Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
4 ต.ค. 2021 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
คนไทยมีคะแนนความรู้ทางการเงิน “ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก”
ธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสำนักงานกับสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำรายงานผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทย โดยรายงานฉบับนี้ เผยว่า “คนไทยมีความรู้การเงินเฉลี่ยอยู่ที่ 55.7% ซึ่งต่ำกว่าคะแนนค่าเฉลี่ยระดับสากลของ OECD คือ 65.7%”
ทั้งนี้ภาพรวมจากการสำรวจ คนไทยส่วนใหญ่จะขาดความรู้การเงิน 3 เรื่อง ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อ ความเสี่ยงและผลตอบแทน การกระจายความเสี่ยงในการลงทุน aomMONEY จึงขอหยิบ 3 ประเด็นนี้มาพูดคุยกันครับ
✅ 1) อัตราเงินเฟ้อ คือ อะไร ทำไมต้องรู้?
เคยได้ยินคนสมัยก่อนบ่นกันไหมว่า มีเงิน 100 บาท ซื้อก๋วยเตี๋ยวชามละ 20 บาท ได้ตั้ง 5 ชามแน่ะ! แต่ตอนนี้ขึ้นราคาเป็นชามละ 40 บาทแล้ว ก็เลยซื้อได้เพียง 2 ชามเท่านั้น นี่แหละครับ! ผลของเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้ราคาสินค้าแพงขึ้น มูลค่าของเงินน้อยลง สาเหตุเกิดจากต้นทุนที่แพงและความต้องการสินค้าสูงขึ้น
แล้วทำไมเราต้องศึกษาเรื่องอัตราเงินเฟ้อไว้? นั่นเป็นเพราะว่าเงินเฟ้อทำให้เงินสดในมือเราถูกด้อยค่าลงเรื่อยๆ นั่นเองครับ ง่ายๆ ว่าฝากเงินไว้เฉยๆ อยู่ๆ ก็จนลงได้เลย เพราะอัตราผลตอบแทนจากดอกเบี้ยมันต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อนั่นเอง
⭐ อ่านบทความ ทำไมฝากเงินไว้เฉยๆ อยู่ๆ ก็จนลง
https://bit.ly/3gQbgNC
✅2) ความเสี่ยงและผลตอบแทน
หลายๆคนคงเคยได้ยิน High risk, High return กันใช่ไหมครับ มันคือ “ความสัมพันธ์ของความเสี่ยงและผลตอบแทน” การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เสี่ยงขาดทุนมาก ก็ย่อมได้ผลตอบแทนที่สูง การลงทุนในสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ เสี่ยงขาดทุนน้อยกว่า ก็จะได้ผลตอบแทบต่ำ
ตัวอย่าง
ถ้าเราเอาเงินเก็บไว้ใน “บัญชีฝากประจำ” เราอาจจะไม่ต้องเสี่ยงกับการขาดทุนเลย แต่มันก็แลกมาด้วยผลตอบแทนหรืออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ ซึ่งเผลอๆ อาจจะต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อด้วย ถอนเงินออกมาอีกที เงินก้อนนั้นอาจจะด้อยค่าลงไปมากแล้วก็ได้
ตรงกันข้าม! หากเราแบ่งเงินไปลงทุนในหลายๆ สินทรัพย์หุ้น กองทุน ฯลฯ ถึงแม้จะมีความเสี่ยงจากการขาดทุนที่สูงกว่า แต่เราก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าอัตราเงินเฟ้อนั่นเอง
2
✅3) การกระจายความเสี่ยงในการลงทุน
1
สมมติว่า ทั้งชีวิตเรามีเงินเก็บอยู่ 1 ล้านบาท โดยเราเอาเงินก้อนนี้ไปเก็บไว้ใน “หุ้น” อย่างเดียว อีก 10 ปีต่อมา เราจำเป็นต้องใช้เงินก้อนนี้ แต่ตอนนั้นเกิดโรคระบาดร้ายแรงยิ่งกว่าโควิด-19 จนหุ้นตกทั่วโลก มูลค่าเงินของเรา ลดเหลือเพียง 500,000 บาท
เพื่อนๆ คิดว่าตัวเองทนรับสถานการณ์แบบนี้ได้ไหมครับ ?
แน่นอนว่า ไม่มีใครอยากให้เงินหายหนักขนาดนี้แน่นอน นี่แหละครับ คือ เหตุผลว่าทำไมเราต้องกระจายความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เพราะแต่สินทรัพย์แต่ละประเภท ก็มีระดับความเสี่ยงและขึ้น-ลงตามสภาวะเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน
และนี่คือข้อมูลที่ aomMONEY หยิบมาฝากทุกท่าน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ
#aomMONEY
อ้างอิง
- ข้อมูล รายงานผลสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2561 (รายงานฉบับนี้จะจัดทำทุก 2-3 ปี ฉบับนี้คือข้อมูลล่าสุด)
https://bit.ly/3sGhXqv
- ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ
https://bit.ly/38sgkDx
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
👍 ชอบกด Like โดนใจ กด Share
และอย่าลืม ✅ See First
เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ ๆ ก่อนใคร
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
ติดตามความรู้ทางการเงินในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌
www.aomMONEY.com
📌
https://www.youtube.com/AommoneyTH
📌
https://www.blockdit.com/aommoney
📌 กลุ่มกองทุนไหนดี
https://bit.ly/3aOjgMl
สนใจโฆษณาติดต่อ :
👉 Tel: 088-099-9875 (แน้ม)
👉 Email:
rathapat@likemeasia.com
12 บันทึก
29
2
14
12
29
2
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย