2 ต.ค. 2021 เวลา 06:00 • สุขภาพ
แพทย์เตือน ดื่ม "น้ำอัดลม" เยอะๆ รวดเดียว เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
3
เฟซบุ๊กเพจ ห้องฉุกเฉินต้องรู้ เตือนภัย เมื่อมีข่าวจากประเทศจีนว่า มีคนที่ดื่มน้ำอัดลม 1.5 ลิตร ภายใน 10 นาที เกิดอาการผิดปกติ และสุดท้ายก็เสียชีวิต
4
ทางเพจระบุว่า ผู้ป่วยอยู่สภาวะอากาศร้อน และมีเหงื่อออกมาก จึงดื่มน้ำอัดลมขวดใหญ่หมดภายในเวลาอันรวดเร็ว แต่ในเวลาต่อมาก็เกิดอาการท้องอืด และปวดท้องมาก ไปจนถึงความดันโลหิตตก จนต้องรีบส่งเข้าห้องฉุกเฉิน เพื่อทำ CT Scan หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง
5
ผลปรากฏว่า พบฟองอากาศผุดเต็มเส้นเลือดในลำไส้และตับ โดยทางการแพทย์เรียกว่า Air Embolism ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา
3
Air Embolism คืออะไร?
Air Embolism หรือ ฟองอากาศอุดตันเส้นเลือด เป็นภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากมีฟองอากาศหรือฟองของแก๊สอื่นๆ หลุดเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือด ในมนุษย์อาจเกิดได้จากระหว่างผ่าตัด การขยายมากเกินไปของปอด (การบาดเจ็บจากแรงกดดัน) การลดความกดอากาศเร็วเกินไป และสาเหตุอื่นๆ
5
อันตรายจากภาวะฟองอากาศอุดตันเส้นเลือด
2
การดื่มน้ำอัดลมโซดาเยอะๆ ในคราวเดียว อาจเสี่ยงอันตรายฟองก๊าซผุดในเส้นเลือด โดยเพจ อายุรศาสตร์ ง่ายนิดเดียว ระบุว่า อันตรายของภาวะฟองอากาศอุดตันเส้นเลือด จะดูที่ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงคือปริมาณอากาศ ยิ่งมากยิ่งอันตราย และอัตราเร็วของการเข้าสู่กระแสเลือดของฟองอากาศ เช่น ฟองอากาศขนาด 200 ซีซี อัดเข้าหลอดเลือดอย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่วินาที ทำให้เสียชีวิตได้ทันที แต่ในขณะที่ฟองอากาศเป็นลิตร แต่หากค่อยๆ เข้าหลอดเลือดก็จะมีโอกาสรอดมากกว่า หมายถึงสองปัจจัยที่มีผลคือปริมาณอากาศ และอัตราเร็วที่เข้าสู่ร่างกาย (ปริมาณอากาศเป็นซีซีต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมจะมีอันตรายที่แตกต่างกันออกไป)
9
นอกจากนี้ ตำแหน่งที่ฟองอากาศเข้าไปอุดตันก็สำคัญ อุดที่ไหน อันตรายที่นั่น เช่น หากอากาศปริมาณมากเข้าไปอุดล็อกที่หัวใจห้องขวา รองลงมาก็ไปอุดหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจ ไปปอด ทำให้หายใจล้มเหลวได้
1
นอกจากนี้ บางกรณีที่จะไปอุดหลอดเลือดแดง เช่น อากาศที่แทรกมาในหลอดเลือดจากโรคน้ำหนีบ (decompression sickness) เวลาดำน้ำ หรือมีทางเชื่อมผิดปกติระหว่างหลอดเลือดดำและแดง (intracardiac or intrapulmonary shunt) ทำให้ฟองอากาศหลุดไปอุดตำแหน่งที่สำคัญที่สุดคือหลอดเลือดสมอง เป็นอัมพาตได้ เป็นต้น
4
อาการที่แสดงออก เมื่อเกิดภาวะฟองอากาศอุดตันเส้นเลือด
1
วิสัญญีสาร ระบุว่า ในผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดีอาจมีอาการหายใจเหนื่อยขึ้นมาทันทีทันใด เจ็บหน้าอก หลอดลมหดเกร็ง มีอาการสับสน หมดสติ และระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลว
วิธีป้องกันภาวะฟองอากาศอุดตันเส้นเลือด
1
1. แพทย์ผู้ทำการทำหัตถการ การผ่าตัด การฉีดยาเข้าหลอดเลือด ควรระวังฟองอากาศเสมอ
2. ผู้ที่ดำน้ำ ควรศึกษาหาข้อมูล และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการดำน้ำอย่างเคร่งครัด
3. ไม่ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณมากภายในเวลารวดเร็ว หากกระหายน้ำมากๆ ควรเลือกดื่มน้ำเปล่า หรือในกรณีที่เสียเหงื่อมากๆ ควรดื่มน้ำเกลือแร่จะดีกว่า
1
โฆษณา