4 ต.ค. 2021 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
ทำไม “กรุงเทพ” เมืองหลวงของเราถึงเป็นเมืองที่ผลสำรวจต่างชาติบอกว่า เหมาะแก่การ Workation มากที่สุดในโลก แต่พอดูผลสำรวจด้านของ Work Life Balance กลับพบว่า กรุงเทพเป็นเมืองที่ได้คะแนนต่ำต้อยน้อยนิด
มันเกิดอะไรขึ้น?
ทำไมกรุงเทพถึงอยู่หัวตารางในผลสำรวจหนึ่ง แต่อยู่ท้ายตารางในอีกผลสำรวจได้ TODAY Bizview สรุปประเด็นนี้ อธิบายให้อ่านในโพสต์เดียว
3
[กรุงเทพ เมืองแห่ง Workation เบอร์ 1 โลก]
ในยุคที่เราพูดถึงการทำงานจากที่ไหนก็ได้ (Work from anywhere) ไม่ใช่แค่ในออฟฟิศหรือที่บ้าน แต่มันเป็นยุคของการทำงานได้ทุกที่ ขอแค่มีอินเทอร์เน็ต
3
หนึ่งในกระแสที่มาแรงคือ “Workation” ที่มาจากคำว่า Work + Vacation แปลเป็นไทยก็คือ “ทำงานไปด้วย พักผ่อนและท่องเที่ยวไปด้วย”
รู้หรือไม่ว่า “กรุงเทพ” ติดอันดับเมืองที่น่ามา Workation เป็นเบอร์ 1 ของโลก ส่วนภูเก็ตติดอันดับ 10 ของโลก
ผลสำรวจของ Holidu บริษัทให้ข้อมูลและค้นหาสถานที่พักผ่อนจากอังกฤษ ทำการจัดอันดับเมืองทั่วโลกกว่า 150 แห่งสำหรับ Workation โดยจัดอันดับจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้
-ค่าเช่ารายเดือนของอพาร์ตเมนต์แบบ 1 ห้องนอน
-ค่าเครื่องดื่มหลังเลิกงาน
-ค่าเฉลี่ยจำนวนชั่วโมงที่แดดออกต่อวัน
-ความเร็ว Wi-Fi
-กิจกรรมต่างๆ น่าสนใจในเมือง โดยจะใช้ข้อมูลจาก 8 แหล่งมาวิเคราะห์ด้วย โดยรวมถึงเว็บไซต์ BestCities และ Tripadvisor
1
ส่วนเหตุผลที่ทำให้กรุงเทพครองอันดับ 1 คือค่าครองชีพที่ไม่แพง, ความสามารถทางภาษาอังกฤษอยู่ในระดับสูง, สถานที่ท่องเที่ยวหลากหลาย, มีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับโลกมากมาย และมีสำนักงานของบริษัทข้ามชาติหลายบริษัท
5
ชัดเจนว่า กรุงเทพเป็นเมืองที่เหมาะแก่การ Workation ในสายตาของคนนอกประเทศ แต่พอกลับมาดูใประเทศ อีกผลสำรวจหนึ่งพบความจริงบางอย่าง
1
[กรุงเทพ เมืองแห่ง Work Life Balance ยอดแย่]
ผลสำรวจของ Kisi บริษัทเทคโนโลยีให้คำปรึกษาด้านการทำงาน ได้จัดทำผลสำรวจในหัวข้อ “Cities with the Best Work-Life Balance 2021”
1
ในผลสำรวจชิ้นนี้นำเอาปัจจัยหลายอย่างมาวิเคราะได้แก่ ชั่วโมงการทำงานในแต่ละวัน, จำนวนวันลาขั้นต่ำ, สิทธิในการลาคลอด/เลี้ยงดูลูก, การเข้าถึงระบบสาธารณสุขในเมือง, ผลกระทบและการเยียวยาในยุคโควิด, ความปลอดภัยในเมือง คุณภาพของอากาศในเมืองรวมถึงมลพิษอย่าง PM 2.5 และ PM 10 ในเมือง ฯลฯ
ผลปรากฏว่าเมืองที่มีการทำงานที่สมดุลที่สุดในโลกแห่งปี 2021 คือเมืองในประเทศแถบสแกนดิเนเวีย
1
โดย 3 อันดับแรกได้แก่
-เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ (ได้ 100 คะแนนเต็ม)
-ออสโล ประเทศนอร์เวย์ (ได้ 98.6 คะแนน)
-ซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ได้ 91.5 คะแนน)
6
ส่วนอันดับที่ 4 และ 5 ได้แก่ สตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ค
สำหรับประเทศไทยรั้งท้ายตาราง กรุงเทพติดอันดับที่ 49 จากทั้งหมด 50 เมืองทั่วโลก มีคะแนนรวมชนะเพียงเมืองเดียวคือกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
มากกว่านั้น ถ้าเจาะไปดูที่ประเด็นเรื่องการทำงานหนัก พบว่า กรุงเทพติดอันดับ 3 จากท้ายตาราง หรือพูดง่ายๆ คือกรุงเทพเป็นเมืองที่มีคนทำงานหนักมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของผลสำรวจนี้
7
[กรุงเทพของเราไม่เท่ากัน]
โดยสรุปแล้ว จะเห็นได้ว่ากรุงเทพเป็นเมืองที่มีโอกาสและอุปสรรค ในแง่หนึ่งคือมีโอกาสในการต่อยอดทางเศรษฐกิจจากการเป็นเมืองที่น่ามา Workation มากที่สุดในโลก แต่ก็มีอุปสรรคด้วย นั่นคือคุณภาพชีวิตของคนทำงานในเมืองที่ไม่ดีนัก
ถึงที่สุด นี่อาจเป็นโอกาสครั้งสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย และถ้าเราจริงจังกับประเด็นนี้ ต้องเข้าใจว่าการจะสร้าง Workation ให้เกิดในไทยได้ ไม่สามารถมาจากโครงการใดโครงการหนึ่งเท่านั้น แต่ต้องมาจากการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างไปพร้อมๆ กัน
1
อย่างไรก็ตาม คำตอบในการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างอยู่ในผลสำรวจ/ผลการศึกษาที่ระบุไว้ชัดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมงการทำงานที่สมดุล, ความยืดหยุ่นในการทำงานที่ดี และรวมไปถึงประเด็นเรื่องคุณภาพชีวิตในเมือง ความปลอดภัยในเมือง คุณภาพของอากาศในเมือง ฯลฯ
2
ประเด็นเหล่านี้ถ้าทำดีๆ Workation อาจเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของไทยก็เป็นได้…
[คำถามทิ้งท้าย]
แล้วตอนนี้ ภาครัฐไทยกำลังทำอะไรกับกระแส Workation ?
1
ภาครัฐไทยกำลังผลักดัน Workation
ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดตัวโครงการ Workation Thailand “ทำงานเที่ยวได้ รวมใจช่วยชาติ: Work from Everywhere” โดยนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
แน่นอนว่า ภาครัฐไทยออกโครงการมารองรับกระแสนี้ โดยแนวคิดคือต้องการเปลี่ยนทุกที่ของไทยให้เป็นที่ทำงาน
ททท. ไปจับมือโรงแรมทั่วไทยให้จัดแพ็คเก็จ Workation ราคาตั้งแต่หลักหลายพันไปจนถึงหลักหลายหมื่น ต้องการดึงดูดให้บริษัทพาพนักงานไปนั่งทำงานและพักผ่อนท่องเที่ยวในที่ต่างๆ ทั่วไทย เช่น
-จัดทริปนอนโรงแรมหรู ทำงานและพักผ่อนไปด้วย
-จัดทริปกินปูที่จันทบุรี พร้อมทำ CSR สายอนุรักษ์ปลูกป่า
-จัดทริปพาพนักงานไปประชุมบนเรือยอร์ชที่พัทยา
ฯลฯ
2
ส่วนบริษัทที่ได้ไปร่วมทริปของ ททท. ในโครงการ Workation Thailand ล้วนเป็นบริษัทรายใหญ่ทั้งสิ้น เช่น บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน), ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด
1
อย่างไรก็ดี ททท. บอกไว้ด้วยว่า โครงการ Workation Thailand จะมีการมอบรางวัลและจะได้โล่ประกาศเกียรติคุณจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา รวมถึงรางวัลสมนาคุณต่างๆ ในกรณีที่บริษัทนั้นๆ มีคะแนนในการซื้อแพ็กเกจสูงสุด โดยระดับการใช้จ่ายที่จะได้รับรางวัลต้องมีการใช้จ่ายตั้งแต่ 500,000 – 2,000,000 บาท
#TODAYBizview
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
ไม่พลาดข่าวธุรกิจ การตลาดที่สำคัญ ติดตาม TODAY Bizview https://bit.ly/3picIeS
ติดตามรายการของ workpointTODAY ทาง YouTube https://bit.ly/2YDfyiK
ติดต่อโฆษณา E-mail: advertorial@workpointnews.com
โฆษณา