3 ต.ค. 2021 เวลา 06:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
#เล่าเรื่องลงทุน ดึงเช็ง vs ปีชง
สหรัฐ...ดึงเช็ง
2 คำที่ได้ยินบ่อยๆช่วงนี้
1. "Government Shutdown"
คือการที่รัฐบาลไม่สามารถผ่านกฎหมายงบประมาณได้ทำให้หน่วนงานราชการต่างๆต้องหยุดทำการ
ตอนนี้ผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว (Continuing Resolution) ไปแล้วถึง 3 ธ.ค. นี้
2. "Debt Ceiling"
คือเพดานหนี้ 28.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐที่ตั้งไว้ตั้งแต่ปี 2019
ถ้าร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ไม่ผ่านภายในวันที่ 18 ต.ค. นี้
จะเกิดการผิดนัดชำระหนี้ของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (Default)
เรื่องนี้สำคัญมากเพราะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐถือว่ามีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในโลก
ที่นี่ก็มีอีก 2 เรื่องที่มาพัวพันกันอยู่
1. "ร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐาน" มูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์
โครงการนี้มีชื่อว่า "Bipartisan Infrastructure Framework"
เป็นงบประมาณเพื่อใช้สร้างถนน สะพาน รถไฟโดยสาร น้ำดื่ม และระบบกำจัดของเสีย
เป้าหมายก็เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานในสหรัฐ
2. "ร่างกฎหมายงบประมาณด้านสังคม" มูลค่า 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
งบประมาณที่แก้ปัญหาโลกร้อน ปัญหาสังคมต่างๆ
การจะผ่านร่างกฎหมายการใช้เงินจำนวนมากแบบนี้
ก็ต้องมีวิธีที่จะหาเงินเข้ามาด้วย
โดยแผนเดิมของปธน.ไบเด้นก็มีเรื่องขึ้นภาษี
- ภาษีนิติบุคคล (Corporate Tax) จาก 21% ไปเป็น 28%
- ภาษีระหว่างประเทศ (GILTI - Global Intangible Low-Taxed Income) จาก 11% ไปเป็น 21%
...เรื่องขึ้นภาษี Republican ไม่เห็นด้วย...
การต่อรองของ Democrat และ Republican เลยเกิดขึ้น
Dem : แหม ก็ร่วมกันรับผิดชอบหน่อยสิ
Rep : ภาษีขึ้นเยอะไปป่าว ลดหน่อยเดี๋ยวยกมือให้
ไม่ว่าทางไหนก็ปล่อยให้เกิด Default ไม่ได้
ถ้าไม่ขยายเพดานหนี้ เกิดผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมา
โดนลดความน่าเชื่อถือลงไปอีก
มันจะได้ไม่คุ้มเสียหรือเปล่าน่าคิด
นี่คงเป็นเรื่องของเกมส์การเมืองจริงๆสินะ
มุมของการลงทุน
เรื่องการเมืองน่าจะเป็นการเล่นข่าวระยะสั้น
เพราะหลายคนมองเห็นปลายทางใกล้เคียงกัน
สำคัญที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่จะมีผลกับการลงทุนมากกว่า
มี 2 ตัวที่ FED ใช้ดูเพื่อเป็นแนวทางตัดสินใจ
1. เงินเฟ้อเฉลี่ย 2%
ตัวนี้ทะลุไปไกล 5% แล้ว แม้ว่า FED จะมองว่าเป็นแค่ชั่วคราว
แต่ก็อาจจะนานกว่าที่คิดไว้
ถือว่าตอนนี้เงินเฟ้อถึงเป้าหมายของ FED ไปแล้วละกัน
2. อัตราการว่างงาน (Unemployment) 4.5%
ยังมีช่องว่างที่จะไปถึงเป้าหมายของ FED อยู่
ตัวเลข Unemployment rate ประกาศเดือนละครั้ง
ถ้าอยากติดตามใกล้ชิดก็ดู Jobless claim ประกาศทุกสัปดาห์
ทั้ง 2 เป้าหมายของ FED ส่งผลต่อ
1. QE Tapering ลดวงเงินอัดฉีด
ก็คุยกันมาจนภาพมันชัดแล้วว่าไม่น่าเกินพฤศจิกายนนี้
เงินเฟ้อมาขนาดนี้ถ้าไม่ทำอะไรเลยก็จะน่าเกลียด
แต่ไม่น่ากังวลเพราะเป็นการลดวงเงิน ยังไม่ได้ถอนสภาพคล่องออกจากระบบ
2. ขึ้นดอกเบี้ย คาดกันว่าเป็นปี 2022 ก็จะเริ่มขึ้นแล้ว
คงต้องติดตามกันอยู่
ถ้าเงินเฟ้อสูงแล้วรีบขึ้นดอกเบี้ยทั้งๆที่เศรษฐกิจยังไม่พร้อม
จะเกิดภาวะที่เรียกว่า "Stagflation" หรือเปล่า
Stagflation : ภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวแต่เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น
จีน...ปีชง
ชงซะเข้มเลยปีนี้
หลังจากที่จีนเจอมรสุมที่ชื่อ Covid ตั้งแต่ปี 2019 เป็นประเทศแรก
ตอนนั้นพวกเรายังให้กำลังอู่ฮั่นกันอยู่เลย
พอเข้าปี 2020 จีนก็จัดการปัญหาทุกอย่าง
ปิดประเทศควบคุมโควิดอยู่หมัด จนตอนนี้กลับมาแทบจะปกติแล้ว
ทั้งการใช้ชีวิตของคนจีนและนโยบายการเงินต่างๆ
First in - First out
เศรษฐกิจจีนโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นอันดับ 2 ของโลก
แต่เป้าหมายของจีนไม่ใช่ที่ 2
จะขึ้นเป็นเบอร์ 1 ต้องจัดการในบ้านให้พร้อมเสียก่อน
จีนประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 ระยะเวลา 5 ปี
เน้นไปที่การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เป้าหมายสำคัญคือการทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวเฉลี่ย 5% ต่อปี
นโยบายต่างๆที่ออกมาก็เกิดจากปัญหาที่สะสมมานาน
และถ้าปล่อยต่อไปจะแก้ยากมาก
จีนโตขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ก็มาพร้อมกับหนี้ต่อ GDP สูงมาก
มีความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ระหว่างคนจนและคนรวยสูงมาก
รวมถึงมีการสร้างมลพิษทางอากาศเป็นอันดับต้นๆของโลก
ตั้งแต่ต้นปีมามีหลายอุตสาหกรรมโดนรัฐจัดระเบียบกันไปหลายกลุ่มแล้ว
FinTech, E-Commerce, Education, Social Media, Food Delivery, Ride-hailing และ Gaming
และที่เป็นประเด็นกันอยู่ตอนนี้คือ
- China Evergrande
ทำให้ราคาตราสารหนี้ High Yield ของจีนลดลงอย่างมาก
แต่กลับไม่กระทบในส่วนของ Investment grade
ตลาดแยกแยะของดีของเสียได้อย่างชัดเจน
มีการปรับโครงสร้างหนี้โดยขายส่วนของธนาคารออกไป
ธ.กลางเองก็ช่วยอัดฉีดสภาพคล่อง
ถึงจะไม่ได้เข้าไปช่วยตรงๆแต่ก็ไม่ปล่อยให้ล้ม
- การขาดแคลนพลังงาน
อันนี้เรื่องใหญ่กว่าเพราะกระทบทั้งในและนอกประเทศ
จีนลดการใช้ถ่านหินเพราะต้องการลดมลภาวะในอากาศ
แต่ไฟฟ้าไม่พอใช้เพราะทั้งคนในประเทศที่บริโภคเยอะ
และยังมีโรงงานอุตสาหกรรมอีก
ทำให้ตอนนี้ราคาถ่านหินเองก็พุ่งขึ้นสูงมาก
ยิ่งทำให้โรงไฟฟ้าไม่อยากผลิตเพราะขาดทุน
โรงงานหลายที่โดนลดเวลาการผลิตลง
และมีการเพิ่มค่าไฟฟ้าขึ้น
ปัญหานี้ผลกระทบกับ GDP ของจีนไปแล้ว
หลายสำนักปรับลด GDP ลงต่ำกว่า 8%
ถ้าจำตอนต้นได้จีนตั้งเป้าโต 5% เองนะ
ต่ำกว่า 8% ยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้
ไม่มีใครรู้ว่ารัฐบาลจีนกำลังมองอุตสาหกรรมไหนต่ออีก
ด้านการลงทุน
ราคาหุ้นจีนฝนหลายตลาดลงมากเยอะมาก
ลงมาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยหลายปีที่ผ่านมา
ถ้าถามว่ามีโอกาสลงต่ออีกมั้ย
ก็อาจจะมี แต่ไม่น่าจะเยอะแล้ว
เพราะพื้นฐานต่างๆก็ไม่ได้แย่
โตน้อยลงแต่โตไปอย่างมั่นคง
ปีนี้จีนชงตัวเองซะเข้มเลย
#dari_mana
โฆษณา