Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
3 ต.ค. 2021 เวลา 08:07 • สุขภาพ
โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis)
http://www.chulabhornhospital.com/page.php?name=591
ขั้นตอนในการรักษา OA - Osteoarthritis - ข้อเข่าอักเสบตาม NICE clinical guidance ของ NHS services ประเทศอังกฤษ
1. ประคบร้อนหรือเย็น
2. ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก
3. ไม่แนะนำให้ใช้ glucosamine หรือ chondroitin รวมทั้งการฝังเข็ม
4. สวมใส่รองเท้าที่รับแรงกระแทก หรือ สวมที่รัดข้อเข่า
การรักษาด้วยยา เริ่มต้นจากพาราเซตามอล NSAIDs COX-2 หรือ opioid analgesics โดยใช้ในระยะสั้นท่ี่สุด ด้วยขนาดต่ำท่ี่สุด ร่วมกับการทายาแก้ปวดชนิดที่มีตัวยา หรือใช้ครีมพริก ไม่ควรใช้ครีมทานวดราคาถูกพวก Methyl Salicylate
ในกรณีที่ปวดมาก สามารถฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อได้
ในกรณีที่รักษาแล้วไม่ได้ผล ก็สามารถผ่าตัดข้อเข่าได้
NICE Pathway last updated: 07 November 2017
https://pathways.nice.org.uk/pathways/osteoarthritis/management-of-osteoarthritis.pdf
โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)เป็นภาวะเสื่อมที่มีผลต่อข้อและเนื้อเยื่อของข้อ มีอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อมีการใช้งานของอวัยวะส่วนนั้น ต่อมามีอาการข้อบวม ฯลฯ เมื่ออาการมากในขั้นท้ายๆ ข้อจะมีลักษณะผิดรูปผิดร่าง
ยาที่ใช้ในการจัดการโรคข้อเสื่อมเป็นยากลุ่มบรรเทาอาการปวด แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ กลุ่มยาออกฤทธิ์เร็ว ได้แก่ ยา paracetamol ยากลุ่ม NSAIDs กลุ่มที่ 2 ยาออกฤทธิ์ช้า หรือ Symptomatic slow acting drugs for osteoarthritis (SYSADOAs) ได้แก่ glucosamine, chondroitin sulphate และ diacerein โดยพิจารณาให้เสริมกับยากลุ่ม analgesics และ NSAIDs ในโรคข้อเสื่อมที่ไม่เฉียบเพลัน
จากแนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อมพบว่า ยังไม่มีการแนะนำให้ใช้ยาใดที่มีผลในการเพิ่มกระดูกอ่อน ยาหลักที่ใช้จึงเป็นยาบรรเทาอาการปวด ส่วนยากลุ่ม SYSADOAs จะพิจารณาให้เสริมกับยากลุ่มบรรเทาอาการปวดในกลุ่มแรกเมื่อใช้แล้วไม่ได้ผลด้วยการหวังผลในด้านลดอาการปวด ผลการศึกษาประสิทธิภาพของยากลุ่ม SYSADOAs ในด้านบรรเทาอาการปวด ลดภาวะเสื่อมของโครงสร้างข้อเข่า (structural disease) และความกว้างของช่องว่างระหว่างข้อ ไม่ชัดเจนมีทั้งที่พบว่าได้ผลและไม่ได้ผล
ข้อเข่าเสื่อมในระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจใช้ยากลูโคซามีนเพื่อบรรเทาอาการปวดได้ แต่ถ้าข้อเข่าเสื่อมมากจนข้อเข่าเคลื่อนออกจากกัน ข้อเข่าผิดรูป การใช้ยากลูโคซามีน และน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมชนิดฉีดก็ไม่มีประโยชน์ เป็นการสิ้นเปลืองมากกว่า ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดรักษา
🌼🌼🌸🏵️🏵️
กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate)เป็นสารประกอบที่พบในรูปแบบของยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยทั่วไปมักกินในขนาดวันละ 1500 มิลลิกรัม
ข้อดีของกลูโคซามีนซัลเฟต เหนือ ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)คือ ชะลอการเคลื่อนตัวเข้าหากันของข้อกระดูกที่ข้อเข่าเห็นผลนี้ชัดเจนเมื่อใช้ในระยะยาว ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและต่อเนื่องไป ชัดเจนมากขึ้นอีกหลัง 3 ปี
อาการไม่พึงประสงค์ ที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ ท้องเสีย แสบท้อง ปวดท้อง อาการอื่นๆที่พบไม่บ่อยคือ มึนงง ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ บวม อาการทางผิวหนัง หัวใจเต้นเร็ว
ข้อควรระวังคือไม่ควรใช้ในคนที่แพ้อาหารทะเล เนื่องจากกลูโคซามีนอาจเตรียมจากสัตว์ทะเล อาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้
ควรมีการเฝ้าติดตามวัดความดันของตาในผู้ป่วยที่ได้รับยากลูโคซามีน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดต้อหินและได้รับยากลูโคซามีน เพราะจะทำให้เกิดความดันภายในลูกตาสูงขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นต้อหินชนิดเปิด ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นต้อหินชนิดเปิดควรต้องระมัดระวังการใช้ยากลุ่มกลูโคซามินในระยะยาว
💢💢💢
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/3/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%95-glucosamine-sulphate-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1-osteoarthristis/
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=158
https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-142
MasterOrtho คุยกันเรื่องข้อ - Wongkarnpat
http://www.wongkarnpat.com/upfilesym/MedaOrtho.pdf
ข้อเข่าเสื่อม ทานกลูโคซามีนดีไหม? - โรงพยาบาลราชวิถี
https://www.rajavithi.go.th/rj/?p=4647
📢 New update osteoarthritis guideline (ACR 2019) 📢
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
📌 NSAIDs (Topical) 📌
1️⃣ มีประโยชน์กับ OA ข้อเข่า
2️⃣ ทางปฏิบัติหลังจากผู้ป่วยทายาบริเวณข้อมือผู้ป่วยส่วนมากมักจะลืมทำให้เผลอล้างมือทำให้ยาทาเอาไว้น้อยลงหรือหลุดออกไป
3️⃣ ไม่มีประโยชน์กับ OA สะโพกเนื่องจากความหนาของชั้นผิวหนัง
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
📌 Capsaicin (Topical) 📌
1️⃣ มีประโยชน์กับ OA ข้อเข่า
2️⃣ ทางปฏิบัติหลังจากผู้ป่วยทายาบริเวณข้อมือผู้ป่วยส่วนมากมักจะลืมโดยเอาข้อมือมาป้ายตาทำให้แสบตาได้
3️⃣ไม่มีประโยชน์กับ OA สะโพกเนื่องจากความหนาของชั้นผิวหนัง
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
📌 NSAIDs (Oral) 📌
1️⃣ มีประโยชน์กับ OA ข้อมือ ข้อเข่าและสะโพก
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
📌 Glucocorticoid (Intraarticular injection) 📌
1️⃣ มีประโยชน์กับ OA ข้อเข่าและสะโพก
2️⃣ มีประโยชน์กับ OA ข้อมือ แต่ยังต้องศึกษาประโยชน์ด้านคลินิกเพิ่มเติม
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
📌 Glucocorticoid (Ultrasonic-guided intraarticular injection) 📌
1️⃣ มีประโยชน์กับ OA สะโพก
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
📌 Acetaminophen 📌
1️⃣ มีประโยชน์กับ OA ข้อมือ ข้อเข่า และสะโพก
2️⃣ใช้เป็นยาทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ NSAIDs (Oral)
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
📌 Duloxetine 📌
1️⃣ ใช้เป็นยาทางเลือกเพื่อเสริมกับ NSAIDs (Oral) และมีประโยชน์กับ OA ข้อมือ ข้อเข่า และสะโพก
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
📌 Tramadol 📌
1️⃣ ใช้เป็นยาทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีข้อห้ามใช้ NSAIDs (Oral) และมีประโยชน์กับ OA ข้อมือ ข้อเข่า และสะโพก
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
📌 Chondroitin sulfate 📌
1️⃣ ใช้เป็นยาทางเลือกเนื่องจากมีประโยชน์กับ OA ข้อมือ
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
⚠️ ยังไม่แนะนำให้ใช้ใน OA ข้อมือ ข้อเข่าและสะโพก ⚠️
Non-tramadol, Colchicine, Fish oil, Vitamin D, Bisphosphonates, Glucosamine, Hydroxychloroquine, Metrotrexate, Intraarticular hyaluronic acid injection, Intraarticular botulinum toxin, Prolotherapy, Platelet-rich plasma, Stem cell injection และ Biologics
🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹🔸🔹
📄 Reference 📄
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1002/art.41142
PHARM EDU
https://www.facebook.com/532472910261580/posts/1537506966424831/
บ้านหมอยา
https://www.facebook.com/532472910261580/posts/1414227515419444/
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ดีที่สุดคือ การลดน้ำหนัก และ ออกกำลังกาย
นอกจากนี้ยังลดอาการเจ็บปวดลงได้ ด้วยการกินน้ำมันปลาในปริมาณที่เพียงพอ รวมทั้งการลดคอเลสเตอรอล และเพิ่มการกินวิตะมินเค
รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ ตารางที่3
TABLE 3
Summary of dietary interventions that may be of benefit in OA
What is the evidence for a role for diet and nutrition in osteoarthritis?
Rheumatology, Volume 57, Issue suppl_4, 1 May 2018, Pages iv61–iv74,
https://academic.oup.com/rheumatology/article/57/suppl_4/iv61/4975692
ซีรีย์ 2 : สมุนไพรดูแลข้อกระดูกของพ่อ
สำหรับใครที่มีคุณพ่ออายุมากแล้ว ชอบบ่นปวดเมื่อยบ่อยๆ หรือมีปัญหาข้อเสื่อม กระดูกพรุน...อภัยภูเบศรขอแนะนำสมุนไพร
เถาวัลย์เปรียง ขมิ้นชัน เพชรสังฆาต
เถาวัลย์เปรียง
มีสรรพคุณถ่ายเส้น ทำให้เส้นเอ็นอ่อนและหย่อนดี แก้เส้นเอ็นขอด มีงานวิจัยเทียบกับยาแก้ปวดแผนปัจจุบัน ทั้งในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลัง ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม พบว่ามีประสิทธิภาพในการแก้ปวด ลดอักเสบ เทียบเท่ากับยาแผนปัจจุบัน บางรายงานยังพบว่าเถาวัลย์เปรียงยังมีผลระคายเคืองทางเดินอาหารน้อยกว่ายาแผนปัจจุบันอีกด้วย เป็นสมุนไพรอีกตัวหนึ่งที่ใช้แทนยาแก้ปวดได้ โดยทานครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้งหลังอาหารเช้า กลางวัน เย็น
ขมิ้นชันในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
มีงานวิจัยพบว่าขมิ้นชัน ช่วยลดการอักเสบได้ โดยมีการใช้สารสกัดขมิ้นขนาด 500 มิลลิกรัมรับประทานวันละ 4 ครั้งหลังอาหารติดต่อกันนาน 6 สัปดาห์ พบว่ามีประสิทธิผลและปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม (knee osteoarthritis) ไม่แตกต่างจากการรักษาด้วย ibuprofen 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
เพชรสังฆาต
มีการใช้แพร่หลายในหมอพื้นบ้านและหมออายุรเวท สำหรับบำรุงกระดูก โดยมีผลเพิ่มมวลกระดูก สมานกระดูกที่หัก และลดอาการบวมและอักเสบได้เพชรสังฆาต ไม่ได้ออกฤทธิ์เหมือนแคลเซียม สามารถทานเพชรสังฆาตร่วมกับแคลเซียมได้ โดยรับประทานครั้งละ 1-2 แคปซูล วันละ 1-3 มื้อ หลังอาหาร
ติดตามซีรีย์ 9 ชุดสมุนไพรดูแลสุขภาพคุณพ่อ/ herb for health's father sereis ทางเพจ FB : สมุนไพรอภัยภูเบศรค่ะ
#ขมิ้นชัน กับโรค #ข้อเข่าเสื่อม
MED HERB GURU
รอบรู้เรื่องสมุนไพร
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่
http://medherbguru.gpo.or.th/articles/D05_Curcuma.pdf
POSTED 2021.10.03
บทความอื่น
ข้อเข่าเสื่อม
https://www.blockdit.com/posts/61925c097cdddb2a3adbb37c
https://www.blockdit.com/posts/63a821dad6c1ab5667af1ce0
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย