Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Amarinbooks
•
ติดตาม
7 ต.ค. 2021 เวลา 12:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หากพูดถึงหลุยส์ พาสเตอร์ เรามักนึกถึงการค้นพบวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า อันมีที่มาจากความเข้าใจในสิ่งมีชีวิตเล็กจิ๋วอย่างจุลชีพ พาสเตอร์ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจุลชีววิทยา แต่จริงๆ แล้วเขายังมีคุณูปการในเรื่องการดื่มกินของคนเราด้วย เพราะเขานี่เองเราจึงได้รู้จักวิธีการควบคุมการหมักเครื่องดื่มอย่างไวน์ เบียร์ ไปจนถึงการฆ่าเชื้อโรคให้นมมีอายุนานขึ้น กลายเป็นชื่อของกระบวนการที่เรียกว่า "พาสเจอร์ไรซ์"
1
หลุยส์ พาสเตอร์ คือนักเคมีและนักจุลชีวิทยาชาวฝรั่งเศส ผู้ค้นพบว่าจุลินทรีย์เป็นสาเหตุให้เกิดกระบวนการหมัก ใน ค.ศ. 1854 ในขณะที่เขาเป็นอาจารย์ด้านเคมีอยู่ที่มหาวิทยาลัยลีลล์ เจ้าของโรงหมักแอลกอฮอลในเมืองขอให้เขาช่วยแก้ปัญหารสชาติที่ไม่พึงประสงค์ในการผลิตเครื่องดื่ม
จุดนั้นเองทำให้พาสเตอร์เริ่มศึกษาการหมักอย่างจริงจัง และเขาค้นพบว่ามีจุลชีพบางชนิดมีผลกับการหมักแต่ละอย่างแตกต่างกันไป ทำให้เกิดทฤษฎีเชื้อโรคแห่งการหมัก (germ theory of fermentation) และเขายังพบสิ่งที่ไม่คาดฝันนั่นคือ กระบวนการการหมักจะหยุดชะงักลงหากโดนอากาศ หรือหมายถึงออกซิเจนนั่นเอง เขาจึงสรุปว่ากระบวนการนี้เกิดจากสิ่งมีชีวิตบางอย่างซึ่งทำปฏิกิริยากับวัตถุดิบที่หมักในที่ที่ไม่มีออกซิเจนเท่านั้น กระบวนการนี้เรียกกันว่า พาสเตอร์ เอฟเฟ็กต์
ปี 1863 จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ขอให้พาสเตอร์ศึกษาการปนเปื้อนของไวน์จากจุลชีพที่ทำให้ไวน์เสียรสชาติ เขาจึงใช้วิธีอุ่นไวน์ที่อุณหภูมิ 50 – 60 องศาเซียลเซียสประมาณครึ่งชั่วโมงเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อน วิธีนี้เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันว่าพาสเจอไรซ์
แต่ปัจจุบันการพาสเจอไรซ์ไม่นิยมใช้กับอุตสาหกรรมไวน์ เนื่องจากความร้อนจะฆ่าจุลชีพที่ดีต่อการ aging หรือหมักบ่ม แต่การพาสเจอไรซ์มีประโยชน์มหาศาลกับการการเก็บรักษาอาหารและเครื่องดื่มอื่นๆ โดยเฉพาะนม ซึ่งมีการพัฒนาโดยใช้อุณหภูมิสูงขึ้นอยุ่ที่ประมาณ 138 – 150 องศาเซียลเซียส โดยใช้เวลาน้อยลงเหลือเพียงแค่ 1 – 2 วินาที วิธีนี้เราคุ้นในกันในชื่อที่เรียกว่า UHT (Ultra High Temperature)
3
ที่นับเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญคือ ความรู้เรื่องจุลชีพของพาสเตอร์ยังนำไปสู่ความเข้าใจเรื่องเชื้อโรค ในฐานะที่เป็นสาเหตุความป่วยไข้ของมนุษย์ และนำไปสู่หลักการพัฒนาวัคซีนแบบที่ใช้กันในปัจจุบัน โดยพาสเตอร์พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ และโรคพิษสุนัขบ้า แต่วัคซีนของพาสเตอร์แตกต่างเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ ตรงที่เป็นการทำให้เชื้ออ่อนแอลงก่อนโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ แต่เจนเนอร์หาเชื้อที่อ่อนแอจากผู้ป่วยที่กำลังจะหาย วิธีการของพาสเตอร์จึงนับว่าเป็นการปฏิวัติการศึกษาเกี่ยวกับโรคติดต่อ
ดูเหมือนยิ่งศึกษาก็ยิ่งพบว่าความรู้ทั้งปวงเชื่อมโยงกัน เพราะกลายเป็นว่าหลักการพัฒนาวัคซีนและการรักษารสชาติเครื่องดื่มมีจุดเริ่มต้นมาจากการศึกษาเรื่องเดียวกัน นั่นคือสิ่งมีชีวิตเล็กจิ๋วที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนั่นเอง
สำนักพิมพ์ Sophia
8 บันทึก
16
8
4
8
16
8
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย