5 ต.ค. 2021 เวลา 12:50 • ท่องเที่ยว
เรามาดู 5 ข้อที่คนยังไม่เคยไปญี่ปุ่นมักจะเข้าใจผิดกันค่ะ
1. คนญี่ปุ่นนิยมนั่งรถไฟเป็นหลัก นั่งชินคันเซ็นไปได้ทุกที่
ถึงแม้ว่ารถไฟที่ญี่ปุ่นจะมีชื่อเสียงมาก ทั้งด้านความทันสมัยและตรงต่อเวลา แต่ในต่างจังหวัด รวมถึงนอกเมืองโตเกียว รถไฟนั้นก็ยังมีเส้นทางการวิ่งที่ไม่ทั่วถึง ทำให้คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ยังต้องนั่งรถเมล์ควบคู่ไปด้วย
แต่การจัดการจราจรของญี่ปุ่นค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ทำให้เส้นทางของรถเมล์กับรถไฟฟ้าแทบไม่ทับซ้อนกัน รถเมล์ที่โน่นจะเน้นวิ่งระยะทางไกล หรือจอดตามป้ายที่เป็นชุมชนเท่านั้น หรือแม้แต่ระหว่างจังหวัด ถ้าระยะทางไม่ได้ไกลมากก็มีรถเมล์ เพราะชินคันเซนไม่ได้ผ่านทุกจังหวัดน บางครั้งการนั่งรถเมล์จึงจะตรงกว่า
ซึ่งเมื่อพูดถึงการเดินทางข้ามเมืองในญี่ปุ่นแล้ว คนญี่ปุ่นจะนั่งชินคันเซนเฉพาะเส้นทางที่ไม่ไกลเกิน500กม.จากโตเกียว พูดง่ายๆคือการนั่งชินคันเซนจากโตเกียวไปโอซาก้า มีระยะทางใกล้เคียงกับกรุงเทพไปขอนแก่น ใช้เวลานั่งชินคันเซนเพียง3ชั่วโมงเท่านั้น แต่หากใช้รถทัวร์ จะกินเวลา8ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ หรือการนั่งชินคันเซนมักทำในภูมิภาคที่ติดกับภูมิภาคต้นทางเรา เพราะจะเดินทางได้ง่าย และกินเวลาน้อยที่สุด
แต่หากเมืองที่จะไปอยู่ไกลกันหรืออยู่คนละเกาะกัน คนญี่ปุ่นก็นิยมนั่งเครื่องบินไปเลย เช่นโตเกียวไปฮอกไกโด(เกาะบนสุด) หรือโตเกียวไปฟุกุโอกะ(เกาะใต้) เพราะหากนั่งชินคันเซนแล้ว จะกินเวลาประมาณ5–6ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ แต่ด้วยเครื่องบินในประเทศจะกินเวลาแค่40นาที-ชั่วโมงครึ่งเท่านั้น แถมเครื่องบินยังมีราคาถูกกว่าชินคันเซนในบางเส้นทางเสียอีก
แต่อย่างไรก็ตาม คนญี่ปุ่นที่กลัวการนั่งเครื่องบินแล้วยอมเสียเวลานั่งชินคันเซนนานๆก็ยังคงมีอยู่
2. มาญี่ปุ่น ต้องลงที่โตเกียวนาริตะ แล้วต่อไปสนามบินอื่น
ถ้าเป็นเมืองไทยแล้ว แม้ว่าทุกภูมิภาคของไทยจะมีสนามบินที่เป็นInternational Airport แต่สายการบินที่ลงในLocal International Airport ของไทย มักไม่มีเที่ยวบินตรงไปญี่ปุ่น ทำให้การขึ้นเครื่องบินไปญี่ปุ่นของเมืองไทย เราจึงต้องมาต่อเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิหรือสนามบินดอนเมือง
แต่สำหรับInternational Airportในแต่ละภูมิภาคของญี่ปุ่น มักจะมีเครื่องบินที่บินตรงไทย-ญี่ปุ่นทำให้เราสามารถเลือกลงสนามบินที่ใกล้กับเมืองที่เราจะไปได้มากที่สุด เช่น ถ้าอยากเที่ยวเกียวโต-โอซาก้า เราสามารถขึ้นเครื่องบินตรงจากไทยลงสนามบินKansaiได้เลย โดยไม่ต้องไปต่อเครื่องที่โตเกียวนาริตะ และเนื่องจากญี่ปุ่นมีความเป็นภูมิภาคนิยมสูง ทำให้ทุกภูมิภาคมีทุกอย่างครบในตัวมันเองเกือบหมดแล้ว เราจึงไม่จำเป็นต้องแวะช๊อป หรือแวะทรานซิต ที่โตเกียวเลย
ถ้าจะไปเที่ยวญี่ปุ่น เราจึงสามารถวางแผนการเดินทางได้อย่างคุ้มค่า และซื้อของฝากได้เกือบตลอดทาง
3. ญี่ปุ่นประชากรเยอะจนทุกคนต้องอยู่คอนโด
หลายๆคนคงเคยเรียนในวิชาสังคมศึกษาว่าประเทศญี่ปุ่นมีขนาดเล็กกว่าประเทศไทยเล็กน้อย แต่มีประชากรมากกว่าไทยเป็นเท่าตัว
เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริง แต่กระนั้นญี่ปุ่นก็ยังมีพื้นที่โล่ง ว่างเปล่า และทุ่งนาอีกมากมาย ทำให้ชานเมืองของญี่ปุ่นจึงเป็นบ้านพักอาศัยของครอบครัวญี่ปุ่นที่อยู่กันแบบเป็นครอบครัวขยาย ในขณะที่ครอบครัวเดี่ยว(ที่มีแต่พ่อ แม่ ลูก)บางครอบครัวที่ฐานะปานกลาง เลือกที่จะอยู่เป็นคอนโด
ครอบครัวที่มีลูกหลายคนก็อาจจะอยู่บ้านได้เช่นกัน บ้านของเพื่อนของผู้เขียนมีปู่ย่า พ่อแม่ และลูกสาว2คน จึงอาศัยกันอยู่ชานเมืองของโตเกียว เป็นบ้านเดี่ยว จะเข้าShinjukuที ใช้เวลา2ชั่วโมงโดยประมาณ แต่ถึงกระนั้น บ้านของครอบครัวนี้ก็ยังอยู่ในเขตจังหวัดโตเกียว
ดังนั้นสำหรับคนญี่ปุ่นแล้วการจะเลือกอยู่บ้าน หรืออยู่คอนโด เรื่องจำนวนสมาชิกในครอบครัว และงบประมาณ ก็เป็นส่วนสำคัญในการเลือกที่อยู่
4. ถ้ามาญี่ปุ่นแล้วใช้Google map ไม่หลงแน่นอน
สำหรับชะนีตัวคนเดียวที่พูดภาษาญี่ปุ่นได้แค่ระดับดำน้ำ ขอบอกว่า “ไม่จริงเลยซักนิด”
ผู้เขียนไปญี่ปุ่นเป็นครั้งคราว โดยส่วนใหญ่จะไปโตเกียว หรือไม่ก็ฟุกุโอกะ เพราะมหาลัยที่ผู้เขียนคาดหวังจะเรียนต่อในระดับปริญญาโท อยู่ในฟุกุโอกะ ส่วนมหาลัยที่ผู้เขียนกำลังจะไปแลกเปลี่ยนในระยะเวลา1เดือนอยู่ที่โตเกียว ผนวกกับว่าเพื่อนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ของผู้เขียนอาศัยอยู่ที่โตเกียว
จากประสบการณ์ที่ไป2เมืองนี้ ในย่านdowntownแล้ว google mapชวนปวดหัวมาก มีทั้งขึ้นโลเคชั่นมั่วบ้าง gpsหันผิดด้านบ้างบอกทางไม่ถูกบ้าง เรื่องหลงทางในญี่ปุ่นบ่อยแล้ว แม้แต่เพื่อนญี่ปุ่นของผู้เขียนเอง บางครั้งก็หลงทางเพราะgoogle mapก็มี
ฉะนั้น สิ่งที่สำคัญในการเดินช๊อปปิ้งที่ญี่ปุ่น คือการจำตึก อาคารเป็นlandmark จากนั้นจึงดูgoogle mapประกอบการเดินทาง จะทำให้ชีวิตง่ายขึ้น ปล.ทุกวันนี้ชินกับการหลงทางในญี่ปุ่นแล้ว จึงไม่เชื่อmapมากขนาดนั้น
5. LTE(4G)ในญี่ปุ่นสัญญาณแรงมาก โหลดเร็ว ไม่หลุดแน่นอน
ข้อนี้นั่งยัน นอนยัน ยืนยันเลยว่า ไม่จริง “โกหก”
อย่างที่รู้ๆกันว่าโทรศัพท์มือถือFeature Phone(携帯)ของญี่ปุ่นทุกรุ่น โทรออกด้วยสัญญาณ3Gมาเกือบ20ปีแล้ว ทำให้การที่สมาร์ทโฟนของเราขึ้นสัญญาณ3Gของญี่ปุ่นเป็นเรื่องปกติ แต่3Gญี่ปุ่นจะให้อารมณ์Edgeบ้านเรา ก็คือจะโหลดอะไรไม่ค่อยได้ ช้า และกินแบ๊ต ส่วนในที่ๆสัญญาณดีหน่อยจะขึ้นLTE(4G)
ส่วนมากในตัวเมืองญี่ปุ่นก็จะขึ้นLTEเป็นเรื่องปกติ แต่บางครั้ง เน็ตมือถือ ถ้าอยู่ในย่านที่คนพลุกพล่าน เลวร้ายที่สุดก็ขึ้นNo Service เลยก็มี
จากประสบการณ์2–3ครั้งล่าสุดที่เช่าซิมเน็ตญี่ปุ่นของNTT Docomo ขึ้นNo Serviceเวลาอยู่ย่านDowntown บ่อยมาก อาจจะไม่ได้เลวร้ายขนาดทำไรไม่ได้ แต่No Serviceก็มักจะขึ้นตอนเราโหลดอะไรแรงๆอยู่ (เช่นInstagram, Google map) อย่างน้อยใน1วันในญี่ปุ่น เราต้องเจอNo Service อย่างน้อยวันละครั้ง
ซึ่งก็เป็นเรื่องตลกว่า แม้แต่คนญี่ปุ่นเอง เมื่อเจอNo Service นางจะใช้Airplane Modeจนกว่าจะพ้นพื้นที่นั้นๆเลย นางบอกว่ากินแบ๊ต 555+
*** จบไปแล้วนะคะ บทความนี้เขียนไว้ปี 2015 ค่ะ เราเพิ่งเอามารีอัพโหลดที่นี่ ตอนนั้นเขียนในมือถือด้วย แก้เยอะเลย แต่พยายามไม่ให้เสียอรรถรสเดิม ขอบคุณที่เข้ามาอ่านนะคะ ***
โฆษณา