4 ต.ค. 2021 เวลา 15:58 • หนังสือ
อ่านจบคุยต่อ - อิสลามกับการเมือง
โดย สามารถ ทองเฝือ
ปกหนังสือ อิสลามกับการเมือง จาก shopee.com
สวัสดีครับ บทความนี้ถือเป็นการวิเคราะห์ ในเเบบฉบับหนังสือชิ้นเเรก โดยหลังจากอ่านเสร็จผมก็ได้รวบรวมทัศนะเเละนำมาวิเคราะห์เพื่อเชื่อมในมุมของสังคมศึกษา ซึ่งประเด็นที่ผมหยิบยกมาในวันนี้คือเรื่องของศาสนาอิสลามกับการเมืองครับ ซึ่งจากที่ผมได้อ่านสามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้ครับ
- อิสลามหรืออัสลามะ เเปลโดยรวมคือการยอมรับ,ความสันติต่ออัลเลาะห์หรือพระเจ้า พื้นฐานของหลักอิสลามด้วย 3 อย่าง ได้เเก่หลักศรัทธา หลักปฏิบัติ หลักศีลธรรม ซึ่งหลักเหล่านี้ก็มาจากคัมภีร์ อัลกุลอาน ของอิสลาม
-หากทำการสรุปให้เข้าใจถึงหลักปฏิบัติทั้ง 3 ประการนี้อย่างง่ายๆ คือ หลักศรัทธานั้นเสมือนกับการให้ชาวมุสลิมมีความเชื่อในพระเจ้าในหลักอิสลาม (อัลเลาะห์) หลักปฏิบัตินั้นเสมือนเเนวทางการปฏิบัติตนของชาวมุสลิม เเละสุดท้าย หลักศีลธรรมก็เสมือนเป็นคำสอนของอิสลามที่ส่งเสริมให้ทำดี (Halal) เเละห้ามปฏิบัติผิดหลักศาสนา (Haram) ซึ่งภาพรวมก็คือการที่ให้ชาวมุสลิมทุกคนนั้นยึดหลักตามองค์อัลเลาะห์เเละศาสดามูฮัมมัด (ผู้ที่ส่งสาร) นั่นเอง
ภาพประกอบ ศาสนาอิสลาม จาก www.ibnulyemenarabic.com
-หากตีความไตร่ตรองไปในทางละเอียดก็จะเห็นถึงเเนวคิดปลีกย่อยที่สำคัญๆต่างๆโดยวิเคราะห์ในองค์ประกอบทางการเมือง
ซึ่งประกอบด้วย เเนวคิดอำนาจอธิปไตยของอิสลามหรืออำนาจสูงสุดของศาสนาอิสลามซึ่งเเน่นอนต้องหมายถึงอำนาจที่มาจากความเชื่อของพระเจ้าอย่างอัลเลาะห์ในการใช้หลัปกครองดูเเลมนุษย์ ซึ่งชาวมุสลิมก็ตีความออกมาในรูปแบบทั้งรูปแบบปกครองไปจนถึงกฏระเบียบต่างๆ เเนวคิดการปกครองของอิสลามในที่นี้ก็ยึดมาจาก
- คัมภีร์อัลกุลอ่าน โดยตั้งอยู่บนเเนวทางของอัลเลาะห์เพื่อให้มนุษย์อยู่ในครรลองครองธรรม การปรึกษาหารือเเละการเเต่งตั้งค้นหาผู้เเทนที่เหมาะสม เเนวคิดอิสลามนิยม เป็นการนำเอาอุดมการณ์การทางเมืองกับศาสนาเข้ามาบูรณากันร่วมกันภายใต้ความคิดสุดโต่ง ดังจะเห็นได้จากการเกิดกลุ่มก่อการร้ายของอิสลามกลุ่มต่างๆ สุดท้ายคือ เเนวคิดอิสลามกับประชาธิปไตย ที่ผู้เขียนเห็นว่าเเม้อิสลามจะไม่ออกไปในทางประชาธิปไตยออกจะเน้นไปที่เเนวเผด็จการทางเเนวคิดของศาสนากับพระเจ้าอย่างอัลเลาะห์ที่มีบทบาทในการตรากฏข้อบังคับต่างๆ เเต่ก็ยังมีบางหลักที่ยังยึดกับประชาธิปไตยได้ทั้ง ชูรอ (การให้คำปรึกษา) อิจมาอ์ (การเห็นต้องกัน) ซึ่งถือเป็นความย้อนเเย้งในตัวกับความคิดของอิสลามก็ว่าได้
***การเมืองกับศาสนาอิสลาม ทั้งการตั้งคำถามถึงความถูกต้อง การโจมตี หรือเเม้กกระทั่งการอวยก็ตาม ผู้เขียนมีความเห็นหลังจากที่ทำการศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในประเด็นเรื่องศาสนาอิสลามกับการเมืองเราไม่อาจไปตัดสินหรือบอกว่าการทำเช่นนั้นดีหรือควรหรือไม่เพราะผู้เขียนมองว่าจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้นำโดยเฉพาะผู้นำทางศาสนาอิสลามที่มีบทบาทสำคัญในการเข้าไปตราหรือเเก้ไขในบริบทด้านการเมืองด้านต่างๆ ซึ่งในตัวของระบบการเมืองหรือเเนวคิดรัฐอิสลามก็มีช่องทางให้ชาวมุสลิมมีสิทธิเสรีเช่นกันทั้งหลัก ชูรอ (การให้คำปรึกษา)เเละ อิจมาอ์ (การเห็นต้องกัน) ซึ่งหากนำหลักอิสลามมาใช้ในทางที่ดีก็ดีไป กลับกันถ้าตีความหลักศาสนาเเบบผิดๆ ก็อาจทำให้เกิดกรณีเเนวคิดอย่างอิสลามนิยมขึ้นมาได้เช่นกัน
โฆษณา