานั้น
นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายว่า จะงัดหลุมฝังกลบขยะเก่า ๆ กว่า 20 ปีที่ถูกฝังอยู่ตรงจุดนี้ขึ้นมาคัดแยกให้หมดด้วย !!
1
1
“ได้บุญกุศลต่อแผ่นดินแน่นอน เพราะเสมือนล้างป่าช้าขยะดีๆ นี่เอง”
1
2
เป็นเหตุผลสำคัญที่ อ.เอ - วีระศักดิ์ ต้องแล่นออกจากรัฐสภา บินไปขอดูให้เห็นกับตา แถมรีวิวโมเดลล้างป่าช้าขยะให้ด้วยซะเลย
เผื่อจังหวัดไหนสนใจก็มาปักหมุดเยี่ยมชม – หยิบยกไปเป็นโมเดลจัดการขยะในจังหวัดตนเองได้
การเดินทางจากตัวเมืองอุดรธานีถึงบ่อขยะ !?
ขับรถออกจากตัวเมืองอุดรธานี มาถึงบ่อขยะดั้งเดิมของจังหวัด ใช้เวลาเดินทางราว 35 นาที
ทางเข้ายังขรุขระมีหลุมบ่อบ้าง แต่เมื่อเข้าไปถึงที่ตั้ง ก็จะพบขบวนรถขยะเทศบาลจากที่ต่าง ๆ ทยอยกันเข้ามาส่งของลง และมีรถสิบล้อพ่วงมารับเชื้อเพลิงที่เรียกว่า RDF ออกไปไม่หยุดทั้งวัน
ใต้ผืนดินละแวกนี้ เป็นบ่อฝังกลบขยะเทศบาลขนาดราว 300 ไร่ ที่สะสมขยะสารพันมาราว 20 ปี
คาดว่ามีปริมาณขยะใต้ดินอยู่ถึง 1 ล้านตัน!!
ไม่ต้องตกใจ ๆ เพราะมั่นใจว่าเทศบาลนครในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็มีแบบนี้แหละ เพียงแต่มันไกลหูตา ห่างจากความสนใจของผู้คนเท่านั้นเอง
แต่ลองมาคิดดูกันว่า.. ทั่วประเทศทุกเทศบาลรวมกันมาตลอด 40 กว่าปี ของการก้าวสู่สังคมบริโภค และอุตสาหกรรมนิยมนั้น เรามีซากขยะหมักใต้แผ่นดินคิดเป็นปริมาณเท่าใด ?
และบัดนี้กองทับกันเข้าไปใหม่วันละน้อยลงหรือไม่ ?
คำตอบ คือ ไม่ แถมมีการผลิตขยะรายหัวยังเพิ่มขึ้นอีกต่างหาก ยิ่งในสถานการณ์โควิด – 19 อัตราการใช้พลาสติกและการทิ้งขยะก็สูงขึ้น
1
ขยะเทศบาลอุดรธานีจุดนี้ !?
เปิดดำเนินการมาได้ 2 ปี พนักงานทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน และในอนาคตเมื่อระบบสนับสนุนสมบูรณ์ตามแผน น่าจะเปิดทำงาน 24 ชั่วโมง พนักงานเพิ่มเป็น 3 กะ แบ่งเป็น 3ชุด สลับหมุนเวียนกันไป
สำหรับสถิติการกำจัดขยะ ราว 10 % ของกองภูเขาขยะนี้
ถ้าคุ้ยดีๆ จะเจอวัสดุที่พอรีไซเคิลได้ราว 5%
อีก 5% คือ ของที่ยังเอาเข้าโรงคัดแยกขยะไม่ได้..สุ่มเสี่ยงทำให้เครื่องจักรพัง !!
ไม่ว่าจะเป็นเศษแห ตาข่าย เชือก สแลนบังแดด ที่นอนเก่าๆ เน่าๆ ยางรถ สายพาน
และเดี๋ยวๆๆ อาจจะเจอวัตถุระเบิด หรืออาวุธที่มิจฉาชีพโยนทิ้งติดขยะมาด้วย
อีกทั้งต้องคอยระแวงระวังขยะติดเชื้อ ขยะอันตรายต่างๆ อาจหลงรอดติดเข้ามา
เสน่ห์ของเรื่องอยู่ตรง !?
60% ของภูเขาขยะ จะกลายไปเป็นปุ๋ยหรือวัสดุปรับปรุงดิน เพราะขยะเทศบาลนั้นมีสารอินทรีย์ ซากพืช เศษอาหาร เศษซากจากเนื้อ และกระดูก หรือก้างปลาเยอะทีเดียว
30% ของภูเขาขยะ กลายเป็นแท่งอัดของเชื้อเพลิง หรือ RDF (Refuse Derived Fuel) ซึ่งส่วนมากมาจากเศษขยะพลาสติกอัดกันเป็นก้อนเป็นแท่งสำหรับส่งเข้า “เตาไฟของโรงไฟฟ้า”
สุดแต่ว่าจะเอาไปเผาเอาความร้อนแทนเชื้อเพลิง อย่างน้ำมันเตา น้ำมันดีเซล หรือจะเผาอย่างแท่งฟืนก็ว่าไป ที่มุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ หรือ LCC (Low Carbon City Program)
แถมยังมี MOU กับบริษัทของเกาหลีใต้ !! จับมือศึกษาการนำก๊าซต่างๆจากหลุมขยะขึ้นมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า
ตามแนวคิด “กลไกการพัฒนาที่สะอาด”
CDM - Clean Development Mechanism
แปลว่างานนี้ สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้เงินมาเสริมอีกทางด้วย เนื่องจากการเปลี่ยนขยะมูลฝอยให้เป็นเชื้อเพลิงได้จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจก และตลาดซื้อขายคาร์บอนของโลกต่างรอซื้อกันอยู่มาก
“พวกกิจการที่ยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะถูกกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ”
การคัดแยกพลาสติกออกมาจากภูเขาขยะ !?
เจ้าของโครงการสามารถเลือกที่จะไม่อัดแท่ง แต่เอาพลาสติกไปเข้า หม้ออบหลอม คือ อบด้วยความร้อนสูง
เพื่อได้ผลผลิตออกมาเป็นน้ำมัน อัตราการแปรรูปที่เทคโนโลยีปัจจุบันทำกันได้ คือ ขยะพลาสติกที่คัดแล้ว 1 ตัน จะกลั่นออกมาได้เป็นน้ำมันราว 500 ลิตร
เมื่อปรับคุณภาพแล้วสามารถใช้น้ำมัน !! ไปเติมเครื่องจักรในภาคเกษตรก็ได้ ใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องกำเนิดไฟฟ้าก็ได้
หรือบางวัดใช้เผาศพ อย่างจังหวัดกาญจนบุรี
" ราคาประหยัดกว่า – ได้ผลอย่างเดียวกัน "
ในส่วนขยะสดที่เอาไปทำวัสดุปรับปรุงดินนั้น !?
ได้ทดลองให้สหกรณ์การเกษตร มารับไปใช้ในพื้นที่เพาะปลูก และมีการตรวจติดตามผลว่า “ดินเดิม ” ของแต่ละพื้นที่เป็นอย่างไร
ขาดอะไร หรือต้องชดเชยอะไรบ้าง เพื่อให้ปลูกพืชได้งามขึ้น
ปรากฎว่าผลผลิตดีมาก จากการปรับสูตรจุลินทรีย์ที่ใช้หมักกองขยะอินทรีย์ให้เหมาะกับพืชผลแต่ละชนิดนั่นเอง
ต้องขอปรบมือรัว ๆ ให้ “การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนระดับจังหวัดของอุดรธานี” ที่พลิกกองขยะไร้ค่า สร้างมูลค่ามหาศาลคืนกลับชุมชน สังคม และประเทศชาติ
2
ขอบคุณที่เข้ามาติดตามอ่านทุกเรื่องราว
และเข้ามาทักทาย WhoChillDay นะคะ
#WhoChillDay #อ.เอ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์
#ขยะสิ่งแวดล้อม #วุฒิสภา #โมเดลล้างป่าช้าขยะอุดรธานี
3 บันทึก
29
29
11
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เลาะรั้วการเมือง
ลัดเลาะทั่วไป
3
29
29
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย