25 ต.ค. 2021 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“วางแผนการเงิน ให้เราตอนอายุ 60
รู้สึกขอบคุณตัวเองในวันนี้”
3 เทคนิคเพิ่มเงินออมตอนเกษียณ
โดย คุณนิ้วโป้ง-อธิป กีรติพิชญ์ นักลงทุนสาย VI
1
หลังจากยุควิกฤติครั้งนี้ แผนการออมเงินเพื่อเกษียณของคนไทยจะเปลี่ยนไป โดยจะเน้นสร้างรายได้หลายทางมากขึ้น เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคง นี่คือแนวคิดในการวางแผนการเงินยุคใหม่ โดยคุณนิ้วโป้ง-อธิป กีรติพิชญ์ นักลงทุนหุ้นแนว VI และวิทยากรการลงทุนให้กับบริษัทชั้นนำ เช่น บลจ.กรุงศรี, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯลฯ
1
ถ้าเปรียบพอร์ตการออมเงินเพื่อเกษียณ ก็เหมือนกับน้ำในถัง ซึ่งถังของทุกคนย่อมมีรูรั่วจากค่าใช้จ่าย เช่น การซื้อบ้าน ซื้อรถ ค่าเลี้ยงดูครอบครัว ฯลฯ กฎสำคัญก็คือ “น้ำที่เติมเข้าไปในถัง จะต้องเอาชนะความเร็วของน้ำที่ไหลออกไป ซึ่งน้ำที่เหลือในถังก็คือเงินออมในวันเกษียณของเรา”
ดังนั้นการมีรายได้หลายทาง ก็เหมือนมีท่อน้ำหลายแหล่งมาหล่อเลี้ยง และนี่ก็คือ 3 แหล่งน้ำที่ช่วยเติมเต็มถังเงินออมเพื่อเกษียณ ถ้าเราทำได้ตามนี้ก็การันตีว่าจะมีเงินใช้สบายๆ แน่นอน
[1. ออมเงินในประกันสังคม]
มนุษย์เงินเดือนจะถูกหักเงินสมทบกองทุนนี้อยู่แล้ว ปกติเฉลี่ยเดือนละ 750 บาท หากเราส่งเงินสมทบไม่ถึง 15 ปี พออายุ 55 ปีก็จะได้รับเงินบำเหน็จ แต่ถ้าส่งเกิน 15 ปีก็จะได้รับ “เงินบำนาญชราภาพ” โดยคำนวณหาเงินรายเดือนที่จะได้รับ ตามสูตรนี้
1
“เงินบำนาญชราภาพรายเดือน =
20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย บวกเพิ่มอีก 1.5% ต่อปีจากส่วนที่เกินมาจาก 15 ปี”
ตัวอย่าง :
นาย A ส่งเงินสมทบประกันสังคมทั้งหมด 20 ปี
2
👉 60 เดือนสุดท้าย ได้เงินเดือนเฉลี่ย 15,000 บาท
(มาจากการนำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้ายรวมกัน แล้วหารด้วย 60)
20% x 15,000 = 3,000 บาทต่อเดือน
👉 บวกเพิ่มอีก 1.5% ต่อปีจากส่วนที่เกินมา
1.5% x 15,000 x จ่ายเกินมา 5 ปี = 1,125 บาทต่อเดือน
1
สรุปแล้วเราจะได้เงินบำนาญชราภาพ
เดือนละ 3,000+1,125 = 4,125 บาท ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเสียชีวิต
5
เรื่องนี้สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม https://bit.ly/3ugrlSv
[2.ใช้ประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ]
คุณนิ้วโป้งแนะนำว่า ใครที่มีสวัสดิการนี้ อยากให้ออมเต็มอัตรา เพราะบริษัทจะจ่ายเงินสมทบให้ และเงินออมในกองทุนมีโอกาสงอกเงยด้วย แถมยังแอบกระซิบว่ามีบางคนที่รู้จัก จ่ายเงินสมทบเต็มเพดานทุกเดือน และบริษัทรัฐวิสาหกิจ จ่ายสมทบให้อีกราว 10-12% เมื่อเกษียณแล้วเขามีเงินก้อนจากกองทุนนี้ถึง 20 ล้านบาทเลยทีเดียว
2
[3.ซื้อกองทุนประหยัดภาษี SSF / RMF]
เป็นการลงทุนภาคสมัครใจ ที่เราได้ผลประโยชน์ 2 ต่อ นอกจากจะได้ออมเงินแล้ว ยังนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย คุณนิ้วโป้งแนะนำให้แบ่งซื้อกองทุนประหยัดภาษีอย่าง SSF หรือ RMF สัก 15-30% ของรายได้ ยิ่งถ้าเป็นกองทุน RMF ก็ให้หมั่นทยอย DCA เข้าไปเรื่อยๆ โดยให้มองในระยะยาว ไม่ต้องสนใจความผันผวนของตลาด เพราะยังไงเราก็ต้องออมเพื่อเกษียณ จนถึงอายุ 55-60 ปีอยู่ดีครับ
1
ถ้าเราออมได้เต็มที่ตาม 3 เทคนิคนี้ ก็เท่ากับว่าเราออมเงินมากกว่า 30-40% ของรายได้ต่อเดือนแล้ว จึงการันตีว่าจะมีเงินใช้สบายๆ หลังเกษียณแน่นอน นี่เป็นเรื่องที่ต้องวางแผนระยะยาว ดังนั้นยิ่งเริ่มเร็วก็ยิ่งสบายเร็ว ลงมือทำได้เลยครับ เพื่อให้เราตอนอายุ 60 อยากย้อนเวลากลับมาขอบคุณตัวเองในวันนี้
#วางแผนการเงิน #วางแผนเกษียณ #ลงทุน #ออมเงิน
#MoneyHack #aomMONEY
◤ = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = =
👍 ชอบกด Like โดนใจ กด Share
และอย่าลืม ✅ See First
เพื่อที่จะได้ไม่พลาดข่าวสารใหม่ ๆ ก่อนใคร
= = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = = ◢
1
ติดตามความรู้ทางการเงินในช่องทางอื่นๆ ได้ที่
📌 กลุ่มกองทุนไหนดี https://bit.ly/3aOjgMl
สนใจโฆษณาติดต่อ :
👉 Tel: 088-099-9875 (แน้ม)
โฆษณา