7 ต.ค. 2021 เวลา 06:20 • ข่าวรอบโลก
จากประเด็นการเลือกปฏิบัติของ “ลิซ่า Blackpink”
กับอคติต่อชาวต่างชาติในเกาหลีใต้ที่ฝังรากลึก
7
จากประเด็นที่ร้อนแรงในโลกบันเทิง K-POP ตอนนี้กับการที่ “ลิซ่า Blackpink” หรือ “ลลิษา มโนบาล” นักร้องชาวไทยที่ไปโด่งดังในวงการเพลงเกาหลีใต้ และกำลังก้าวสู่การเป็นศิลปินระดับโลก ความเนื้อหอมของลิซ่าทำให้มีหลายแบรนด์สินค้าหรูเลือกเธอเป็น “Global Brand Ambassador” เช่น CELINE และ BVLGARI หรือแบรนด์สินค้าและบริการอื่นๆ เช่น VIVO, AIS และ Dentiste เป็นต้น
12
แต่ประเด็นดราม่าที่เกิดขึ้นกับลิซ่าล่าสุดคือ การที่ต้นสังกัดอย่าง YG Entertainment ไม่อนุญาตให้เธอไปร่วมงานแฟชั่นของ BVLGARI ที่เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยอ้างเหตุผลว่าปอดของเธอมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อไวรัส แต่สมาชิกวงคนอื่นๆ ที่เป็นชาวเกาหลีกลับได้ไปร่วมงาน
17
ไม่เพียงเท่านั้นเหล่าบรรดาแฟนคลับของเธอยังขุดวีรกรรมสุดแสบของทางค่ายที่ปฏิบัติตัวต่อลิซ่าแบบสองมาตรฐานมาตลอดในหลายกรณี เพื่อสะท้อนว่าทาง YG นั้นมีการกีดกันลิซ่าที่เป็นชาวต่างชาติในวง แต่กลับเจิดจรัสมากกว่าชาวเกาหลีที่เป็นศิลปิน K-POP ซึ่งอย่างที่หลายคนทราบคือ ลิซ่าเป็นศิลปินชาวไทยที่อยู่ในวงการ K-POP ที่มีชื่อเสียง มีผู้ติดตาม และได้รับความนิยมในระดับโลกมากที่สุดของวงการ แต่ทางค่ายและในประเทศเกาหลีเองกลับไม่ค่อยสนับสนุนเธอ เพียงเพราะเธอเป็นชาวต่างชาติ
35
อันที่จริงแล้วไม่ใช่แค่ลิซ่าคนเดียว ที่ผ่านมาไอดอลคนอื่นๆ ที่เป็นชาวต่างชาติ หรือเป็นลูกครึ่งเกาหลี ต่างก็เคยเจอประสบการณ์ความอคติต่อชาวต่างชาติในสังคมเกาหลีใต้เช่นกัน ซึ่งนี่ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมายาวนานและฝังรากลึกอย่างมาก ต่อให้สังคมจะพัฒนาไปถึงขนาดไหน แต่ความคิดเรื่องการกีดกันชาวต่างชาติ หรือแม้แต่ลูกครึ่งเกาหลีก็ยังคงมีอยู่ในหมู่ชาวเกาหลี และมักสะท้อนให้สังคมโลกเห็นบ่อยครั้งทั้งแบบตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ
9
🔵 ต้นเหตุจากความเกลียดความกลัวชาวต่างชาติในอดีต
2
ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าในอดีตเมื่อหลายร้อยปีที่ผ่านมา คาบสมุทรเกาหลีหรืออาณาจักรโชซอน (ค.ศ. 1392-1910) เป็นอาณาจักร "ลูกไล่" ของมหาอำนาจที่อยู่รายรอบมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็น จีน หรือ ญี่ปุ่น ซึ่งผลัดกันมีอิทธิพลเหนือโชซอน
4
ความเป็นปึกแผ่นของโชซอนได้ถูกท้าทาย เมื่ออิทธิพลของชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิกได้เริ่มเข้าไปในเกาหลีตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยนําแนวคิดแห่งความเป็นเหตุผล ความเท่าเทียมกัน และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ รวมทั้งปฏิวัติความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนวิถีการดำรงชีวิตที่เน้นโลกยุคใหม่เข้ามาใช้ในสังคมที่ยึดมั่นในชนชั้นตามชาติตระกูล และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคมที่ยึดมั่นตามลัทธิคนทรงและลัทธิขงจื้ออย่างเคร่งครัด
6
ขบวนการนี้เรียกว่า “ชีรัค” (การศึกษาจากโลกตะวันตก) ทำให้คนเกาหลีจำนวนนับแสนเปลี่ยนศาสนาเป็นชาวคาธอลิก นักบวชในนิกายนี้มีอิทธิพลต่อขุนนางบางส่วนในราชสำนัก ต่อศิลปิน ช่างฝีมือ และต่อปัญญาชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมในยุคนั้น
2
แต่ก็มีคนเกาหลีอีกส่วนหนึ่งที่เชื่อว่าขบวนการชีรัคเป็น “แนวคิดต่างด้าว” ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อประเทศชาติของพวกเขา จึงได้รวมตัวกันนําแนวคิดของโลกตะวันออกอย่างพุทธศาสนา ลัทธิขงจื้อ และขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นเมือง หรือที่เรียกว่า “ขบวนการตงฮัก” ขึ้นมาต่อต้านเพื่อให้ผู้คนรู้สึกหวาดกลัวต่อการคุกคามของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกและชาวตะวันตก
6
ดังนั้น จึงเกิดการลักลอบทำร้าย รวมทั้งสังหารผู้นําขบวนการชีรัค ทำลายหนังสือ และศาสนสถานหลายครั้ง สังคมเกาหลีจึงเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายขึ้นไปทั่ว
4
ในที่สุด ทางการได้เข้าแทรกแซงด้วยการจับและสังหารสมาชิกขบวนการตงฮักจำนวนมากในปี ค.ศ.1894
3
นับแต่อดีตอาณาจักรจีนซึ่งเป็นชาติเพื่อนบ้านที่ยิ่งใหญ่ ธํารงสถานภาพที่สูงกว่าเกาหลีทุกทาง เช่น อารยธรรม การทหาร วิทยาการ สังคม และวัฒนธรรม อีกทั้งได้คุกคามเกาหลีตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนาน
1
ขณะเดียวกัน “โชกุนฮิเดโยชิ” ของญี่ปุ่นได้ยกกองทัพบุกเกาหลีในปี ค.ศ.1592 และ 1597 เพื่อการยึดครองและเพื่อรุกรานต่อไปยังจีน เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความหวาดกลัว และก่อให้เกิดเลือกรักชาติในหมู่ชาวเกาหลี
2
ต่อมาญี่ปุ่นได้ยึดครองเกาหลีเป็นอาณานิคมในยุคใหม่ถึง 35 ปี ส่วนกรณีของชาวยุโรปนั้นได้ก่อให้เกิดปัญหาการต่อสู้ระหว่างขบวนการชีรัคและตงฮักดังที่กล่าวแล้ว และก่อให้เกิดการเข่นฆ่ากันจนมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก
เหตุการณ์เหล่านี้ได้ทำให้คนเกาหลีฝังใจว่า ชาวต่างชาติเป็นภัยคุกคาม เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดข้อขัดแย้งทั้งภายนอกและภายในประเทศ จึงไม่ไว้วางใจชาวต่างชาตินับตั้งแต่นั้น
1
ความเกลียดกลัวคนต่างชาตินับแต่อดีตกาลนี้เองที่ทำให้คนเกาหลีต่างมีความรู้สึกรักชาติ รักพวกพ้องหรือคนในสายเลือดเดียวกัน และไม่ต้องการให้มีการผสมสายเลือดด้วยการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ เพื่อธํารงรักษา “สายเลือดบริสุทธิ์” ของพวกตนเอาไว้
3
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดเรื่องการรักษาสายเลือดให้บริสุทธิ์มิได้มีอยู่ในหมู่ประชาชนเกาหลีใต้เท่านั้น คนเกาหลีเหนือก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกันที่ไม่ประสงค์จะให้เลือดของชาวต่างชาติผสมกับเลือดของคนเกาหลี หรือแม้แต่การที่มีชาวต่างชาติมีอิทธิพลเหนือกว่าคนเกาหลีในประเทศเกาหลีใต้นั่นเอง
3
แต่ปัจจุบันความคิดนี้ก็มีการเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม ชาวเกาหลีแต่งงานกับชาวต่างชาติมากขึ้น และมีชาวเกาหลีอยู่ในประเทศต่างๆ ถึง 10 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เลือกที่จะถือสัญชาติอื่นแทนสัญชาติเกาหลี เพราะรู้ว่าการที่คนลูกครึ่งเกาหลีจะมาเติบโตในบ้านเกิดฝั่งเอเชียตะวันออกนั้น เป็นเรื่องยากที่เด็กจะเติบโตขึ้นมาได้โดยปราศจากอคติ และการกลั่นแกล้งจากชาวเกาหลีด้วยกันเอง
🔵 ผลพวงจากการปลูกฝังความเชื่อคนเกาหลีเป็น "เผ่าพันธุ์ที่สะอาดที่สุด”
3
ในปี 1960 มีแนวคิดทางสังคมหนึ่งที่เรียกว่า “เผ่าพันธุ์ชาตินิยมเกาหลีหรือชาตินิยมเชื้อชาติ” โดย ประธานาธิบดีปัก จุงฮี ได้เสริมสร้าง "อุดมการณ์แห่งความบริสุทธิ์ทางเชื้อชาติ" เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองและรูปแบบของชาติพันธุ์หรือเชื้อชาติที่แพร่หลายอย่างกว้างขวาง
11
ชาวเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ถูกปลูกฝั่งความเชื่อว่าชาวเกาหลีที่ดีจะต้องเป็นมีเผ่าพันธุ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของการปกครองแบบเผด็จการของเขา ทำให้ในขณะนั้นมีการโฆษณาชวนเชื่ออย่างเป็นทางการในเกาหลีที่แสดงให้เห็นว่าชาวเกาหลีเป็น "เผ่าพันธุ์ที่สะอาดที่สุด"
นักประวัติศาสตร์เกาหลีร่วมสมัยยังคงเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับ "มรดกทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์" ของประเทศต่อไป แนวคิดร่วมกันของเกาหลีที่กำหนดเชื้อชาตินี้ยังคงกำหนดรูปแบบทางการเมืองเกาหลีและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้ชาวเกาหลี แรงผลักดันที่จะภาคภูมิใจของชาติ และสร้างความหวังสำหรับการรวมของทั้งสองเกาหลีอีกครั้ง
2
ประชากรเกาหลีใต้ส่วนใหญ่ยังคงระบุตนเองว่าเป็น "เลือดบริสุทธิ์" การเน้นย้ำความบริสุทธิ์ของสายเลือดเกาหลี ทำให้เกิดความตึงเครียด จนนำไปสู่ลุ่มหลงในความเป็นเชื้อชาติตัวเอง และเกิดการเหยียดเชื้อชาติอื่นในเกาหลีใต้
4
นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา สถานการณ์ของประเทศและของโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และนําเกาหลีเข้ามาเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่ต้องลงทุนค้าขายกับต่างประเทศ
2
อีกทั้งปัจจัยทางด้านการเปลี่ยนการนับถือศาสนาครั้งใหญ่ด้วยการหันไปนับถือคริสต์ศาสนาเป็นจำนวนมาก ในขณะที่คนที่อาศัยอยู่ในเมืองบางส่วนต่างละทิ้งไม่นับถือศาสนาหลักใดๆ ทำให้แนวคิดต่อสังคมแปรเปลี่ยนไปด้วย
1
จึงมีการยอมกระทำตามกระแสนิยมของโลกไปบ้างแม้จะขัดกับแนวคิดตามประเพณีดั้งเดิมของตน เช่น การยอมรับอิทธิพลของวัตถุนิยมและเงินตรามากขึ้น การอาศัยอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยว รวมทั้งลดความผูกพันกับบรรพบุรุษ ผู้อาวุโส และบิดามารดาลง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็มิได้ทดแทนความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไปอยางสิ้นเชิง คนกาหลีก็ยังคงเป็นคนเกาหลีที่ยึดถือความเชื่อคล้ายคลึงกับคนในยุคก่อนอยู่ไม่น้อย
3
🔵 รัฐบาลยอมรับ คนเกาหลีแอนตี้ต่างชาติมีอยู่จริง
.
รัฐบาลเกาหลีใต้และภาคเอกชนยอมรับว่า เกาหลีมีการเหยียดเชื้อชาติ และต่อต้านชาวต่างชาตอยู่จริง แต่ได้พยายามเร่งรัดหามาตรการที่จะนําชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นผู้อพยพ หรือแรงงานมาผสมผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเกาหลี
3
ในขณะที่คนอีกหลายกลุ่มต่างแสดงความไม่พอใจในการไหลบ่าเข้ามาของชาวต่างชาติที่เข้าไปอาศัยอยู่ในสังคมของตน จึงมีปฏิกิริยาตอบโต้ด้วยการเข้าทําร้ายทางร่างกายบ้าง ใช้วาจาอันเกรี้ยวกราด ข่มขู่ และขับไล่บ้าง รวมทั้งแสดงออกทางแววตาและสีหน้าที่ไม่เป็นมิตรต่อชนต่างชาติพันธุ์ หรือแม้แต่การคุกคามในโลกโซเชียลก็เกิดขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับศิลปินชาวต่างชาติหรือลูกครึ่งเกาหลีใต้
6
คนเกาหลีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ชอบให้ชาวต่างชาติหลั่งไหลเข้าไปทำงานทั้งถาวรและชั่วคราว และอาศัยอยู่ในสังคมเกาหลี แต่ละคนก็มีเหตุผลของความเกลียดกลัวแตกต่างกันออกไป เช่น พวกเขาอ้างในแง่ของภูมิศาสตร์ที่เป็นประเทศขนาดเล็ก คับแคบ และมีงานทำอยู่อย่างจํากัด จึงกลัวว่าผู้อพยพจะเข้าไปแย่งที่อยู่ ที่กินและงานทำ เพราะถ้าหากไม่มีชาวต่างชาติมารับจ้าง นายจ้างก็จะไม่มีทางเลือก จึงต้องให้เงินเดือนพวกเขาสูงและลดการบีบคั้นในการทำงานลง หรือกรณีของการเช่าที่อยูอาศัย ค่าเช่าจะไม่สูงมากนักหากไม่มีความต้องการจากแรงงานหรือคนต่างชาติ เป็นต้น
4
นอกจากนี้ในแง่ของความเชื่อเรื่องเอกพันธุ์นั้น คนเกาหลีที่สูงวัยและคนรุ่นหนุ่มสาวบางคนยังคงยึดมั่นในสายเลือดบริสุทธิ์ของเผ่าพันธุ์ของตน จึงไม่ต้องการที่จะเห็นชาวต่างชาติมากหน้าหลายตาเดินเพ่นพ่านหรืออาศัยอยู่ร่วมกับพวกเขา คนกลุ่มนี้จะปฏิเสธและมีทัศคติที่ไม่ดีต่อการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ รวมทั้งเกลียดกลัวว่าจะทำให้สายเลือดเกาหลีถูกผสมกับสายเลือดอื่น
1
ประการสุดท้ายในแง่ของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คนเกาหลีบางคนให้ความเห็นว่า สาเหตุที่เกิดคดีอาชญากรรมขึ้นเป็นผลมาจากการกระทำของชาวต่างชาติที่อพยพเข้ามาอาศัยอยูในประเทศอีกด้วย
1
อย่างไรก็ดี การต่อต้านผู้อพยพชาวต่างชาติไม่อาจกระทำได้โดยเปิดเผย และไม่อาจตั้งเป็นกลุ่มหรือองค์การที่เป็นทางการได้ จึงขอเรียกคนกลุ่มนี้ว่าเป็น “ชมรม” ที่ไม่เป็นทางการที่แสดงพฤติกรรมต่อต้านชาวต่างชาติทั้งในที่ลับและในที่แจ้ง ซึ่งจะมีพฤติกรรมที่รุนแรงมากน้อยตามแต่จะอำนวยนั่นเอง
1
นี่เป็นเพียงแค่ตอนแรกที่กล่าวถึงภาพรวมของสังคมเกาหลีที่ยังคงมีอคติต่อชาวต่างชาติ ในตอนหน้าจะพูดถึงชีวิตของชาวต่างชาติที่ต้องแต่งงานกับชาวเกาหลี ที่ไม่ได้งดงามเหมือนในซีรีย์ และมีเงื่อนไขกดดันต่างๆ มากมายให้ได้ติดตามต่อกันในตอนที่ 2
5
แหล่งอ้างอิง
งานวิจัยเรื่อง “อคติต่อชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในเกาหลีใต้”
ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคําแหง
3
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
1
โฆษณา