เราพูดถึงภายในไปแล้วทีนี่มาดูส่วนของภายนอกกัน เรียกกันว่า Autonomous Systems (AS) กับภายนอก ซึ่งตัวนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาสม่ำเสมอตามโครงสร้างของ Network
เจ้า Autonomous Systems นี้ ว่าง่ายๆมันก็คือ กลุ่มการติดต่อสื่อสารของหนึ่ง Internet Protocol
โดย Autonomous Systems นี้ แต่ละตัวจะมีตัวเลขที่ใช้ในการเรียกระบบของตัวเองอยู่ เรียกว่า Autonomous System Number (ASN) ตัวนี้จะมีการประกาศตัวเลขออกไป ทำให้ Internet รู้วิธีหาเส้นทางที่จะไปยัง Network นั้นๆได้
การออกแบบในลักษณะนี้ ทำให้ระบบ Internet มีความเสถียรภาพขึ้นอย่างมาก เช่น ในกรณีที่ Network ที่กำลังเชื่อมต่ออยู่เกิดมีปัญหาขึ้นมา ก็สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปอีกเส้นได้เลย
และเช่นกัน Facebook เลือกที่จะดูแลระบบการค้าหาโดเมนเนมที่เรียกว่า DNS (Domain Name System) ด้วยตัวเอง DNS จะเป็นตัวช่วยในการพาชื่อโดเมน หรือ facebook.com ไปเป็น IP Address อย่างเช่น 157.240.13.35 นั้นเอง
3
แต่ที่ผิดพลาด คือ ระบบ DNS ของ Facebook ดันไปอยู่ในระบบ Network เดียวกันกับที่ Facebook ดูแลเอง จึงทำให้เกิด error message ที่ไม่สามารถ Resolve DNS ได้นั่นเอง
1
เอาให้เห็นภาพมากขึ้น DNS (Domain Name Server) คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บค่า IP Address ของแต่ละเว็บไซต์ นั้นเอง ตัว DNS จะทำหน้าที่แปลงจากชื่อเว็บไซต์ไปเป็นหมายเลข IP เพื่อนำทางไปยัง Server ที่เป็นที่อยู่ของเว็บไซต์นั้นๆ
เช่น พอเราพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ nowasu.co ลงไปในเบราวเซอร์ เบราวเซอร์ก็จะถาม DNS ว่า "เฮ้ย เจ้าเลขที่อยู่ของ nowasu.co มันคือเลขอะไรนิ่??" ตัว DNS ในระบบก็จะบอกค่า IP Address "ก็ 157.240.13.35 ไง" จากนั้นตัวเบราวเซอร์จะยังติดต่อไปยังเลข IP เพื่อโหลดหน้าเว็บไซต์ของ nowasu.co มาให้เรานั้นเอง
เหตุนี้ของ Facebook ทำให้ผู้ให้บริการ DNS หลายๆเจ้ามีปัญหาเช่นกัน เพราะโดยปกติแล้ว DNS จะทำการ cache และเก็บข้อมูลไว้อยู่แล้วช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ระบบสามารถรองรับปริมาณคำสั่งจำนวนมากได้ แต่พอระบบมันไม่สามารถ Resolve DNS ได้