Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Blockพูดได้byข้าวน้อยฯ
•
ติดตาม
6 ต.ค. 2021 เวลา 00:29 • ความคิดเห็น
จงชื่นชมที่ความพยายาม
ไม่ใช่ความสามารถ
4
หนึ่งในวิธีการสร้างลูกให้เป็นอัจฉริยะที่ผมชอบมากกว่าข้ออื่น ๆ
..
ผมเพิ่งได้ไปอ่านเจองานวิจัยว่าด้วยพรสวรรค์ของเด็กอัจฉริยะของ ดร.จูเลี่ยน สแตนลี่ย์ ณ ศูนย์เยาวชนที่มีพรสวรรค์แห่งมหาวิทยาลัยจอร์น ฮอปกิ้น สหรัฐอเมริกา
ดร.จูเลี่ยนเริ่มสนใจเรื่องนี้ เมื่อตอนที่เขาได้พบกับเด็กอัจฉริยะที่ชื่อว่า โจเซฟ เบทส์ ในปี 1968
1
ตอนนั้น ความเป็นอัจฉริยะวัยเยาว์ของเบทส์ ทำให้เขาเก่งเกินเพื่อนรุ่นเดียวกัน จนสามารถเข้าเรียนด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ได้ตั้งแต่อายุ 12 ปี
ดร.จูเลี่ยน ทำโครงการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กที่มีพรสวรรค์ทั่วโลกยาวนานถึง 45 ปี
ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลของคนดังอย่างเลดี้กาก้าและมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กด้วย
เมนหลักของโครงการคือการเฝ้าติดตามพัฒนาการของเด็กจำนวน 5,000 คนที่ทำคะแนนทดสอบทางสติปัญญาได้สูงมาก
ซึ่งเด็กจำนวน 5,000 คนนี้ คิดเป็นเพียง 1 % ของเด็กที่เข้ารับการทดสอบทั้งหมดเท่านั้น
1
จากผลการศึกษาของ ดร.จูเลี่ยน ได้คำตอบสำคัญมาข้อหนึ่งคือ
ปัญญารู้คิด ซึ่งหมายถึงความสามารถในการตัดสินปัญหาที่มีตั้งแต่วัยเด็ก มีผลต่อการประสบความสำเร็จในชีวิตเมื่อพวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่สูงที่สุด
การฝึกฝนทักษะ การเรียนรู้ ฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในอนาคตน้อยกว่าปัญญารู้คิดมาก
เมื่อข้อมูลออกมาเป็นเช่นนี้ นักวิจัยจึงสรุปว่าวิธีการที่พ่อแม่จะสร้างลูกให้เป็นอัจริยะได้นั้น จะมุ่งสร้างแต่ความเป็นเลิศด้านความรู้อย่างเดียวไม่ได้ ต้องสร้างองค์ประกอบแห่งความสุข ตลอดระยะเวลาของการเติบโตของลูกควบคู่ไปด้วย
1
2
โดยมีข้อสรุปออกมา 8 ข้อที่เป็นคำแนะนำสำหรับพ่อ แม่ที่ต้องการเลี้ยงลูกให้เป็นอัจริยะ
และตามที่ผมขึ้นต้นไว้ที่ชื่อบทความว่าผมชอบข้อที่บอกว่า
"จงชื่นชมที่ความพยาม
ไม่ใช่ความสามารถ" มากที่สุด
2
2
ข้อนี้ อธิบายไว้ว่า พ่อ แม่ควรบอกลูกว่า การมีพัฒนาการในแต่ละเรื่องที่ลูกเรียนรู้ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย มันสำคัญกว่าผลลัพภ์
1
ลูกไม่จำเป็นว่าต้องทำสำเร็จได้ในเร็ววัน แต่ลูกต้องมีพัฒนาการในทุกครั้งที่ลงมือทำ
ลูกต้องหาคำตอบให้ได้ว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง จากสิ่งที่ทำ แม้ว่าวันนี้จะยังทำไม่สำเร็จก็ตาม
1
ส่วนคำแนะนำอีก 7 ข้อที่เหลือ
ก็ประกอบไปด้วย..
1).อย่าปิดกั้นโอกาสในการสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ
ประสบการณ์ที่เขาไม่เคยสัมผัสคือแรงจูงใจชั้นเลิศในการเรียนรู้ของเด็ก ๆ
2).พ่อ แม่มีหน้าที่ช่วยค้นหาและส่งเสริมสิ่งที่เขาสนใจไม่ใช่ยัดเยียด
ยิ่งเด็กพบสิ่งที่ชอบเร็วเท่าไหร่ เด็กก็มีโอกาสเป็นอัจฉริยะในด้านนั้นเร็วเท่านั้น
พ่อ แม่มีหน้าที่ช่วยให้ลูกค้นหาให้เจอด้วยตัวของเขาเอง
เมื่อพบแล้ว ช่วยประคับ ประคองอย่างพอเหมาะ ไม่บังคับ กดดัน
3).เปิดโอกาสให้เด็กแสดงความอยากรู้โดยไม่ปิดกั้น
เด็กที่รู้จักถาม คือหนึ่งในคุณสมบัติของความเป็นอัจฉริยะ
พ่อ แม่จึงไม่ควรปิดกั้นคำถามของเด็ก ไม่ว่าเด็กจะถามอะไร หน้าที่ของพ่อ แม่คือ อธิบายและหาคำตอบมาให้ ไม่ใช่ห้ามถาม...
1
4).ให้เด็กได้สัมผัสความล้มเหลวและเข้าใจธรรมชาติของมัน
ควรบอกลูกว่า ความล้มเหลวคือส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
ลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เข้มแข็งไม่ได้ ถ้าลูกไม่เคยล้มเหลวหรือผิดหวังบ้างเลย
1
5).อย่าบอกว่าลูกเก่งเหนือคนอื่น
แม้ว่ามันจะเป็นความจริง
2
การทำให้เด็กคนหนึ่ง ดูเหนือกว่าหรือต่ำกว่าเด็กคนอื่น ๆ มีแต่จะสร้างปัญหาในสังคมแห่งการเติบโตของเด็ก ๆ
1
คนที่ลูกกำลังแข่งไม่ใช่เพื่อน แต่คือตัวลูกเอง ถึงเราจะเก่งแค่ไหน เราก็คือคนธรรมดาคนหนึ่งเหมือนกัน
1
2
6).ให้ครูช่วยเพิ่มพัฒนาการ
การพูดคุยกับครูเพื่อช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ในสิ่งที่เด็ก ๆ ต้องการเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอย่าลืมว่า ชีวิตในวัยเด็กครึ่งหนึ่งอยู่ที่โรงเรียน
7).ให้ลูกได้ทดสอบความสามารถตามความพร้อมของเขา
การทดสอบตามช่วงเวลาจะช่วยให้เขาเห็นพัฒนาการตัวเอง รู้จุดดี จุดด้อย ซึ่งพ่อ แม่ต้องนำมาวิเคราะห์ร่วมกันกับลูก เพื่อช่วยกันปรับปรุงแก้ไขต่อไป
..
ทั้งหมด ทั้งมวล แม้ว่าเราจะทราบดีว่า สาเหตุที่พ่อแม่หลายคนอยากให้ลูกเป็นเลิศหรือมีความอัจฉริยะในด้านใด ด้านหนึ่งก็เพื่อสร้างความมั่นใจในเบื้องต้นถึงความสำเร็จในอนาคตของเขา
แต่อย่าลืมว่า สิ่งสำคัญก็คือ เขาต้องเติบโตอย่างมีความสุขพร้อม ๆ กันไปด้วย
1
มิฉะนั้นเขาจะกลายเป็นเด็กอัจฉริยะที่มีแต่ความทุกข์
ซึ่งมันจะกลายเป็นการประสบความสำเร็จที่น่าเสียดายและน่าสงสารอย่างที่สุด
1
..
ขอบคุณข้อมูลจาก
bbcthai.com
ติดตามอ่านบทความได้ที่
https://www.blockdit.com/n.sp
อัจฉริยะ
การศึกษา
24 บันทึก
65
36
43
24
65
36
43
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย