3 ต.ค. 2021 เวลา 21:36
จริงๆมันไม่ทุกกรณีนะแต่โดยปกติการเเสดงความรู้สึกออกมาแบบตรงไปตรงมาที่รู้สึกมีความจริงใจมากกว่า การคิด วิเคราห์ เเยกเเยะ เพราะความรู้สึก รู้สึกยังไงพูดออกมาทันที แต่การคิดมันอาจมีเเนวโน้มว่ามีการโกหกเเฝงอยู่ เช่นการบอกว่า เราชอบคนนั้นคนนี้หรือไม่ ตอบเลย!!!
ถ้าคิดอยู่เเสดงว่าลังเล หากอยากได้ความจริงต้องใช้อารมณ์มาช่วยครับ
ในมุมกลับกันบางสถานการณ์ก็ต้องใช้เหตุผลมาเสนอแนะ เพราะหากไม่คิดหรือพิจารณาอย่างถีถ้วน คนทั่วๆไปจะมองว่าทำอะไรไม่คิด อย่างเช่น เพราะอะไรถึงต้องเข้าเเถวซื้อของ ถ้าตอบตามอารมณ์ก็จะตอบประมาณว่า เห็นเเล้วมันไม่เเฟร์กับคนมาก่อน อันนี้ก็เป็นเหตุผลเหมือนกันแต่มันเป็นระดับอารมณ์เล็กน้อยถึงปานกลาง แต่ถ้าตอบว่า ขืนปล่อยปละละเลยเเบบนี้จนกลายเป็นเรื่องปกติ สังคมก็จะไร้ระเบียบสงผลให้สังคมหมู่มากเดือดร้อนผ่านการกระทำที่ไม่คิดถึงคนอื่นอีกด้วย เป็นต้น
การเน้นเหตุผลมันก็ใช้ไม่ได้ผลกับทุกเรื่องเสมอไป ถ้าหากเน้นเหตุผลมากไป ก็ไม่ต่างอะไรกับเครื่องจักรไร้หัวใจ เพราะบางเหตุการณ์ต้องใช้ใจสื่อมากกว่าการสื่อด้วยเหตุผล อย่างการสอบถามเด็กว่า ทำไมถึงขโมยของ ทำไมถึงทำแบบนี้ อยากเป็นเด็กเลวใช่มั้ยถึงทำแบบนี้!!!!!? เค้นแต่เหตุผลกับความจริง แต่ไม่ได้มองว่า อะไรเป็นเหตุจริงๆที่เด็กทำ แต่พอลองถามอีกทีว่าเพราะอะไรถึงทำแบบนี้ครับลูก พอเด็กไม่กลัวคนถามก็ตอบเเบบซื่อๆว่า เพราะผมอยากได้นิครับ ก็ต้อวค่อยๆสอนว่าการขโมยมันไม่ดี ถ้ามีคนขโมยของรักของเรา เราจะรู้สึกยังไง (ใช้ใจสื่อคุยด้วยเหตุแฝงไปด้วยความรุ้สึกเข้าอกเข้าใจ)
การเน้นเเต่ความรู้สึกสุดโต่งก็อาจเป็นภัยได้เหมือนกันก็ไม่ต่างอะไรกับการเอาแต่ใจ เช่น หากมีการทะเลาะกันภายในครอบครัว ถ้าทำตามอารมณ์มากๆเข้าก็จะยิ่งเเย่ไปใหญ่ ควรใข้เหตุผบค่อยๆพูดค่อยๆจา คุยกันตอนที่เย็นลงกันทุกฝ่ายเป็นต้น
สรุปง่ายๆคือ
-ต่อให้ตรรกะสมบูรณ์แบบ มีเหตุผลมีความถูกต้อง เเต่ไร้ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น ไม่ยืดหยุ่น ก็เหมือนกันคนหัวเเข็งที่ไม่เข้าใจความรู้สึกใคร
-ส่วนคนที่เน้นอารมณ์ความรู้สึกมากไป จะเน้นเเต่มุมของตัวเอง เอาแต่ใจตัวเองไม่สนหัวใครเข่นกัน
โฆษณา