5 ต.ค. 2021 เวลา 02:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ
จากปานามา สู่แพนโดราเปเปอร์ส ขบวนการถ่ายเททรัพย์สินออกนอกประเทศ
เรื่องการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี และการรับรู้รายได้ของบรรดาผู้มีอันจะกิน ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐี ตลอดจนนักการเมือง ล้วนได้เห็นกันในทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศในระบบการปกครองแบบใดก็ตาม ในยุคหนึ่งจะคุ้นกับการเปิดโปงบริษัท หรือบุคคลเหล่านั้นมีใครบ้างจากเอกสารลับที่เรียกว่า ปานามา เปเปอร์ ซึ่งเป็นเอกสารที่หลุดออกมาจากสำนักกฎหมายในประเทศปานามา เปิดโปงว่ามีใครบ้างที่มีลักษณะแบบนี้ แต่วันนี้..เราจะคุ้นกับเอกสารชุดใหม่ ในนาม แพนโดราเปเปอร์ส
5
เครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนระหว่างประเทศ (International Consortium of Investigative Journalists: ICIJ) เปิดเผยถึง “แพนโดรา เปเปอร์ส” (https://www.icij.org/investigations/pandora-papers) ซึ่งเป็นข้อมูลบริษัทเอเย่นต์รับจดทะเบียนและดูแลบริษัทนอกอาณาเขต 14 แห่ง ที่มีความจุรวม 2.94 เทอราไบต์ มีไฟล์แสดงข้อมูลทางการเงินของลูกค้าทั่วโลกกว่า 11.9 ล้านไฟล์ ถือเป็นขนาดข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในโลกเท่าที่เคยรั่วไหลถึงมือสื่อมวลชน และใหญ่กว่าฐานข้อมูลใน”ปานามา เปเปอร์ส” *ที่เคยเปิดโปงในปี พ.ศ. 2559
5
องค์กรนี้อ้างว่ามีการใช้นักข่าวสมาชิกกว่า 600 คนจากองค์กรข่าว 150 องค์กรใน 117 ประเทศ(มีการกล่าวว่าสำนักข่าวอิศราก็เป็นหนึ่งในนั้น) วิเคราะห์ข้อมูลผู้ถือครองบริษัทนอกอาณาเขตที่ครอบคลุมระยะเวลา 24 ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2563 ซึ่งมีการระบุรายชื่อเจ้าของที่แท้จริงของบริษัทนอกอาณาเขต หรือเรียกว่าเจ้าของผู้รับผลประโยชน์ (beneficial owner) กว่า 29,000 ราย ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนอกอาณาเขตกว่า 27,000 บริษัท ในกรณีของประเทศไทยมีชื่อสมาชิกครอบครัวธุรกิจขนาดใหญ่หลายครอบครัว
ฐานข้อมูลดังกล่าวแสดงรายชื่อพระมหากษัตริย์และเชื้อพระวงศ์ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีทั้งในปัจจุบันและอดีต ข้าราชการระดับสูง ผู้บริจาคเงินอุดหนุนทางการเมืองในบางประเทศ และมีรายชื่อผู้สนับสนุนทางการเงินต่อขบวนการก่อการร้าย ดาราบอลลีวู้ด นักค้าอาวุธ นักร้องดัง สายลับ เชฟ ผู้กำกับภาพยนต์ ดีไซเนอร์ ซุปเปอร์โมเดล และนักกีฬาที่มีชื่อเสียง เป็นต้น
4
นอกจากนั้น ยังพบรายชื่อนักธุรกิจระดับใหญ่ 130 รายจาก 45 ประเทศรวมทั้งประเทศไทย โดยไอซีไอเจระบุว่า เมื่อพิจารณาข้อมูลบุคคลร่ำรวยสูงสุดประจำปี 2564 ของนิตยสารฟอร์บสของสหรัฐอเมริกาแล้วพบว่า นักธุรกิจ 100 รายที่พบในฐานข้อมูลมีทรัพย์สินรวมกันกว่า 600,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
แม้จะได้รับการยืนยันว่าการถือครองบริษัทนอกอาณาเขตจะเป็นสิ่งถูกกฎหมาย (ในบ้านเรา จะมีคำเรียกแบบถูๆไถๆว่าเป็นการบริหารภาษี)แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายมีความเห็นพ้องกันว่าบริษัทนอกอาณาเขตเหล่านี้บางรายใช้เพื่อปกปิดความลับ และทำธุรกรรมการเงินที่ผิดกฎหมาย เช่นการฟอกเงิน เลี่ยงภาษี ติดสินบน การสนับสนุนการก่อการร้าย และการวิธีการทุจริตต่าง ๆ เช่นกรณี FIFAGate ซึ่งเป็นการฟอกเงินเกิดขึ้นในสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) เป็นต้น
2
ส่วนหนึ่งของเอกสารมีการเปิดเผยว่า กษัตริย์แห่งจอร์แดน ทรงมีพระราชทรัพย์ที่ไม่ได้เปิดเผยในอังกฤษและสหรัฐมูลค่ากว่า 3,300 ล้านบาท ขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โทนี่ แบลร์และภริยาหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีกว่า 14 ล้านจากการซื้อสำนักงานในอังกฤษ ด้วยการใช้บริษัทนอกอังกฤษเป็นเจ้าของ มีการกล่าวอ้างว่าประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน มีความเชื่อมโยงกับอสังหาริมทรัพย์ในโมนาโค ส่วนนายกรัฐมนตรีเช็ก ใช้บริษัทลงทุนนอกประเทศซื้อบ้านพักตากอากาศในฝรั่งเศสมูลค่า 740 ล้านบาท
3
บริษัท หรือ เอเย่นต์รับจดทะเบียนบริษัทนอกอาณาเขต 14 แห่งนี้ตั้งอยู่ในประเทศและพื้นที่พิเศษต่าง ๆ ทั่วโลก คือ ประเทศแองกวิลลา, เบลีซ, สิงคโปร์, สวิตเซอร์แลนด์, ปานามา, บาร์เบโดส, ไซปรัส, ยูไนเต็ด อาหรับ อิมิเรตส์, บาฮามาส์, หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน, เซเชลส์, และเวียดนาม มีลูกค้าจากพื้นที่พิเศษและประเทศต่าง ๆ กว่า 200 ประเทศ และมีเอเย่นต์ 3 แห่งที่มีเจ้าของเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ของรัฐ
8
ข้อมูลที่ปรากฏในฐานข้อมูลอยู่ในรูปต่าง ๆ เช่น เอกสารการแจ้งภาษี, ใบสำคัญรับเงิน, พาวเวอร์พ้อยท์, อีเมล์ติดต่อ, บันทึกรายชื่อผู้อำนวยการและผู้ถือหุ้นบริษัท, หนังสือเดินทาง, บิลค่าอุปโภคบริโภค, และรูปภาพ เอกสารเหล่านี้เปิดเผยเครือข่ายการเป็นเจ้าของเบื้องหลังบริษัท มูลนิธิ และทรัสต์ จำนวนมาก รวมทั้งรายละเอียดหลายประการ เช่น การถือครองและการทำธุรกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งการจัดการด้านมรดกที่ซับซ้อน เป็นต้น โดยไอซีไอเจสร้างฐานข้อมูล Datashare และแพลตฟอร์มในการแลกเปลี่ยนระหว่างนักข่าวในโครงการชื่อ Global iHub โดยใช้ระบบรักษาความปลอดภัยขั้นสูง
5
จากปานามาสู่แพนโดราเปเปอร์ส อาจจะไม่สามารถเอารายละเอียดมานำแสดงว่าบริษัทใด หรือบุคคลใดที่มีการใช้บริษัทนอกประเทศในการถือครองทรัพย์สินและเงินตรา แต่จากปริมาณความจุของข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น บอกอะไรเรา
ทีมงานค้นหาเก่งขึ้น หรือมีการใช้ช่องทางนี้มากขึ้น เราสามารถสรุปได้อย่างหนึ่งว่า “แพนโดรา เปเปอร์ส” เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีการถกเถียงในระดับโลกเกี่ยวกับความเป็นธรรมของระบบภาษีระหว่างประเทศ บทบาทของนักวิชาชีพตะวันตกในเศรษฐกิจมืด และความล้มเหลวของรัฐบาลต่าง ๆ ในการยุติการไหลของเงินสกปรกเข้าสู่บริษัทและทรัสต์ลับต่าง ๆ
1
*แพนโดรา ที่มา:ตามตำนานของเทพปรับปรากรีก กล่าวถึงแพนโดรา เป็นสตรีนางแรกที่ลงมายังโลกมนุษย์ พร้อมกับกล่องแพนโดราที่บรรจุทั้งสิ่งชั่วร้ายและสิ่งดีงามที่เกาะกุมหัวใจมนุษย์ ซุสมอบให้ โดยกำชับไม่ให้เปิดกล่องออกมา แต่ก็ไม่สามารถทนความอยากรู้อยากเห็นของตนไม่ได้ จึงเปิดกล่อง ทำให้มนุษย์มีจิตใจที่ชั่วร้ายเกาะติดในหัวใจ
4
*ปานามาเปเปอร์ กล่าวกันว่าเป็นการรั่วไหลของเอกสารลับครั้งใหญ่สุด (พ.ศ.2557 และเผยแพร่ในปี 2559) เอกสารกว่า 11 ล้านฉบับ รั่วออกมาจากบ.กฎหมายในปานามา เปิดโปงการตั้งบริษัทเทียมที่มีแต่เปลือก โดยบาสเตียน โอมาไมเยอร์ กับเฟรเดริก โอบามายเออร์ สองนักข่าวที่ได้รับเอกสารจากบริษัทกฎหมาย และตั้งเครือข่ายผู้สื่อข่าวทั่วโลก เพื่อเปิดโปงเส้นทางการเงิน เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีในประเทศของตนเอง ก่อนหน้านั้น ก็เคยมีกรณีพาราไดซ์เปเปอร์ ที่เปิดโปงการหลีกเลี่ยงภาษี โดยการใช้บริษัทนอกประเทศ โดยเฉพาะกรณีของแอปเปิ้ล ซึ่งถูกทางการสหรัฐโจมตีว่าเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี โดยการไปตั้งบริษัทในยุโรป
4
ติดตามสตอรี่ดี ๆ จาก The Story Thailand ได้ตามช่องทางเหล่านี้
2
Instagram:
#TheStoryThailand #เดอะสตอรี่ไทยแลนด์ #สตอรี่ดีๆ
โฆษณา