Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TechGuy
•
ติดตาม
30 ก.ย. 2021 เวลา 09:16 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Cell Broadcast เทคโนโลยีช่วยชีวิตผู้คน ที่ถูกลืม ?
วิกฤตการณ์น้ำท่วม หลายจังหวัด ในประเทศไทย ขณะนี้ ทำให้ครอบครัวจำนวนมาก ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
ปัญหาอย่างหนึ่ง ที่เห็นได้ชัด ก็คือ ปัญหาของ "ระบบการเตือนภัยล่วงหน้า" ที่ส่งผลให้ หนีน้ำไม่ทัน, อพยพขึ้นที่สูงไม่ทัน, เก็บของไม่ทัน, เครื่องใช้ไฟฟ้าไหลไปตามน้ำ , ทรัพย์สินเสียหาย หรือแม้กระทั่งติดค้างในหมู่บ้าน อย่างไม่ทันตั้งตัว
https://www.posttoday.com/social/local/631234
เช่น ในบางพื้นที่น้ำมาในตอนกลางคืน ตี 3 ตี 4 ไม่ได้รับการแจ้งเตือนอย่างทันท่วงที
จากที่ฟังข่าว มีผู้สูงอายุ และ ผู้ป่วยติดเตียง ด้วยคำถามคือพวกเขาเหล่านี้ จะอพยพขณะที่น้ำมาแล้วได้อย่างไร ?
หนึ่งในวิธีการที่เร็วที่สุดและมีประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนฉุกเฉิน ไปยังประชาชนในพื้นที่ก็คือ "Cell broadcast"
Cell broadcast คืออะไร? ทำงานอย่างไร?
Cell broadcast คือระบบการส่งข้อความแบบกระจาย จากเสาโทรศัพท์ ไปยังโทรศัพท์มือถือหลายเครื่องในพื้นที่ของเสาสัญญาณ พร้อมกันทั้งหมดในรอบเดียว
one - to - many
ข้อความฉุกเฉินนี้จะแตกต่างจาก SMS เพราะไม่ต้องระบุเบอร์โทรศัพท์ ทำให้สะดวกและรวดเร็วกว่ามาก
เร็วที่ว่าคือเร็วในระดับ ส่งถึงมือถือหลายล้านเครื่องในพื้นที่ได้ในเวลาไม่ถึง 10 วินาที
สามารถส่งข้อความได้สูงสุด 1395 ตัวอักษร ซึ่งเพียงพอต่อการแจ้งเหตุการณ์และวิธีการรับมือกับเหตุการณ์นั้นๆ
https://www.reddit.com/r/japan/comments/8w6g87/just_got_emergency_message_what_does_it_mean/
การกระจายข่าวแจ้งเตือนฉุกเฉินจะต้องทำโดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน และประสานงานกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
ทั้งนี้ ขณะกระจายข่าวแจ้งเตือนฉุกเฉินจะไม่กระทบกับช่องทางสื่อสารปกติหรืออินเตอร์เน็ต เพราะใช้คนละช่องทางกัน ( ส่วนใหญ่แล้ว Cell Broadcast จะใช้ Channel 50)
ระบบนี้สามารถทำงานได้โดยที่ ประชาชนไม่ต้อง โหลดแอพลิเคชั่น หรือ กดติดตาม ช่องทางโซเชี่ยลต่างๆ เพราะเทคโนโลยีนี้รองรับ ทั้ง 2G,3G,4G และ 5G
ตัวอย่าง วีดีโอ ทดสอบข้อความฉุกเฉิน ที่ได้รับบน Android
youtube.com
Emergency Alerting in England – Warning simulation exercise (Cell Broadcast Trials 2019) Samsung J5
Test Cell Broadcast message received in the UK (2019) on a Samsung J5#cellbroadcast #uk #samsung #emergencyalerts #pws #publicwarning
ตัวอย่าง วีดีโอ ข้อความฉุกเฉิน ที่ได้รับบน iPhone
youtube.com
(Most Popular Video) Wireless Emergency Alert Sound Effect (on iPhone 11)
Cell broadcast ไม่เพียงแต่ช่วยในเรื่องแจ้งเตือนน้ำท่วมเท่านั้น มันสามารถใช้ในเหตุการณ์หลายๆอย่างได้ เช่น แจ้งเตือนเหตุกราดยิง, แก๊สรั่วในพื้นที่, ไฟไหม้ที่อาจจะระเบิดในวงกว้าง ฯลฯ
3
ปัจจุบันประเทศไทยใช้เทคโนโลยีอะไรมาช่วยแก้ปัญหาบ้าง ?
การใช้เทคโนโลยีมาช่วยแจ้งเตือนน้ำท่วม นี้ พบว่ามีอยู่ 2 วิธีคือ
1) แอพลิเคชั่นรายงานสถานการณ์น้ำ
ทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการพัฒนาแอพลิเคชั่นในการรายงานสถานการณ์น้ำให้กับประชาชน ได้แก่
1. ThaiWater
2. DPM Reporter
3. WMSC
4. DWR4THAI
5. EWS DWR
PMOC
แอพลิเคชั่นเหล่านี้จะมีข้อมูลระดับน้ำ และแจ้งเตือนให้กับประชาชน ได้
ข้อจำกัดในการแก้ปัญหาด้วยแอพลิเคชั่น ก็คือ ประชาชนต้องโหลดแอพลิเคชั่น(ยอดโหลดน้อย) และแอพลิเคชั่นมีความไม่เสถียร ค้างบ่อย (จาก review ผู้ใช้งาน )
แอพลิเคชั่น DPM Reporter , DWR4THAI และ WMSC ไม่มีการพัฒนาต่อ มา 2-5 ปีแล้ว (อัพเดทล่าสุด 2016 และ 2019) ดูผ่านหน้าเว็ปของแต่ละองค์กรอาจจะดีกว่า
อีกทั้ง ข้อมูลบางประเภทภายในแอพ ไม่สามารถสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนได้ เพราะมี รายละเอียดเชิงลึกที่ต้องแปลผลข้อมูล
2) บริการ เตือนภัยธรรมชาติผ่านโทรศัพท์มือถือ ด้วย SMS (จากที่มีการทำ MOU กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ทั้ง 5 เมื่อปีที่แล้ว)
https://www.thansettakij.com/tech/447288
จากความเห็นของผมคิดว่าวิธีนี้ มีประสิทธิภาพที่สูงมาก เมื่อเทียบกับ แอพลิเคชั่น เพราะ ประชาชน ไม่ต้องโหลดแอพลิเคชั่น และสามารถรับข่าวการแจ้งเตือนได้ ทันที ที่โทรศัพท์เปิด เครื่องอยู่
แต่ก็ยังมีข้อจำกัด ในเรื่องของการ ถูกเมินเฉยต่อ SMS ถ้าปิดเสียงไว้อยู่ หรือพลาดการแจ้งเตือนนั้นไปได้เช่น หาก การแจ้งเตือนนั้น เข้ามาเพียงครั้งเดียว และถูก Notification อื่น กลบไป ก็จะทำให้ไม่ได้อ่านการแจ้งเตือนนั้น อีกทั้งระบบ SMS ยังถูกก่อกวน เช่น SMS หลอกลวง ชวนกู้เงิน ตามที่เป็นข่าว
ทำไมมันถึงไม่ได้นำ Cell Broadcast มาใช้จริงสักที ?
มีหลายประเทศที่นำเทคโนโลยี Cell broadcast นี้ไปใช้แล้ว เพื่อช่วยชีวิตผู้คนและลดความสูญเสีย ตามที่เราได้เห็นตามข่าว หรือในซีรีย์เกาหลีเองก็ตาม โดยจะมีการใช้ชื่อเรียกตามการใช้งานในแต่ละประเทศ เช่น
- ญี่ปุ่น : Earthquake Early Earning (แจ้งเตือนแผ่นดินไหวล่วงหน้า)
- เกาหลีใต้ : Korean Public Alert Service
- อเมริกา : Wireless Emergency Alerts
- แคนนาดา : Alert Ready
น่าแปลกใจว่า ในปี 2548, AIS และกรมอุตุฯ ได้ประกาศใช้บริการด้าน Cell Broadcast แล้ว (ref. [1] ) แต่ทำไมปีนี้ 2564 ยังไม่มีการใช้งานจริงในหลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
จากข้อสังเกตุของผม พบว่า บางส่วนเกิดจาก การตั้งค่าการใช้งานที่ผิด หรือ ระบบที่ผิดพลาดแล้วไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้มีประชาชนได้รับข้อความฉุกเฉิน ที่ไม่ฉุกเฉินจากช่องทางนี้ แล้วต้องการปิดการแจ้งเตือน Cell Broadcast นี้ จำนวนหนึ่ง ( ref. [2],[3],[4] )
ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ประเทศไทยของเรา จะสามารถนำเอาเทคโนโลยีที่ประเทศเรารู้จักมาแล้ว 16 ปี แต่ไม่ได้นำมาใช้จริง มาทำให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด เพื่อช่วยเหลือผู้คน และลดความเสียหาย จากเหตุการณ์ฉุกเฉิน และภัยพิบัติต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
and that's the end of the story.
อยากรู้เรื่องไหน ชอบหรือไม่ชอบบทความยังไง
ติชมมาทางคอมเม้นข้างล่างได้เลยครับ : )
TechGuy รายงาน
อย่าลืมกดไลค์ กดติดตาม TechGuy
เพื่อรับข่าวสารและเทคโนโลยี ส่งตรงถึงมือคุณนะครับ
References
[0]
https://en.wikipedia.org/wiki/Cell_Broadcast
[1]
https://positioningmag.com/25162
[2]
https://pantip.com/topic/38353075
[3]
https://pantip.com/topic/36900301
[4]
https://c.mi.com/thread-3116692-1-0.html
1 บันทึก
3
5
1
3
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย