30 ก.ย. 2021 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
สรุป 5 กลยุทธ์สร้าง Shopee จากไม่มีใครรู้จัก สู่แอปช็อปปิงชื่อดัง
3
“ย้อนกลับไป 7 ปีที่แล้ว ตอนนั้นเมืองไทยยังไม่ค่อยเข้าใจเลยว่า Cashless Society คืออะไร
วงการช็อปปิงออนไลน์ก็ยังเป็น PC Based ทำกิจกรรมกันด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
และก็ยังไม่ได้มีใครพัฒนาแพลตฟอร์มช็อปปิงออนไลน์บนสมาร์ตโฟนกันอย่างจริงจัง”
6
นี่เป็นประโยคบางส่วนสะท้อนถึงโอกาสของการทำธุรกิจในช่วงเวลานั้นของ คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ CEO ของบริษัท Sea (ประเทศไทย) พร้อมกับเล่าต่อว่า..
“ช่วงเวลานั้น เรามองเห็นภาพ Mobile First คือเชื่อว่าสมาร์ตโฟนจะเข้ามามีบทบาทสร้างความสะดวกสบายในชีวิตคนเรามากขึ้น ช่องว่างตลาดมีอยู่แล้ว เราเลยเข้ามาพัฒนาแอปพลิเคชันช็อปปิงออนไลน์เป็นเจ้าแรกชื่อว่า Shopee ที่เรียกได้ว่าเป็น Nobody ของตลาดเลยในตอนนั้น”
แล้วจากแอปพลิเคชัน Nobody ในวันนั้น..
Shopee กลายมาเป็นแอปพลิเคชันอันดับต้น ๆ ของวงการช็อปปิงออนไลน์ได้อย่างไร ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
ย้อนกลับไปที่ Day 1 จุดเริ่มต้นของธุรกิจเมื่อปี 2014
Shopee พยายามตีโจทย์การเป็นแอปพลิเคชันช็อปปิงออนไลน์ให้แตกด้วย 2 หลักสำคัญนั่นคือ
1. Define Unmet Need คือการค้นหาความต้องการที่ยังไม่มีใครตอบสนองให้
2. User Experience คือทำอย่างไรให้คนรู้สึกว่าใช้ของเราแล้วจะมีความสุขที่สุด
และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น กลายมาเป็น 5 กลยุทธ์ที่ปลุกปั้น Shopee จนประสบความสำเร็จ นั่นก็คือ..
1. Shopee ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานด้วย สมาร์ตโฟน อย่างแท้จริง
1
เมื่อเชื่อว่าเทรนด์ “Mobile First” ต้องมาแน่นอน Shopee จึงถูกออกแบบด้าน User Experience (UX) และ User Interface (UI) เพื่อให้ใช้งานบนมือถือเป็นหลักมาตั้งแต่แรก จึงง่ายในการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน
1
2. Shopee ถูกพัฒนาให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานทั้งฝั่งผู้ซื้อ และผู้ขาย
ขณะที่เจ้าอื่นในตลาดกำลังให้ความสำคัญในฝั่งผู้ซื้อ
Shopee กลับมองเห็นความสำคัญของผู้ใช้งานทั้ง 2 ฝั่งคือ ผู้ซื้อและผู้ขาย
และเลือกตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานทั้ง 2 ฝั่ง เพื่อให้เกิดผลกระทบด้านเครือข่ายที่ดีต่อธุรกิจ
จึงไม่แปลกใจ หากจะเห็นฟีเชอร์ต่าง ๆ ที่เข้ามาช่วยเหลือทั้งในฝั่งผู้ซื้อและผู้ขาย
1
ฟีเชอร์ฝั่งผู้ซื้อ เช่น
- Shopee Guarantee เพื่อสร้างความมั่นใจว่า หากไม่ได้รับสินค้า เรายินดีคืนเงินให้
- ฟีเชอร์ Chat เพื่อให้ผู้ซื้อคุยตรงกับผู้ขายได้เลย โดยไม่ต้องออกจากแอปพลิเคชัน
- ระบบการจ่ายชำระเงิน ShopeePay เพื่อปิดธุรกรรมการซื้อขายได้ภายในแอปพลิเคชัน เพิ่มความสะดวกให้มากขึ้น
1
ฟีเชอร์ฝั่งผู้ขาย เช่น
- เปิดสอนการขายออนไลน์ การใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ให้เกิดประสิทธิภาพในการขายมากที่สุด
หลังจากนั้น แอปพลิเคชัน Nobody ที่มีชื่อว่า Shopee ก็กลายเป็นแอปพลิเคชันชื่อดังที่มีฐานผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ
และอาจเรียกได้ว่าเป็นอีกแอปพลิเคชันที่ต้องเจอบนหน้าจอสมาร์ตโฟนของใครหลายคน
3. Shopee สามารถปรับตัวทันต่อโอกาสที่เข้ามาเสมอ
หลังจากทำธุรกิจไปได้ 2 ปี Shopee สังเกตเห็นความต้องการของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนไป
เช่น ผู้ใช้งานไม่ได้ต้องการแค่สินค้าราคาถูก แต่ยังต้องการสินค้าแบรนด์ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
ทำให้ Shopee ปรับรูปแบบบริการจากเดิมที่เป็น Marketplace แบบ C2C
เริ่มขยับขยายช่องทางช็อปปิงออนไลน์แบบ B2C ที่เรียกว่า “Shopping Mall”
ซึ่งก็สอดรับกับความต้องการของผู้ประกอบการสินค้าแบรนด์ต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าสู่โลกออนไลน์มากขึ้น
1
ขณะเดียวกัน กลุ่มผู้ขาย SME ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
Shopee ก็กลับมาตั้งคำถามว่า ควรจะทำอะไรเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้งานกลุ่มนี้ได้อีกบ้าง
คำตอบก็คือ รูปแบบบริการคลังเก็บสินค้า และบริการบริหารสินค้าคงเหลือ
เพื่อให้ธุรกิจค้าขายดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่นมากที่สุด
สังเกตไหมว่าทั้งหมดนี้ Shopee กำลังพยายามสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ
เพื่อตอบโจทย์สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการให้ได้มากที่สุด นั่นเอง
4. Shopee สร้าง Engagement กับผู้ใช้งานเสมอ
โจทย์ของ Shopee คือพยายามสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน
ให้เป็นเสมือนเพื่อนที่สามารถพบเจอกันได้ตลอดเวลา ใครที่ว่าง ๆ ก็เข้ามาเล่นในแอปพลิเคชันได้
ไม่จำเป็นว่าจะต้องเข้าแอปพลิเคชัน Shopee แค่การซื้อขายสินค้าเพียงเท่านั้น
จึงไม่แปลกใจ หาก Shopee จะมีสิ่งยั่วยวนต่าง ๆ ให้ผู้ใช้งานเข้าแอปพลิเคชันตลอดเวลา
เช่น Shopee Game, Shopee Coins, Shopee Free หรือ Shopee Live
จนทำให้ใครหลายคนในตอนนี้ ต้องเข้าแอปพลิเคชัน Shopee ในยามว่างไปเรียบร้อยแล้ว
5. Shopee เจาะตลาดแต่ละประเทศแบบ Deep Localization
ปัจจุบัน Shopee ให้บริการไปแล้วใน 7 ประเทศ
นั่นคือไทย, ไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, เวียดนาม และฟิลิปปินส์
แต่รู้หรือไม่ว่า แอปพลิเคชัน Shopee ในแต่ละประเทศเป็นเอกเทศ และไม่ได้เกี่ยวข้องกัน
เท่ากับว่าปัจจุบัน Shopee มีทั้งหมด 7 แอปพลิเคชันนั่นเอง
ทั้งนี้ ก็เพื่อการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานในแต่ละประเทศจริง ๆ
เช่น ถ้า Shopee ในประเทศไทย ต้องการลบหรือเพิ่มฟีเชอร์ ก็สามารถทำได้ทันที
โดยที่ไม่ต้องไปกังวลว่าจะไปกระทบกับ Shopee ในประเทศอื่นหรือไม่
2
ตัวอย่างฟีเชอร์ยอดนิยมในบ้านเราก็คือ Shopee Live
เพราะนอกจากจะเป็นฟีเชอร์ที่ถูกอกถูกใจฝั่งผู้ซื้อในยุคนี้แล้ว
Shopee Live ยังช่วยเพิ่มยอดขายให้ผู้ขายบางรายสูงถึง 30 เท่าเลยทีเดียว
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตอบโจทย์เรื่อง Engagement ที่ผู้ซื้อผู้ขายสามารถโต้ตอบกันได้เลยทันที นั่นเอง
มาถึงตรงนี้ จะเห็นได้ว่าทั้ง 5 กลยุทธ์สำคัญที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของ Shopee มาถึงทุกวันนี้ได้
ก็คือ การมองไปข้างหน้า และปรับตัวเข้าหาโอกาสอยู่เสมอ
ภายใต้แนวคิดสำคัญ 2 ประการที่ไม่มีวันตกยุคก็คือ Define Unmet Need และ User Experience นั่นเอง..
References
-บทสัมภาษณ์ คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ CEO ของ Sea (ประเทศไทย) -https://www.youtube.com/watch?v=c4MfwI5kuj4
โฆษณา