3 ต.ค. 2021 เวลา 10:18 • อาหาร
โอ๊ตมีล มีดีขนาดไหน ทำไมคนรักสุขภาพต้องกิน..🌾
วันนี้What The Health จะมาบอก 9 ประโยชน์จากโอ๊ตมีล ที่เทรนด์ฮิตคนรักสุขภาพใครๆก็กินกัน..🤩
รูปจาก canva
โอ๊ตมีลเป็นตัวเลือกแรกๆที่คนคุมน้ำหนักเลือกทานกันเลยเพราะโอ๊ตจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ย่อยช้าทำให้อิ่มนาน หลายๆคนคงสับสนระหว่าง ข้าวโอ๊ต และ โอ๊ตมีล มีความแตกต่างกันอย่างไร มันคือโอ๊ตเหมือนกันหรือเปล่านะ?
ข้าวโอ๊ต คือ เมล็ดของข้าวโอ๊ตทั้งเมล็ด ไม่ผ่านการแปรรูปใดๆ ส่วนมากมักใช้เป็นอาหารสัตว์หรือใช้ในอุตสาหกรรมปศุสัตว์
โอ๊ตมีล คือ ข้าวโอ๊ตที่ผ่านการบด หรือผ่านการแปรรูปที่สามารถทำให้สุกได้เร็วในเวลาไม่กี่นาที โอ๊ตมีลจะมีความนิ่มเหมือนโจ๊ก เมื่อผ่านความร้อนหรือแช่น้ำไว้เป็นเวลานาน
1
โอ๊ตมีลไม่ได้แค่อิ่มนานเท่านั้นยังมีสารอาหารดีๆอีกเพียบ เรามาดูทั้ง 9 ประโยชน์จากโอ๊ตมีลกัน...🌾
1. สารอาหารในโอ๊ตมีลแน่นมาก
โอ๊ตมีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นแหล่งที่ดีของคาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ เบต้ากลูแคน และยังมีโปรตีนไขมันที่มากกว่าธัญพืชส่วนใหญ่แถมยังอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ
จากข้อมูลโภชนาการของข้าวโอ๊ตดิบ 100 กรัม (โดยประมาณ)
• พลังงาน 389 กิโลแคลอรี่
• น้ำ 8.22 กรัม
• โปรตีน 16.89 กรัม
• ไขมันรวม 6.90 กรัม
• คาร์โบไฮเดรต 66.27 กรัม
• เส้นใย 10.6 กรัม
• แคลเซียม 54 มิลลิกรัม
• เหล็ก 4.72 มิลลิกรัม
• แมกนีเซียม 177 มิลลิกรัม
• ฟอสฟอรัส 523 มิลลิกรัม
• โพแทสเซียม 429 มิลลิกรัม
• โซเดียม 2 มิลลิกรัม
• สังกะสี 3.97 มิลลิกรัม
• วิตามินบี 1 0.763 มิลลิกรัม
• วิตามินบี 2 0.139 มิลลิกรัม
• วิตามินบี 3 0.961 มิลลิกรัม
• วิตามินบี 6 0.119 มิลลิกรัม
• โฟเลต 56 ไมโครกรัม
2. โอ๊ตมีลช่วยลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง
โอ๊ตมีล มีสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้เฉพาะในข้าวโอ๊ตเท่านั้น ได้แก่ อาวีนันทราไมต์ (Avenanthramide) ซึ่ง อาวีนันทราไมต์จะเข้าไปผลิตก๊าซไนตริกออกไซด์ (Nitric Oxide) โมเลกุลของก๊าซจะช่วยขยายหลอดเลือดให้กว้างขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูงได้ มีคำแนะนำว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีแนวโน้มความดันโลหิตสูงควรทานข้าวโอ๊ตให้ได้ทุกสัปดาห์
3. โอ๊ตมีลช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
สารอาวีนันทราไมต์ (Avenanthramide) สามารถป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือดแดงได้
4. โอ๊ตมีลช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
สารต้านอนุมูลอิสระ อาวีนันทราไมต์(Avenanthramide)ในข้าวโอ๊ต ป้องกันการออกซิเดชันของ LDL (LDL เป็นคอเลสเตอรอลที่ไปสะสมในผนังหลอดลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบและเข็ง เสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ) เมื่อคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
5. โอ๊ตมีลช่วยรักษาสมดุลน้ำตาลผู้ป่วยโรคเบาหวาน
เบต้า กลูแคน(Beta-glucan) ใน ข้าวโอ๊ตมีลมีส่วนสำคัญในการช่วยลดระดับน้ำตาลและรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้
6. โอ๊ตมีลช่วยลดคอเลสเตอรอลได้
เนื่องจากโอ๊ตมีลมี เบต้า กลูแคน (Beta-glucan) จะช่วยยับยั้งไม่ให้ร่างกายดูดซึม LDL (Low-density lipoprotein) เป็นชนิดคอเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย
7. โอ๊ตมีลบดละเอียดช่วยในการดูแลผิวได้
ข้าวโอ๊ตบดละเอียดแบบ สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหลายตัว องค์การอาหารและยา (FDA) อนุมัติข้าวโอ๊ตคอลลอยด์เป็นสารปกป้องผิวหนังในปี 2546 และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวจากข้าวโอ๊ตช่วยให้อาการเรื้อนกวางดีขึ้นได้อีกด้วย และยังสามารถทำเป็นที่มาสค์หน้าอย่างง่ายๆโดยการใช้โอ๊ตมีลปั่นให้ละเอียดผสมกับนม โยเกิร์ต และน้ำผึ้ง นำมาพอกหน้าประมาณ 15 นาที แล้วล้างออกก็จะทำให้หน้านุ่มอ่อนวัย เปล่งปลั่งนุ่มเนียนได้
8. โอ๊ตมีลลดความเสี่ยงต่อโรคหอบหืดในเด็ก
โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของทางเดินหายใจ ซึ่งเป็นท่อที่ลำเลียงอากาศเข้า และออกจากปอด งานวิจัยจาก NIH (The National Institutes of Health) รายงานว่าการให้โอ๊ตมีลแก่ทารกก่อนอายุ 6 เดือนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหอบหืดในเด็กได้ ส่วนเด็กที่เป็นโรคหอบหืด หากรับประทานก็จะช่วยให้อาการทุเลาลงได้
9. โอ๊ตมีลช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
เบต้า กลูแคน ในโอ๊ตมีลสามารถช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง โดยจะช่วยเซลล์ภูมิคุ้มกันค้นหาและซ่อมแซมอวัยวะที่ถูกโจมตีด้วยแบคทีเรีย
รูปจาก canva
9 ประโยชน์จากโอ๊ตมีล อิ่มท้องแถมพลังงานต่ำแต่สารอาหารที่มีประโยชน์เพียบ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักนะคะ 🌾
สำหรับใครที่กำลังมองหาเมนูจากโอ๊ตมีลสามารถติดตามได้ที่ช่อง TikTok : What The Health กันได้นะคะ
สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า “กินดีมีชัยไปกว่าครึ่ง” 😆 🌾
#whatthehealth
#healthylifestyles
#oatmeal
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
โฆษณา