5 ต.ค. 2021 เวลา 10:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมราคาน้ำมันถึงแพงขี้น!!!
ไทม์ไลน์ราคาน้ำมัน
• การเติบโตของมหาอำนาจ
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2555 ราคาน้ำมันในตลาดโลกนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากราคาเมื่อปี 2552
ปัจจัยหลักคือการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งในสหรัฐอเมริกาและจีน ซึ่งการแข่งขันกันระหว่าง 2 ประเทศ ส่งผลให้มีความต้องการในการนำเข้าน้ำมันดิบเป็นจำนวนมาก
• เริ่มสงครามราคาน้ำมัน
หลังจากที่ราคาน้ำมันเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องมาหลายปี ในปี 2014 สหรัฐได้พัฒนาการขุดเจาะน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (Shale Oil) และนำมาใช้ทางพาณิชย์ได้สำเร็จ
ในอดีตการขุดเจาะน้ำมันจากชั้นดินดานไม่คุ้มต่อการลงทุน แต่การพัฒนาทางด้านวิศวกรรมในทุกปี ส่งผลให้สหรัฐทำได้สำเร็จในที่สุด แม้ว่าจะมีข้อครหาเรื่องวิธีการว่าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็ตาม
ซึ่งด้วยการสนับสนุนทางนโยบายของภาครัฐทำให้ธุรกิจการผลิตน้ำมันในสหรัฐเติบโตอย่างก้าวกระโดด การนำเข้าน้ำมันจากภายนอกประเทศจึงลดลงเป็นจำนวนมาก
เมื่อสหรัฐก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับขาใหญ่ในวงการน้ำมันอย่าง OPEC+ จึงส่งผลต่อราคาน้ำมันที่ปรับลดลงดุจดั่งกระโดดลงจากหน้าผา
จากราคาที่เคยสูงสุดถึงเกือบ 140 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลใรปี 2551 เหลือเพียงเกือบ 30 ดอลลาร์ในปี 2559
• การโต้กลับของ OPEC+ และการมาถึงของ COVID-19
การก้าวเข้ามาของสหรัฐทำให้กลุ่ม OPEC+ ตัดสินใจลดปริมาณการผลิตลง เมื่ออุปทานในการผลิตน้ำมันลดลง ในขณะที่อุปสงค์ยังคงเดิม ราคาน้ำมันก็ค่อยๆ ดีดตัวกลับขึ้นมาอย่างช้าๆ
1
อย่างไรก็ตาม คราวซวยของ OPEC+ ยังไม่จบเพียงเท่านั้น ในขณะที่ราคาน้ำมันกำลังฟื้นตัว ปี 2562 ก็ได้เกิดวิกฤตครั้งใหญ่ต่อทุกประเทศจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
การแพร่ระบาดส่งผลให้เศรษฐกิจในหลายประเทศถดถอยหรือไม่ก็ชะลอตัว รวมถึงมาตราการล๊อคดาวน์ของประเทศต่างๆ ทำให้ปริมาณการเดินทางทั้งในประเทศและระหว่างประเทศลดลง
เมื่ออุปสงค์ความต้องการใช้น้ำมันก็ลดลงราคาน้ันก็ลดต่ำลงอีกครั้งในปี 2562-2563
• ไพ่ที่อยู่ในมือของ OPEC+ และการกดดันจากรอบข้าง
ในขณะที่วัคซีนต่างๆ ทยอยถูกนำมาฉีดให้แก่ประชากรโลก พร้อมกับมาตรการต่างๆ ที่คลายตัวลง เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้น
ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ในขณะที่ OPEC+ นั้นกลับเพิ่มการผลิตน้ำมันอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ด้วยราคาน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้น หลายประเทศเริ่มกังวลว่าราคาน้ำมันจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงเริ่มออกมากดดันให้ OPEC+ เพิ่มการปริมาณการผลิต
แต่จากการประชุมเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา OPEC+ ยังจะคงมาตรการเพิ่มการผลิตแบบค่อยเป็นค่อยไป พวกเขามองว่าราคา ณ ปัจจุบันนี้ยังไม่ใช่จุดที่ควรจะเป็นอยู่ด้วยซ้ำ
ด้วยสถานการณ์ตอนนี้แม้แต่สหรัฐเองก็ยังมองว่ากลุ่ม OPEC+ ถือไพ่เหนือกว่า เนื่องจากพวกเขามีความสามารถในการผลิตที่สูงมาก ทำให้เพิ่มหรือลดการผลิตเท่าไรก็ได้
ความหวังของประเทศต่างๆ ที่กำลังมองถึงการฟื้นตัวเศรษฐกิจเป็นหลักคือการรอดูไพ่ในสำรับว่าจะเปิดออกมาเป็นมุมไหน นั่นคือการรอดูท่าทีของจีน
เนื่องจากจีนเป็นอีกประเทศที่มีอุปทานการใช้น้ำมันที่สูง ด้วยราคาน้ำมันที่แพงขึ้นมากจะส่งผลให้จีนจะชะลอการซื้อน้ำมัน ซึ่งเป็นการกดดัน OPEC+ หรือไม่
การกดดันจากประเทศต่างๆ จะส่งผลต่อ OPEC+ หรือไม่ คงต้องให้เวลาเป็นเครื่องตัดสิน อย่างไรก็ตามในหลายประเทศเริ่มมีการวิเคราะห์และคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันอาจจะกลับไปแตะจุดที่สูงที่สุดที่เคยทำไว้เมื่อปี 2551 ก็เป็นไปได้
• ผลกระทบต่อประเทศไทย
ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อประชาชนอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าครองชีพ หรือแม้แต่การเปิดประเทศเพื่อรองรับการท่องเที่ยว
การเก็บภาษีน้ำมันที่เคยเก็บเยอะเมื่อตอนน้ำมันถูกควรถูกปรับลดหรือไม่?
การเอาเงินกองทุนน้ำมันมาช่วยเหลืออุดหนุนราคาน้ำมันให้ประชาชนกลับมาฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดได้ควรจะทำตอนไหนบ้าง? และควรอุดหนุนจนราคาลดเหลือเท่าไร?
ค่าการตลาดหรือ (Market Margin) ควรเป็นเท่าไร? เพื่อให้อยู่ได้และเติบโตไปด้วยกันทั้งผู้ขายน้ำมันและประชาชนผู้บริโภค
สิ่งต่างๆ ล้วนเป็นความท้าทายของผู้บริหารประเทศ ว่าจะพาประเทศนี้ผ่านวิกฤตการฟื้นตัวไปพร้อมกับประเทศอื่นๆ หรือจะถูกทิ้งให้รั้งท้ายอยู่เพียงลำพัง
โฆษณา