Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สัจจาธิโก
•
ติดตาม
6 ต.ค. 2021 เวลา 14:49 • ไลฟ์สไตล์
ทำอย่างไรเมื่อขุ่นเคืองใจ แต่ไม่กล้าพูดไปตรงๆ
ที่จริงเรื่องความขุ่นเคืองใจนี่เป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนเคยรู้สึกแล้วเราก็ มีวิธีการจัดการแตกต่างกันไป บ้างก็เก็บกดเอาไว้ บ้างก็หาทางระบาย บ่นลับหลัง หรืออาจจะมีบ้างที่เคยพูดออกไปด้วยอารมณ์และสุดท้ายก็จบลงไม่ดี ทำให้ตอนนี้ไม่กล้าพูด
สภาวะที่โกรธและมีความก้าวร้าวอยู่ในใจแต่ไม่แสดงออก นี่มีชื่อเรียกว่า Passive-Aggressive ปากบอกไม่เป็นไร แต่ใจนั้นขุ่นมาก ทำให้ไปแสดงออกลับหลัง หรือไปหาทาง ระบายออกด้วยการกระทบกระเทียบ เสียดสี พูดจาแขวะ
วันนี้เราจะมาหาทางกันว่าเราสามารถแก้ไขพฤติกรรมตัวเองอย่างไรเมื่อมีสภาวะนี้ และถ้าเราต้องบริหารคนที่อยู่ในสภาวะนี้ เราจะสร้างกระบวนการในการทำงาน วัฒนธรรมอย่างไรที่จะทำให้ไม่เอื้อต่อการเกิดสภาวะนี้ อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะกระบวนการดีแค่ไหน คนที่จะเป็นก็จะเป็นอยู่ให้
ถ้าเราเองตกอยู่ในสภาวะนี้ สิ่งที่เราต้องทำก่อนเลยคือ ตระหนักรู้ เพราะบางทีการยอมรับตัวเองนี่แหละยากที่สุด พระพุทธเจ้าสอนให้เรารู้ทุกข์ คือทุกข์ก็รู้ตัวว่ากำลังทุกข์ แล้วค่อยตระหนักถามตัวเองถึงความทุกข์ในใจว่าเกิดจากอะไร คำตอบทางออกจากทุกข์ ก็อยู่ที่เหตุแห่งทุกข์ตรงนั้นนั่นแหละ
สำหรับวิธีการตระหนักรู้ถึงความขุ่นในใจที่เป็นเทคนิคที่จะแนะนำ เริ่มจากการสังเกตว่า มองหน้าเขาแล้วมันรู้สึกไม่อยากอยู่ใกล้ ไม่สนิทใจ ไม่เปิดใจจะทำงานด้วย เมื่อรู้สึกตัวแบบนี้ ให้ไปหากระดาษ เขียนความรู้สึกออกเป็นรูปธรรม อารมณ์มันอยู่ในใจ เมื่อเอาออกมาเราจะเห็นภาพใจเราได้ชัดขึ้น เรารู้สึกอะไรอย่างไรทำไม แล้วทำไมถึงไม่กล้าพูดออกไป เขียนออกมาให้หมด ถ้าเขียนเป็นข้อๆได้จะดีมาก แล้วให้ตั้งคำถามกับตัวเองว่า ถ้าจะทำงานกันต่อไปเรื่องไหนที่เราควรหาทางออก เมื่อเขียนแล้วให้ไป พูดเพื่อหาทางออกในการทำงาน
เราต้องเลือกว่าเราจะจัดการปัญหานี้ด้วยการทนทุกข์ หรือเราจะจัดการด้วยความกล้าชัดเจน ชัดเจนโดยไม่ได้เน้นสิ่งที่แย่ที่ผ่านมา ชัดเจนโดยเน้นว่าเราจะไปต่อ เราต้องการเคลียร์อะไรเพื่อทำให้เราไปต่อได้ ทุกข์ไม่ได้มีไว้ทนแต่มีไว้เรียนรู้ อย่าอยู่แบบทนๆ แต่จงเรียนรู้และหาทางออก
ถ้าเราต้องบริหารคน เราต้องสร้างบรรยากาศแห่งความปลอดภัยทางใจ หลักธรรมที่จะทำให้เกิดบรรยากาศปลอดภัย คือ สาราณียธรรม คิด พูด ทำ ด้วยจิตที่เมตตา มีวินัยไปด้วยกัน (ศีลเสมอกัน) หมั่นพูดคุยเพื่อปรับความเห็น (ทิฏฐิเสมอกัน) และมีอะไรก็แบ่งปัน
ในวันนี้จะให้เทคนิคการสื่อสาร เราต้องเช็คใจก่อนพูดทุกครั้ง สื่อสารด้วยความเมตตา และเวลาที่ต้องรับฟังเมื่อเขาพูด หรือฟังฟีตแบ็กในสิ่งที่เขาคิด ไม่ว่าจะเห็นต่างแค่ไหนมันไม่ใช่เรื่องผิด บ่อยครั้งเราเองก็มีจิตเมตตาไม่พอ ที่จะรับฟังสิ่งที่เขาพูดกระทบเรา กระทบผู้อื่น ให้เรามองว่าทุกคนมีสิทธิ์คิดต่างได้ ต้องไม่มีใครถูกตำหนิจากการสื่อสาร มีแต่การทำความเข้าใจและหาทางออกร่วมกัน ให้เราฝึกรับฟังด้วยจิตเมตตาให้เป็น ฟังแม้ในสิ่งที่ดูเหมือนไม่ถูกต้องไม่ถูกใจ แต่มันคือความคับข้องใจของเขา มีอะไรแบ่งปันช่วยเหลือ พูดคุย เมื่อบรรยากาศดี ทุกคนปลอดภัยกล้าสื่อสาร ก็จะลดทอนเรื่องการบ่นลับหลัง และไม่กล้าสื่อสารกันได้
เพราะความขุ่นใจของเรา กระทบคนอีกหลายคน แม้ปากจะบอกไม่เป็นไร แค่กระแสใจ ออร่าที่ออกจากตัวมันส่งผลกระทบต่อผู้อื่น และทำให้คนรอบข้างอึดอัดใจไปด้วย ฝึกรับผิดชอบ สร้างบรรยากาศที่ดี แล้วเราจะชนะใจตัวเองไปได้
-สัจจาธิโก-
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย