Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
9 ต.ค. 2021 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“วางเงินให้ถูกที่ ใช้พลังดอกเบี้ยทบต้น”
4 เทคนิคอิสรภาพการเงิน โดย คุณอุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง
1 ในผู้บริหารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย
1
ไม่มีใครอยากทำงานหาเงินไปตลอดชีวิต ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการวางแผนการเงิน แต่คนส่วนใหญ่มักจะผัดวันประกันพรุ่ง ทำให้ไปไม่ถึงเป้าหมาย วันนี้ aomMONEY ขอแนะนำเทคนิคสู่อิสรภาพทางการเงิน โดย คุณอุมาพันธุ์ เจริญยิ่ง หนึ่งในผู้บริหารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย แล้วคุณจะเปลี่ยนความคิด จากคำว่า “เดี๋ยวก่อน” เป็น “เดี๋ยวนี้” แน่นอน
2
1) วางเงินให้ถูกที่ ใช้พลังดอกเบี้ยทบต้น
ถ้าเรามีเงินก้อนอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วต้องการลงทุนให้งอกเงย “กฎของเลข 72” จะสามารถบอกได้ว่า เราจะต้องใช้ “ระยะเวลา” หรือ “อัตราดอกเบี้ย” เท่าไหร่ จึงจะทำให้เงินลงทุนก้อนแรก เติบโตเป็น 2 เท่า ซึ่งกฎนี้อ้างอิงจากหลักการคิดอัตราดอกเบี้ยทบต้น
สูตรคำนวณ คือ “72 ÷ อัตราผลตอบแทน = จำนวนปีที่เงินลงทุนก้อนแรก จะเพิ่มเป็น 2 เท่า”
2
เช่น ถ้าเราต้องการให้เงิน 1 แสน เพิ่มเป็น 2 แสน
หากนำไปฝากออมทรัพย์กับธนาคาร
72 ÷ 0.25 = ใช้เวลา 288 ปี
แต่ถ้าเรานำไปลงทุนในหุ้น
72 ÷ 7.7 = ใช้เวลา 9.27 ปี
จะเห็นได้ว่า การฝากออมทรัพย์กับธนาคาร ที่มีผลตอบแทนดอกเบี้ย 0.25% ต่อปี จะทำให้เงินต้น 1 แสนบาท กลายเป็น 2 แสนบาท ได้ในเวลา 288 ปี ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะได้เห็นมัน แต่ถ้านำไปลงทุนในหุ้น ซึ่งผลตอบแทนรวมตลาดหุ้นไทย ย้อนหลัง 10 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 7.77% (อ้างอิงข้อมูลจาก SET ปี 2564) ก็จะช่วยย่นระยะเวลาเหลือเพียง 9.27 ปีเท่านั้น นี่คือเหตุผลที่เราต้องวางเงินให้ถูกที่
2
2) ยิ่งลงทุนระยะยาว โอกาสขาดทุนยิ่งน้อยลง
ถ้าเราลงทุนแค่ปีเดียว อาจจะเป็นปีที่ “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ก็ได้ กรณีที่เคยพบในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ หากลงทุนปีเดียว แล้วโชคดีเจอปีที่ใช่ เราก็จะได้ผลตอบแทนสูงถึง 129% แต่ถ้าเป็นปีที่ไม่ใช่ ก็จะขาดทุน -49% เลยทีเดียว
แต่หากเราลงทุนระยะยาว 25 ปี สำหรับแผนเกษียณ ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนก็จะอยู่ที่ 12% หรือต่ำสุดที่ 5% แม้ว่าจะได้กำไรน้อยลง แต่นัยสำคัญคือ “ไม่มีโอกาสติดลบ” ดังนั้นจะเห็นได้ว่ายิ่งลงทุนระยะยาว โอกาสขาดทุนก็ยิ่งน้อยลง
2
3) อย่าลงทุนกระจุกในสินทรัพย์เดียวกัน
การซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร กลุ่มสื่อสาร ฯลฯ จะเรียกว่า “กระจายหุ้น” แต่ยังกระจุกในสินทรัพย์เดียวกัน ส่วนคำว่า “กระจายการลงทุน” หมายถึง แบ่งลงทุนในสินทรัพย์หลายๆ ประเภท เพื่อให้ความเสี่ยงโดยรวมลดลง เช่น ถ้าตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาลง แล้วในพอร์ตเรามีแค่หุ้น เราก็อาจจะขาดทุน -10% แต่ถ้ามีตราสารหนี้อยู่ 90% และหุ้น 10% เราก็จะได้กำไร 3% เพราะสินทรัพย์อันหนึ่งแย่ แต่อันหนึ่งดี ก็จะถัวเฉลี่ยผลตอบแทนกันได้นั่นเอง
1
4) เฉลี่ยการลงทุนแบบ DCA
หลายคนคิดว่าจะซื้อหุ้นตอนที่ถูกที่สุด แล้วขายตอนแพงที่สุด แต่มักจะจับจังหวะพลาด ทำให้มีโอกาสขาดทุนสูง ดังนั้นแทนที่จะใช้เงินทั้งก้อนเพื่อจับจังหวะ การลงทุนแบบ DCA (Dollar-Cost Averaging) หรือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ก็จะช่วยได้
เช่น แผนเฉลี่ยลงทุนเดือนละ 2,000 บาท
เดือนที่ 1 หุ้นราคา 10 บาท = เราซื้อได้ 200 หุ้น
เดือนที่ 2 หุ้นราคา 12 บาท = เราซื้อได้ 166 หุ้น
เดือนที่ 3 หุ้นราคา 15 บาท = เราซื้อได้ 133 หุ้น
2
เมื่อลองหารเฉลี่ยดูด้วยสูตรคำนวณ “เงินลงทุน ÷ จำนวนหุ้นที่ซื้อได้” ก็จะพบว่า
เงินลงทุน 6,000 บาท ÷ 499 หุ้น = เราสามารถซื้อหุ้นตัวนี้ได้ ในราคาเฉลี่ย 12 บาท
2
ซึ่งข้อดีการ DCA คือแม้เราจะไม่ได้ซื้อหุ้นในราคาที่ถูกที่สุด แต่ก็จะได้หุ้นในราคาเฉลี่ยที่เหมาะสม โดยไม่ต้องเสียเวลาเฝ้าติดตามราคา หรือใช้การวิเคราะห์ซับซ้อนเพื่อจับจังหวะซื้อ-ขาย
เงินจากรายได้ที่เราทำงานแลกมานั้น มีวันสิ้นสุดไปตามอายุและสภาพร่างกาย แต่ถ้าเป็นเงินจากการลงทุน จะไม่มีวันหมดอายุ หากเราวางเงินไว้ถูกที่ และหาผลตอบแทนได้เหมาะสม มันก็จะทำงานแทนเราอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการใช้พลังของเงินอย่างเต็มที่นั่นเอง
อ้างอิง
https://bit.ly/2WXxsie
https://bit.ly/3zNj8qB
#วางแผนการเงิน #ลงทุน #อิสรภาพทางการเงิน
#MoneyHack #aomMONEY
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
👍 ชอบกด Like โดนใจ กด Share
และอย่าลืม ✅ See First
เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ ๆ ก่อนใคร
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
ติดตามความรู้ทางการเงินในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌
www.aomMONEY.com
📌
https://www.youtube.com/AommoneyTH
📌
https://www.blockdit.com/aommoney
📌 กลุ่มกองทุนไหนดี
https://bit.ly/3aOjgMl
สนใจโฆษณาติดต่อ :
👉 Tel: 088-099-9875 (แน้ม)
👉 Email:
rathapat@likemeasia.com
44 บันทึก
47
2
39
44
47
2
39
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย